คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาและสำนักงาน
เรื่อง การประเมินผลและแนวทางพัฒนาของวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลเพื่อการจัดทำ มคอ.5 ของรายวิชา

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การประเมินผลและแนวทางพัฒนาของวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลเพื่อการจัดทำ มคอ.5 ของรายวิชา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 12.30-13.00 น. ณ ห้อง 508 คณะพยาบาลศาสตร์ ศาลายา โดยมีรองศาสตราจารย์ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน เป็นผู้นำกิจกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร เป็นคุณอำนวย และอาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง เป็นคุณลิขิต โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

การประเมินผลของวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล

จุดแข็ง

1. มีสื่อและตำราที่ทันสมัย
2. มีระบบ E-Learning ให้นักศึกษาเข้าไปทบทวนบทเรียนต่างๆ ได้
3. มี Pre- test ใน Google site ให้นักศึกษาทำล่วงหน้าเพื่อเป็นการเตรียมความรู้ก่อนเข้าชั้นเรียน
4. มีการสอนแบบทีม แบ่งกลุ่มย่อย ให้นักศึกษามีความรับผิดชอบในการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน มี การช่วยเหลือกันในการทำงานของทีม ขณะมีการเรียนการสอนได้รับการสะท้อนกลับทันทีจากอาจารย์ผู้สอน บรรยากาศในการเรียนแบบทีมเน้นอภิปรายเพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
5. การจัดให้ฝึกภาคปฏิบัติในห้อง LRC จัดให้มีการฝึกทักษะของแต่ละกิจกรรมอย่างน้อย 1 ครั้ง
6. การฝึกภาคปฏิบัติมีการแบ่งกลุ่มย่อยกลุ่มละ 6-7 คน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยเหลือกัน มีการเรียนรู้เป็นทีม

จุดอ่อน

1. เทคนิคของอาจารย์ผู้สอนไม่เหมือนกัน
2. การสอบข้อเขียน สอบครั้งเดียวทำให้นักศึกษาอ่านหนังสือไม่ทัน ทำคะแนนได้ไม่ดี
3. ในการทำกรณีศึกษาในชั้นเรียน ใช้เวลาทำนานเกินไปทำให้มีเวลาฝึกทักษะทางการพยาบาลน้อย
4. การฝึกปฏิบัติ ในห้อง LRC นักศึกษากลุ่มใหญ่เกินไป อาจารย์ดูนักศึกษาได้ไม่ทั่วถึง
5. นักศึกษากลุ่มใหญ่ อาจารย์ไม่สามารถประเมินนักศึกษาได้ทั่วถึง
6. กิจกรรม: การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและการให้เลือด มีอุปกรณ์ไม่เพียงพอและชำรุด เช่น IV Catheter ขวดสารน้ำ เป็นต้น

จากการวิเคราะห์ทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน จึงได้แนวทางพัฒนารายวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล เพื่อปรับปรุงรายวิชาต่อไป ดังนี้

1. จัดให้มีการเรียนการสอนแบบ Transformative Learning โดยเน้น Student- centered ในหัวข้อการสอนต่างๆ พัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอน CAI และ E-learning มากขึ้น เน้นเทคโนโลยีมากขึ้น
2. จัดการเรียนการสอนโดยใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
3. กรณีที่มีกรณีศึกษา ควรมอบหมายให้นักศึกษาทำกรณีศึกษาล่วงหน้านอกห้องเรียน (ทำเป็นกลุ่ม) มีอาจารย์ประจำกลุ่มเป็นที่ปรึกษา เมื่อเข้าชั้นเรียนให้นักศึกษามาฝึกปฏิบัติทักษะทางการพยาบาลของแต่ละกรณีศึกษาได้เลย
4. การทำตำราให้ทันสมัยมากขึ้น
5. ผลิตสื่อการสอน CAI มากขึ้น
6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการใน LRC
7. ทำ Knowledge management ร่วมกับอาจารย์ผู้สอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาลเพื่อเลือกเทคนิกการเรียนการสอนที่ถูกต้อง ตรงกัน และนำไปใช้ให้เหมือนกัน
8. จัดสอบข้อเขียน 2 ครั้ง เพื่อให้นักศึกษามีเวลาเตรียมตัวในการสอบมากขึ้น
9. การจัดกลุ่มย่อยของนักศึกษา ควรจัดกลุ่มละไม่เกิน 20 คนต่ออาจารย์ 1 ท่าน
ผู้ลิขิต
อ. ทีปภา แจ่มกระจ่าง 

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. ผศ.ดร. นารีรัตน์ จิตรมนตรี
2. รศ. ดร. วิไลวรรณ ทองเจริญ
3. รศ. ดร. วีนัส ลีฬหกุล
4. รศ. ปรางทิพย์ อุจะรัตน
5. ผศ. ณัฐสุรางค์ บุญจันทร์
6. รศ. พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร
7. ผศ.ดร. เสาวลักษณ์ จิรธรรม
8. ผศ. ดร. วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์
9. อ. อรุณรัตน์ คันธา
10. อ.จิรวรรณ มาลา
11. อ. วิภาวี หม้ายพิมาย
12. อ.เสาวลักษณ์ สุขพัฒนศรีกุล
13. อ.จิรวรรณ เผื่อแผ่
14. อ.ทีปภา แจ่มกระจ่าง

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 
หน้าหลัก