คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
เรื่อง การใช้กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การใช้กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน”  เมื่อวันอังคารที่ 14 พฤษาภาคม 2556 เวลา 12.30-13.30 น. ณ ห้องประชุม1004 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 10 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วีนัส ลีฬหกุล  เป็นผู้นำกิจกรรม รองศาสตราจารย์จันทนารณฤทธิวิชัย เป็นคุณอำนวย และอาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง ร่วมกับรองศาสตราจารย์พัสมณฑ์  คุ้มทวีพร เป็นคุณลิขิต ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ การอภิปรายเกี่ยวกับทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน (Integrated Theory of Health Behavior Change: Background and Intervention Development) เพื่อความรู้ความเข้าใจที่มากขึ้น เนื่องจากทฤษฎีดังกล่าวเป็นกรอบแนวคิดในชุดโครงการวิจัยของภาควิชาฯ

         ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสานเกิดจากการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 4 ทฤษฎีได้แก่

  • Theories of health behavior change
  • Self-regulation theories
  • Social support theory
  • Research related to self management of chronic illnesses  

องค์ประกอบที่สำคัญของทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน มี 3 องค์ประกอบ คือ 
1) ความรู้และความเชื่อ (Knowledge & Beliefs)
2) การกำกับตนเอง (Self-Regulation skill & Ability)  
3) การสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและเครือข่ายสังคม (Social facilitation & Community participation)

แต่ละองค์ประกอบเกี่ยวข้องกันในทฤษฎีตามรายละเอียด ดังไดอะแกรม (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน

รูปที่ 1 ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน Integrated Theory of Health Behavior Change:Background and Intervention Development (POLLY RYAN, PhD, RN, CNS-BC. College of Nursing; Self-management Science Center, University of Wisconsin Milwaukee; andResearch and Advance Practice, Froedtert Hospital, Milwaukee, Wisconsin)


ทั้งนี้ในการพัฒนาชุดโครงการวิจัยของภาควิชาการพยาบาลรากฐานในประเด็นรูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุซึ่งประกอบด้วย 5 โครงการวิจัยนั้นจะมี 4 โครงการวิจัยที่นำทฤษฎีนี้มาเป็นกรอบแนวคิด ได้แก่
         1. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ
         2. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดปฐมภูมิและทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
         3. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
         4. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อควบคุมโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ

โดยทั้ง 4 โครงการวิจัยจะมีการนำองค์ประกอบ ทั้ง 3 ด้าน มาบูรณาการเป็นรูปแบบของกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

 

ผู้ลิขิต
อาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง และรศ.พัสมณฑ์คุ้มทวีพร

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ.จันทนา               รณฤทธิวิชัย
2. อาจารย์จิรวรรณ        มาลา
3. ผศ.ณัฐสุรางค์           บุญจันทร์
4. อาจารย์ทีปภา            แจ่มกระจ่าง
5. ผศ.ดร.นารีรัตน์          จิตรมนตรี
6. รศ.ปรางค์ทิพย์          อุจะรัตน
7. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
8. รศ.ลิวรรณ                 อุนนาภิรักษ์
9. อาจารย์วิภาวี               หม้ายพิมาย
10.ผศ.ดร.วิราพรรณ        วิโรจน์รัตน์
11. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
12. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี         
13. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์      จิรธรรมคุณ
14. อาจารย์เสาวลักษณ์     สุขพัฒนศรีกุล
15. อาจารย์อรุณรัตน์          คันธา

 

 

 

 
หน้าหลัก