คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
เรื่อง การวิจัยเพื่อความเป็นเลิศของภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
 

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง“การใช้กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน”  เมื่อวันพุธที่ 17  กรกฎาคม  2556  เวลา 12.30-13.30 น. ณ ห้องประชุม1004 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 10 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิราพรรณ     วิโรจน์รัตน์  เป็นผู้นำกิจกรรม   รองศาสตราจารย์ ดร. วีนัส    ลีฬหกุล    เป็นคุณอำนวย และรองศาสตราจารย์พัสมณฑ์  คุ้มทวีพร เป็นคุณลิขิต ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคเบาหวานทุติยภูมิในผู้สูงอายุ เนื้อหาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องประกอบด้วย สาเหตุความเสื่อมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพ 3 อันดับแรกของผู้สูงอายุ แนวคิดวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวานของผู้สูงอายุ  แนวคิดการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ได้แก่ รูปแบบ ระยะเวลา วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และตัวแปรที่ศึกษา ดังนี้

สาเหตุความเสื่อมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ได้แก่

  • การเสื่อมถอยตามธรรมชาติ และการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ อย่างยาวนาน
  • พฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม
  • โรคประจำตัวของผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพ 3 อันดับแรกของผู้สูงอายุ

ผลการสำรวจพบว่าโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และหัวใจ โดยเฉพาะโรคเบาหวานจะทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะแทรกซ้อน พิการ และเสียชีวิตได้ ผลที่ตามมา คือ ผู้สูงอายุต้องพึ่งพาครอบครัวมากขึ้น

แนวคิดวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวานของผู้สูงอายุ  

         ที่ผ่านมาการศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการควบคุมโรค โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยาอย่างถูกต้องนั้นส่วนใหญ่เป็นการศึกษาในคนวัยผู้ใหญ่ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีความรุนแรงของโรคมากกว่าวัยอื่นๆ และมีความเสื่อมของระบบต่างๆ ร่วมด้วย จำเป็นที่จะต้องช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน (Integrated Theory of Health Behavior change) ซึ่งประกอบด้วยการสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตน การให้ความรู้ สร้างความเชื่อ และแรงสนับสนุนทางสังคม อาจนำผลมาใช้ไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุ และอาจพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลของผู้สูงอายุโรคเบาหวานอย่างยั่งยืนได้

         ทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสานเป็น midrange Theory  แนวคิด คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ความรู้และความเชื่อ เพิ่มทักษะและความสามารถในการกำกับตนเอง และการช่วยเหลือทางด้านสังคม (รูปที่ 1) จะใช้เพียงทฤษฏีใดทฤษฎีหนึ่งไม่ได้

แนวคิดการวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

         การวิจัยเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ตามฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แบบผสมผสาน ดังนี้
รูปแบบการ: วิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม
ระยะเวลา: ประมาณ 3 เดือน

วิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม:

  • การสร้างความรู้ และความเชื่อ:

    1. การให้ความรู้โดยใช้คู่มือเบาหวาน
    2. การให้คำปรึกษา
    3. การทำ Focus group

  • การสร้างทักษะ และความสามารถในการกำกับตนเอง:

    จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยา และการจัดการความเครียดให้แก่ผู้สูงอายุ ญาติ ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุข

  • การสร้างความช่วยเหลือทางด้านสังคม:

    1. การให้ความรู้แก่ญาติ ผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุข
    2. ทั้งการสร้างเครือข่ายในการดูแล

ตัวแปรที่ศึกษา

  • ความรู้
  • ความเชื่อ
  • ทักษะการดูแลสุขภาพ
  • ความสามารถในการกำกับตนเอง
  • ความช่วยเหลือทางด้านสังคม
  • ดัชนีมวลกาย
  • ระดับน้ำตาลในเลือด
ผู้ลิขิต
รศ.พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ.จันทนา                รณฤทธิวิชัย
2. อาจารย์จิรวรรณ         มาลา
3. ผศ.ณัฐสุรางค์           บุญจันทร์
4. อาจารย์ทีปภา            แจ่มกระจ่าง
5. ผศ.ดร.นารีรัตน์          จิตรมนตรี
6. รศ.ปรางค์ทิพย์           อุจะรัตน
7. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
8. รศ.ลิวรรณ                 อุนนาภิรักษ์
9. อาจารย์วิภาวี             หม้ายพิมาย
10. ผศ.ดร.วิราพรรณ       วิโรจน์รัตน์
11. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
12. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี
13. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์     จิรธรรมคุณ
14. อาจารย์เสาวลักษณ์     สุขพัฒนศรีกุล
15. อาจารย์อรุณรัตน์         คันธา

 

 

 

 

 
หน้าหลัก