คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
เรื่อง การวิจัยเพื่อความเป็นเลิศของภาควิชาการพยาบาลรากฐาน
 

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาชุดโครงการวิจัย รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน”  เมื่อวันพุธที่ 20 มีนาคม 2556 เวลา 12.30-13.30 นาฬิกา ณ ห้องประชุม 1004 อาคารพระศรีพัชรินทร  ชั้น 10   คณะพยาบาลศาสตร์   มหาวิทยาลัยมหิดล  โดย  รองศาสตราจารย์ ดร. วีนัส  ลีฬหกุล  เป็นผู้นำกิจกรรม รองศาสตราจารย์จันทนา รณฤทธิวิชัย เป็นคุณอำนวย และอาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง ร่วมกับรองศาสตราจารย์พัสมณฑ์  คุ้มทวีพร เป็นคุณลิขิต ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ ได้แก่ การพัฒนาชุดโครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ” และกรอบแนวคิดการทำวิจัยในชุดโครงการวิจัยดังกล่าว โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

1. การพัฒนาชุดโครงการวิจัยเรื่อง “รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ”

เป้าหมาย

กิจกรรม

ผลลัพธ์

1. พัฒนา Themes การวิจัยของภาควิชาฯ

1.1 จัดกิจกรรมการสัมมนาเพื่อกำหนด Themes การวิจัยที่สอดคล้องกรอบการวิจัย 
1.2 จัดกิจกรรมการสัมมนาเพื่อวิพากษ์ Themes และชุดโครงการวิจัย

1. ได้ Themes การวิจัย 2 Themes คือ
Themes 1 รูปแบบบริการสุขภาพ
Themes 2 การส่งเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมโรคเรื้อรังในสังคมผู้สูงอายุ

Theme การส่งเสริมสุขภาพฯ
2. เพิ่มองค์ความรู้เกี่ยวกับปัญหา/ ความต้องการของผู้สูงอายุ และงบประมาณการวิจัย ให้อาจารย์ในภาควิชาฯ

2.1 จัดสัมมนาโดยเชิญวิทยากรที่เป็น Key person คือ พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
2.2 ศึกษาตามความต้องการของชุมชน (ข้อมูลจาก COE ของภาควิชาฯ)
2.3 ทบทวนวรรณกรรม
2.4 เขียนงานวิจัยย่อยแต่ละโครงการ

งานวิจัย 5 โครงการ คือ

1. การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดในผู้สูงอายุ
2. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดปฐมภูมิ และทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
3. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคเบาหวานทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
4. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันในผู้สูงอายุ
5. รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อควบคุมโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ

Theme การส่งเสริมสุขภาพฯ
3. เพิ่มองค์ความรู้เรื่องสถิติการวิจัยให้อาจารย์ในภาควิชาฯ

3.1 จัดสัมมนาโดยเชิญวิทยากรที่เป็น Key person คือ  รศ. ศิริชัย พงษ์วิชัย ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.2 ทบทวนวรรณกรรม
3.3 เขียนงานวิจัยย่อยแต่ละโครงการ

4. พัฒนานักวิจัยใหม่

4.1 คิดงานวิจัยย่อยจาก Themes
4.2 แบ่งงานวิจัยย่อยตามความเชี่ยวชาญและความสนใจ
4.3 เสนอให้มีอาจารย์ใหม่ร่วมทำวิจัยด้วย

งานวิจัยย่อย 5 โครงการ ประกอบด้วยอาจารย์ที่มีประสบการณ์ในการทำวิจัย และอาจารย์ใหม่

5. มีทุนสนับสนุนชุดโครงการวิจัยของภาควิชาฯ

5.1 ติดตามเรื่องแหล่งสนับสนุนทุนวิจัยทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย
5.2 ประชาสัมพันธ์ให้อาจารย์รับทราบ

ส่งชุดโครงการวิจัยของภาควิชาฯ เรื่อง “รูปแบบการจัดการทางการพยาบาล เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ” ขอทุนสนับสนุน จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)

6. มีชุดโครงการวิจัย ของภาควิชาฯ

6.1 รวบรวมงานวิจัยย่อย 5 โครงการ
6.2 ปรับงานวิจัยย่อยให้สอดคล้องเป็นชุดโครงการวิจัยของภาควิชาฯ

2. กรอบแนวคิดในการทำวิจัย เรื่อง “รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ”

2.1 ภายใต้ Theme การส่งเสริมสุขภาพเพื่อควบคุมโรคเรื้อรังในสังคมผู้สูงอายุ ได้พัฒนาเป็นชุดโครงการวิจัยของภาควิชาการพยาบาลรากฐาน ซึ่งประกอบด้วยงานวิจัยย่อย 5 โครงการดังกล่าวข้างต้น  งานวิจัยย่อย 4 โครงการได้แก่

  • การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ
  • รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดปฐมภูมิและทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
  • รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อป้องกันโรคเบาหวานทุติยภูมิในผู้สูงอายุ
  • รูปแบบการจัดการทางการพยาบาลเพื่อควบคุมโรคข้อเข่าเสื่อมสำหรับผู้สูงอายุ

มีแผนจะนำ “กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน” มาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย

รูป1 Nurse-Based Models for Cardiovascular Disease Prevention From Research to Clinical Practice
จาก Kathy Berra,MSN, RN, ANP, FAHA, FPCNA, FAAN; Nancy HoustonMiller, BSN, RN, FPCNA, FAHA;Catriona Jennings, BA, RN, FESC

2.2 “กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน” มีที่มาจาก 2 ทฤษฎี คือ

  • Nurse-Based Models for Cardiovascular Disease Prevention From Research to Clinical Practice (รูป1)
  • Integrated Theory of Health Behavior Change: Background and Intervention Development (รูป2)

2.3 การนำ “กรอบทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน” ไปใช้ในต้องอาศัยองค์ประกอบทั้งตัวผู้สูงอายุคือต้องมีความรู้และความเชื่อ ร่วมกับปัจจัยเอื้อทางสังคม เพื่อทำให้เกิดทักษะและความสามารถในการควบคุมตนเองจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (รูป2) ซึ่งในการทำวิจัยจริงผู้สูงอายุอาจมีความหลากหลาย และสังคมที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ก็สามารถเป็นทั้งปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเอื้อขัดขวางต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

รูป 2 Integrated Theory of Health Behavior Change: Background and Intervention Development
จาก  POLLY RYAN, PhD, RN, CNS-BC. College of Nursing; Self-management Science Center, University of Wisconsin Milwaukee; andResearch and Advance Practice, Froedtert Hospital, Milwaukee, Wisconsin.

ผู้ลิขิต
อาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง และรศ.พัสมณฑ์คุ้มทวีพร

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ.จันทนา               รณฤทธิวิชัย
2. ผศ.ณัฐสุรางค์           บุญจันทร์
3. รศ.ปรางค์ทิพย์          อุจะรัตน
4. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
5. รศ.ลิวรรณ                 อุนนาภิรักษ์
6. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
7. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี         
8. ผศ.ดร.นารีรัตน์          จิตรมนตรี
9. ผศ.ดร.วิราพรรณ        วิโรจน์รัตน์
10. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์       จิรธรรมคุณ
11. อาจารย์ทีปภา              แจ่มกระจ่าง
12. อาจารย์อรุณรัตน์          คันธา
13. อาจารย์จิรวรรณ            มาลา
14. อาจารย์วิภาวี               หม้ายพิมาย
15. อาจารย์เสาวลักษณ์      สุขพัฒนศรีกุล

 

 

 

 
หน้าหลัก