คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
  การวิจัย

ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2/2554
เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ในหัวข้อ "การฉีดยา ครั้งที่ 2" เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554 เวลา 12.00-13.10 น. ณ ห้อง 801/1 –คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ โพธิ์ศรี เป็นผู้นำในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากภาควิชาต่างๆ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการฉีดยา เป็นการต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว สำหรับในวันนี้จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเน้นเกี่ยวกับ การฉีดยาทางหลอดเลือดดำ ทาง NSS lock และ Heparin lock

ประเด็นที่ 1 การ clot ใน extension tube

        สำหรับการฉีดยาทางหลอดเลือดดำทาง NSS lock หรือ Heparin lock นั้น มักจะเจอปัญหาการ clot ของเลือดใน extension tube การแก้ปัญหาดังกล่าว ได้มีผู้เล่าประสบการณ์ว่า ให้ใช้วิธี lock extension tube ขณะที่ดัน NSS เข้าไป และมีอาจารย์อีกท่านเล่าว่า ก่อนที่จะฉีด NSS เข้าไปควรดึงลูกสูบออกมาเพื่อเอา air ที่ค้างใน extension tube ออก ซึ่งพบว่าสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้

   

ประเด็นที่ 2 การฉีดยาทาง NSS lock และ Heparin lock

         การฉีดยาทาง NSS lock และ Heparin lock สามารถฉีดได้ 2 ทาง คือทางจุกยางสีเหลืองของ extension tube และการหมุนฝาเปิดแล้วใช้ Syringe ต่อโดยตรง ซึ่งถ้าเป็นไปตามหลักการที่ถูกต้องนั้น การฉีดทางจุกยางสีเหลืองจะลดการติดเชื้อและการปนเปื้อนมากกว่า โดยเฉพาะนักศึกษาที่ยังขาดความชำนาญ แต่ในขณะนี้ทางหอผู้ป่วยใช้การหมุนฝาเปิดใช้ Syringe ต่อโดยตรง โดยให้เหตุผลว่าการฉีดทางจุกยางสีเหลืองจะมีโอกาสรั่วซึมสูง เพราะในแต่ละวันผู้ป่วยจะได้รับยาจำนวนหลายครั้ง ถ้าใช้เข็มแทงบ่อยๆ โอกาสรั่วซึมจะมีสูง

ประเด็นที่ 3 ขั้นตอนการฉีดยาทาง NSS lock และ Heparin lock

ขั้นตอนการฉีดยาทางทาง NSS lock และ Heparin lock พบว่ามีความแตกต่างกันในแต่ละหอผู้ป่วย เช่น

หอผู้ป่วยอายุรศาสตร์มีการฉีดยาทาง NSS lock ดังนี้ NSS 5 CC. ยา NSS 5 CC

หอผู้ป่วยเฉพาะทางมะเร็ง รักษาโดยยาเคมีบำบัดมีการฉีดยาทาง NSS lock ดังนี้ NSS 10 CC. ยาเคมีบำบัด NSS 10 CC

หอผู้ป่วยศัลยศาสตร์เฉพาะทางที่มีผู้ป่วยเกี่ยวกับการอุดตันหลอดเลือด จะมีการฉีดยาทาง Heparin lock ดังนี้ NSS 3 CC. ยา NSS 3 CC Heparin 2 CC โดยใช้ Heparin 50:1 หมายถึง Haparin 50 U ในปริมาตร 1 CC

         มีความแตกต่างกันในรายละเอียดของจำนวน NSS อาจารย์เล่าว่า การให้ NSS จำนวนเท่าไรนั้นต้องพิจารณาที่ความยาวของสาย extension tube ซึ่งโดยปกติใช้ประมาณ 1.5-2 cc และควรจะมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์และฝ่ายการพยาบาลฯ เพื่อหาข้อสรุปที่ตรงกัน และในการฉีดยาแต่ละครั้งในผู้ป่วยบางรายมักจะมียาฉีดหลายชนิด ดังนั้นพยาบาลควรจะปรึกษาเภสัชกรก่อนว่า ยาแต่ละตัวมีการทำปฏิกิริยาต่อกันหรือไม่

         รองศาสตราจารย์ฉวีวรรณ โพธิ์ศรี ได้สรุปประเด็นจากที่ได้แลกเปลี่ยนเรื่องรู้ในการฉีดยาทางหลอดเลือดดำทาง NSS lock และ Heparin ในวันนี้ ดังนี้ การฉีดยาทางหลอดเลือดดำทาง NSS lock และ Heparin ขึ้นกับหอผู้ป่วยแต่ละแห่ง แต่จะมีหลักการที่เหมือนกันคือ ถ้าเป็นการใช้ NSS lock การฉีดจะเป็นดังนี้ NSS ยา NSS แต่ถ้าเป็น Heparin lock ดังนี้ NSS ยา NSS Heparin และควรมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างคณะพยาบาลศาสตร์และฝ่ายการพยาบาลฯ เพื่อหาข้อสรุปที่ตรงกันจะเป็นสิ่งที่ดี เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

 

อาจารย์ อรุณรัตน์ คันธา
ผู้จดบันทึก

รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. รศ.ฉวีวรรณ      โพธิ์ศรี           ประธาน
  2. รศ.จันทนา       รณฤทธิวิชัย
  3. รศ.สิริรัตน์        ฉัตรชัยสุชา
  4. รศ.วีนัส           ลีฬหกุล
  5. ผศ.ณัฐสุรางค์     บุญจันทร์
  6. รศ.ถนอมขวัญ    ทวีบูรณ์
  7. อ.ธัญยรัชต์       องค์มีเกียรติ 
  8. ผศ.นารีรัตน์      จิตรมนตรี 
  9. รศ.ปรางค์ทิพย์  อุจะรัตน 
  10. รศ.พัสมณฑ์      คุ้มทวีพร
  11. รศ.สมจินต์       เพชรพันธุ์ศรี 
  12. รศ.ลิวรรณ        อุนนาภิรักษ์ 
  13. อ.วรวรรณ        วาณิชย์เจริญชัย 
  14. รศ.วัฒนา         พันธุ์ศักดิ์  
  15. รศ.วิไลวรรณ     ทองเจริญ 
  16. ผศ.วิราพรรณ    วิโรจน์รัตน์ 
  17. รศ.ปราณี         ทู้ไพเราะ
  18. รศ.สมคิด         โพธิ์ชนะพันธุ์
  19. น.ส.ชวนันทร์     พรหมโชติ 
  20. อ.อรุณรัตน์       คันธา            ผู้บันทึก

 

 
หน้าหลัก