คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
  การวิจัย

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล

หัวข้อ "Hypodermic Injection"
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 12.30-13.30 น. ณ ห้อง 1004
     

          ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ในหัวข้อ "Hypodermic Injection" เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 12.30-13.30 น. ณ ห้อง 1004 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 10 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน เป็นผู้นำกิจกรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัย เป็นคุณอำนวย และอาจารย์วิภาวี หม้ายพิมาย/ รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร เป็นคุณลิขิต ซึ่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ประกอบด้วยเรื่อง ตำแหน่งการฉีดยาใต้ผิวหนัง การผสมยา การแทงเข็ม และการปฏิบัติเมื่อดึงเข็มจากผิวหนังของผู้ป่วยแล้ว โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ตำแหน่ง

1.1 บริเวณที่ใช้ฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง(Hypodermic/  Subcutaneous Injection) เช่น
          - บริเวณต้นแขน จุดกึ่งกลางของกล้ามเนื้อ deltoid
          - บริเวณหน้าท้องรอบๆ สะดือ (umbilicus)
          - บริเวณต้นขาด้านข้าง (Vastus lateralis)
          - บริเวณต้นขาด้านหน้า (Rectus femoris)

1.2 บริเวณที่เหมาะสมในการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังมากที่สุด คือ บริเวณหน้าท้อง เนื่องจากบริเวณต้นแขนและต้นขา เมื่อผู้ป่วยที่ทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เดิน ใช้แขนหรือมือทำงานมากๆ อาจทำให้ยาที่ฉีดออกฤทธิ์เร็วเกินไป

   
ยา

1.3 ในการสอบฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556) ให้นักศึกษาทุกคนฉีดยาที่กล้ามเนื้อ deltoid บริเวณต้นแขน โดยกำหนดให้นักศึกษาวางนิ้วชี้ตรงตำแหน่ง Acromion process วัดลงมา 3 FB คือ ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง (วางให้ชิดกัน) ทั้งนี้ให้ตำแหน่งที่ฉีดยาอยู่กึ่งกลางของกล้ามเนื้อ deltoid

1.4 ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ต้องไม่มีรอยแผลเป็น เป็นไตแข็ง จ้ำเลือด และไม่ควรฉีดซ้ำที่เดิม

1.5 ในการสอบฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556) ให้นักศึกษาทุกคนพิจารณาผิวหนังผู้ป่วยก่อนฉีดยา และเลือกฉีดยาตรงบริเวณที่ไม่มีรอยแผลเป็น เป็นไตแข็ง จ้ำเลือด และไม่ควรฉีดซ้ำที่เดิม ซึ่งอาจทำได้โดยการซักถามผู้ป่วยถึงตำแหน่งที่มีการฉีดยาครั้งล่าสุด หรือจากการสังเกตรอยเข็ม

2. การผสมยา

2.1 นักศึกษาสามารถเขย่าขวดเพื่อผสมยาแรงๆ ได้ แต่ต้องไล่อากาศให้หมดก่อนฉีดยาให้กับผู้ป่วย

2.2 ขณะผสมยาฉีด นักศึกษาสามารถวางเข็มฉีดยาได้ หลังการดันลูกสูบ (plunger) เข้าในกระบอกฉีดยา (syringe)ให้สุด และวางในภาชนะที่สะอาด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค

3. การแทงเข็ม

         

3.1 ผิวหนังและชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่คลุมกล้ามเนื้อมีความหนาเพียง 1-2 มิลลิเมตร (ยกเว้นกล้ามเนื้อหน้าท้อง)

3.2 การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังต้องการให้ปลายเข็มอยู่ที่ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง โดยไม่ลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ

3.3 ความลึกในการแทงเข็ม พิจารณาตามขนาดและความยาวของเข็ม รวมทั้งรูปร่างผู้ป่วย
          - การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน กรณีใช้เข็มเบอร์ 23 ยาว 1 นิ้ว นักศึกษาควรแทงเข็มลึกประมาณ 2 ใน 3 ของเข็ม
          - การฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังบริเวณต้นแขน กรณีใช้เข็มเบอร์ 25 หรือ 27 ยาว 2/3-1/3 นิ้ว ถ้าผู้ป่วยรูปร่างอ้วน นักศึกษาสามารถแทงมิดเข็มได้

3.4 องศาในการแทงเข็ม ดังนี้
          - กรณีฉีดยาบริเวณหน้าท้อง ให้ฉีดห่างจากสะดือ ประมาณ 1 นิ้ว ให้นักศึกษาแทงเข็มทำมุมกับผิวหนังประมาณ 90 องศา
          - กรณีฉีดยาบริเวณจุดกึ่งกลางของกล้ามเนื้อ deltoid บริเวณต้นแขน ให้นักศึกษาแทงเข็มทำมุมกับผิวหนัง 30 - 45 องศา

4. การปฏิบัติเมื่อดึงเข็มจากผิวหนังของผู้ป่วยแล้ว

4.1 เมื่อนักศึกษาฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังให้แก่ผู้ป่วยครบตามขนาดตามแผนการรักษาแล้ว ให้นักศึกษาดึงเข็มฉีดยาออก

4.2 ใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดยา โดยห้ามคลึงบริเวณที่ฉีดยา


              ผู้ลิขิต
อาจารย์วิภาวี หม้ายพิมาย และรศ.พัสมณฑ์  คุ้มทวีพร

ผู้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ.จันทนา             รณฤทธิวิชัย
2. ผศ.ณัฐสุรางค์          บุญจันทร์
3. รศ.วัฒนา               พันธุ์ศักดิ์
4. ผศ.ดร.วรวรรณ        วาณิชย์เจริญชัย
5. รศ.ปรางค์ทิพย์        อุจะรัตน
6. รศ.พัสมณฑ์           คุ้มทวีพร
7. รศ.ลิวรรณ              อุนนาภิรักษ์
8. รศ.ดร.วีนัส             ลีฬหกุล
9. รศ.สมจินต์             เพชรพันธุ์ศรี

10. ผศ.ดร.นารีรัตน์           จิตรมนตรี
11. ผศ.ดร.วิราพรรณ         วิโรจน์รัตน์
12. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์      จิรธรรมคุณ
13. อาจารย์ทีปภา            แจ่มกระจ่าง
14. อาจารย์อรุณรัตน์         คันธา
15. อาจารย์จิรวรรณ          มาลา
16. อาจารย์วิภาวี             หม้ายพิมาย
17. อาจารย์เสาวลักษณ์      สุขพัฒนศรีกุล

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การนำองค์ความรู้ไปใช้

          ในการสอบภาคปฏิบัติเรื่องการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนัง เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 8.30-12.30 น. ณ ห้องสาธิตทางการพยาบาล อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 6 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ผู้สอบทุกท่านได้นำองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องความก้าวหน้าในการจัดการเรียนการสอนวิชาทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ในหัวข้อ “Hypodermic Injection” ไปใช้ ผลคือ บรรยากาศการสอบมีความต่อเนื่อง ไม่มีการหยุดสอบภาคปฏิบัติฯ เพื่อประชุมเกี่ยวกับข้อตกลงต่างๆ และอาจารย์ผู้สอบให้ความเห็นว่าสามารถให้คะแนนและแนะนำนักศึกษาได้ถูกต้องตรงกันในเรื่องที่ผ่านการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่

          1. ตำแหน่งฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังที่กึ่งกลางของกล้ามเนื้อ deltoid
          2. การวางเข็มฉีดยาขณะผสมยาฉีด โดยไม่ปนเปื้อนเชื้อโรค
          3. ความลึกและองศาของการแทงเข็มในการฉีดยาเข้าชั้นใต้ผิวหนังที่บริเวณกล้ามเนื้อ deltoid
          4. วิธีการใช้สำลีแห้งกดบริเวณที่ฉีดยาให้แก่ผู้ป่วย เมื่อฉีดเสร็จแล้ว


ผู้ติดตามผลการนำองค์ความรู้ไปใช้
  รศ.พัสมณฑ์  คุ้มทวีพร

ผู้นำองค์ความรู้ไปใช้

1. ผศ.ณัฐสุรางค์            บุญจันทร์
2. รศ.วัฒนา                 พันธุ์ศักดิ์
3. รศ.ปรางค์ทิพย์          อุจะรัตน
4. รศ.พัสมณฑ์              คุ้มทวีพร
5. รศ.ลิวรรณ                อุนนาภิรักษ์
6. รศ.ดร.วีนัส                ลีฬหกุล
7. รศ.สมจินต์                เพชรพันธุ์ศรี

8. ผศ.ดร.เสาวลักษณ์         จิรธรรมคุณ
9. อาจารย์ทีปภา               แจ่มกระจ่าง
10. อาจารย์อรุณรัตน์          คันธา
11. อาจารย์จิรวรรณ           มาลา
12. อาจารย์วิภาวี              หม้ายพิมาย
13. อาจารย์เสาวลักษณ์      สุขพัฒนศรีกุล

 

 
หน้าหลัก