คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
เรื่อง รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อควบคุมโรคเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อควบคุมโรคเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ”  เมื่อวันพุธที่ 18  กันยายน 2556 เวลา 12.00-13.20 น. ณ ห้องประชุม1002-1003 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 10 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย รองศาสตราจารย์ปรางค์ทิพย์  อุจะรัตน เป็นผู้นำกิจกรรม  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐสุรางค์    บุญจันทร์  เป็นคุณอำนวย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิราพรรณ  วิโรจน์รัตน์  และรองศาสตราจารย์พัสมณฑ์   คุ้มทวีพร  เป็นคุณลิขิต

ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ 1) โรคข้อเข่าเสื่อม: ความหมาย อุบัติการณ์  ปัจจัยเสี่ยง และผลกระทบ 2) ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทย 3) Self-management support โดยเฉพาะเรื่อง การสอนสุขศึกษา (Self-management education): เป้าหมาย และเนื้อหา/ กิจกรรม 4) ประเด็นการวิจัยและข้อเสนอแนะ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)

โรคข้อเข่าเสื่อม ความหมาย การสึกกร่อนของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ พบทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป  และพบถึงร้อยละ 80 – 90 ในผู้มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป  เป็นโรคเรื้อรังที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ ปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น Primary factors คือ กรรมพันธุ์ และอายุ Secondary factors คือ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป และการบาดเจ็บของข้อ ปัญหาที่ตามมาของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม คือ เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และปวดจนทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

ปัญหาการดูแลผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทย

ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในประเทศไทยมักไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค ส่วนหนึ่งที่สำคัญมาก คือ Health Team ให้ education ตามโปรแกรมการสอนสุขศึกษาแบบเดิมๆ ที่กระทำกันประจำ ไม่เหมาะสมกับ life style ของผู้สูงอายุ
Self-management support

Self-management support เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการจัดการดูแลผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม ที่กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง The American College of Rheumatology ระบุเป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมให้ประกอบด้วย 1) การสอนสุขศึกษา (Self-management education) 2) การออกกำลังกาย (physical activity) 3) การลด/ ควบคุมน้ำหนัก (weight management)

การสอนสุขศึกษา (Self-management education: SME)

การสอนสุขศึกษามีเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเน้นการสร้างความตระหนัก และความสามารถในการดูแลรักษาตนเองของผู้สูงอายุ โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้ตั้งเป้าหมายการดูแลตนเอง  เข้าใจอุปสรรคและข้อจำกัดของตนเอง และประเมินสภาวะสุขภาพของตนเองได้
เนื้อหาและกิจกรรม คือ การกระตุ้น/ ส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา วางแผนการจัดการปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง จนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  สามารถจัดลำดับความสำคัญของปัญหา  การประเมินตนเอง จนผู้สูงอายุเกิดความเชื่อมั่นในสมรรถนะแห่งตน (Self-efficacy)

ประเด็นการวิจัย

ใช้วิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research)
ประชากร คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ (Activity of Daily Living)  

ข้อเสนอแนะ:

  • ควรมีแบบประเมินเพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ชัดเจน 
  • อาจประเมินโดยใช้ The Western Ontario and McMaster Universities Arthritis Index (WOMAC) assessment tool ในการประเมิน Pain, stiffness และ function ซึ่งมี cut off และบอกระดับ severity ของผู้ป่วยได้ ตาม The American College of Rheumatology ใน  http://www.rheumatology.org/Practice/Clinical/Clinicianresearchers/Outcomes_Instrumentation/
    Western_Ontario_and_McMaster_Universities_Osteoarthritis_Index_%28WOMAC%29/
  • อาจพัฒนาแบบประเมินต่อไปให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุ/ อสม. สามารถใช้ได้เอง
  • การให้ Health education สำหรับผู้สูงอายุเพื่อให้กลับไปทำ Self-management ต้องเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุแต่ละคน
  • ในการทำ Intervention ควรจัดกลุ่มอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นกลุ่มสุขภาพดี และกลุ่มที่เป็นโรคเข่าเสื่อมแล้ว เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของวิจัยเป็น Guideline สำหรับการทำ Physical activities ที่เหมาะสมต่อคนแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงได้เครื่องมือในการประเมินที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ และสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพในการให้ Health education สำหรับคนในการป้องกันและชะลอโรคข้อเข่าเสื่อมต่อไป

 

ผู้ลิขิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิราพรรณ  วิโรจน์รัตน์
รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ.จันทนา                 รณฤทธิวิชัย
2. ผศ.ณัฐสุรางค์            บุญจันทร์
3. รศ.วัฒนา                   พันธุ์ศักดิ์
4. รศ.ดร.วิไลวรรณ         ทองเจริญ
5. รศ.ปรางค์ทิพย์          อุจะรัตน
6. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
7. รศ.ลิวรรณ                 อุนนาภิรักษ์
8. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
9. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี
10. ผศ.ดร.นารีรัตน์              จิตรมนตรี
11. ผศ.ดร.วิราพรรณ           วิโรจน์รัตน์
12. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์       จิรธรรมคุณ
13. อาจารย์ธัญรัตน์            องค์มีเกียรติ
14. อาจารย์ทีปภา              แจ่มกระจ่าง
15. อาจารย์อรุณรัตน์          คันธา
16. อาจารย์จิรวรรณ            มาลา
17. อาจารย์วิภาวี               หม้ายพิมาย
18. อาจารย์เสาวลักษณ์      สุขพัฒนศรีกุล

 

 

 

 

 
หน้าหลัก