e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
หลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทาง (4เดือน)

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง  สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม
(Program of Nursing Specialty in Perioperative Nursing)

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลปริศัลยกรรม
(Certificate of Nursing Specialty in Perioperative Nursing)
ชื่อย่อ: ป. การพยาบาลปริศัลยกรรม

วัตถุประสงค์ทั่วไป
ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด และการตรวจพิเศษด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งมีปัญหาซับซ้อนในการดูแลสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด ได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพในทุกระยะของการผ่าตัด สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ประสานงาน ปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร               16           หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ภาคทฤษฎี                                           10           หน่วยกิต
ภาคปฏิบัติ                                             6           หน่วยกิต

พยคร 540          นโยบายสุขภาพและการพยาบาล                                   2(2-0-4)   หน่วยกิต
NSID 540           Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล กระบวนการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล

พยศศ 506          การประเมินภาวะสุขภาพ                                              2 (1-2-3) หน่วยกิต
NSSU 506           Health Assessment

คำอธิบายรายวิชา

             การประเมินภาวะสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม วิญญาณ ความสามารถในการทำหน้าที่ และการเรียนรู้ การซักประวัติ การประเมินภาวะสุขภาพและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการใช้เครื่องมือตรวจพิเศษที่จำเป็น การแปลผล เพื่อการตัดสินทางคลินิก การบันทึกผลการประเมินภาวะสุขภาพ

พยศศ 507          วิชาการพยาบาลปริศัลยกรรม 1                                   3(3-0-6) หน่วยกิต
NSSU 507           Perioperative Nursing 1

คำอธิบายรายวิชา

          มโนทัศน์การพยาบาลปริศัลยกรรม การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในห้องผ่าตัด ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงในห้องผ่าตัด การให้ยาระงับความรู้สึก การประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบองค์รวมและต่อเนื่องในทุกระยะของการผ่าตัดโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์  การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความต้องการการดูแลพิเศษ การพยาบาลผู้ป่วยนอกที่รับการผ่าตัด การช่วยฟื้นชีวิตขั้นสูง และการบริหารจัดการในห้องผ่าตัด

พยศศ 508          การพยาบาลปริศัลยกรรม 2                                        2(2-0-4) หน่วยกิต
NSSU 508           Perioperative Nursing II

คำอธิบายรายวิชา

          การผ่าตัด การตรวจวินิจฉัยพิเศษทางศัลยกรรม และนวัตกรรมการผ่าตัดในระบบต่างๆ การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดระบบต่างๆ บทบาทพยาบาลในนวัตกรรมการผ่าตัดและการปลูกถ่ายอวัยวะ

พยศศ 509          ประเด็นและแนวโน้มในการพยาบาลผ่าตัด                     1(1-0-2)     หน่วยกิต
NSSU 509           Issues and Trends in Perioperative Nursing  

คำอธิบายรายวิชา

          ประเด็นปัญหาและแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลปริศัลยกรรม การปฏิบัติพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลปริศัลยกรรม การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด แนวโน้มบทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด

พยศศ 585          ปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม I                                3 (0-12-3) หน่วยกิต
NSSU 585           Perioperative Nursing Practicum I

คำอธิบายรายวิชา

          ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกและครอบครัว โดยใช้กระบวนการพยาบาลที่ครอบคลุมระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ที่เน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง คำนึงสิทธิของผู้ป่วยและครอบครัว การเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการบริการพยาบาลในห้องผ่าตัด

พยศศ 586          ปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม 2                               3 (0-12-3) หน่วยกิต
NSSU 586           Perioperative Nursing Practicum II

คำอธิบายรายวิชา

             ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดที่มีปัญหาซับซ้อนและใช้นวัตกรรมทางศัลยกรรมในหน่วยผ่าตัดที่เลือกสรร และการปลูกถ่ายอวัยวะ โดยประยุกต์ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ การดูแลต่อเนื่อง กระบวนการพยาบาลแบบองค์รวมในทุกระยะของการผ่าตัด การดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในนวัตกรรมทางศัลยกรรม  การวางแผนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลปริศัลยกรรม

ระยะเวลาการศึกษา              16  สัปดาห์

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

1) เป็นผู้มีความประพฤติดี มีความรับผิดชอบ
2) ไม่เป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

คุณสมบัติเฉพาะ
1) เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งจากสภาการพยาบาล
2) ปฏิบัติงานในห้องผ่าตัดมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี
3) ผ่านการคัดเลือกจากคณะพยาบาลศาสตร์

 
               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English