คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญญาของแผ่นดิน

 
 
 
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

research

ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ และการรักษาด้วยPacemaker 

อาจารย์ธนิษฐา สมัย
ลิขิตโดย อาจารย์พรรณิภา สืบสุข


         ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ ภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ และการรักษาด้วย Pacemaker ในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2554 โดยมีอาจารย์ธนิษฐา สมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้นำประเด็นการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า และการดูแลรักษาภาวะดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยสรุปดังนี้

         หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ ทั้งนี้หัวใจทั้ง 4 ห้องมีระบบควบคุมคือระบบไฟฟ้าในหัวใจนั่นเอง อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจส่งผลกระทบต่ออันตรายถึงชีวิต ดังนี้อาจารย์ธนิษฐา สมัย
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยระบบหัวใจและหลอดเลือด จึงนำประเด็นการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า และการดูแลรักษาภาวะดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยสรุปดังนี้
ภาวะหัวใจเต้นช้า คือ มีอัตราการเต้นของหัวใจ< 60 ครั้ง/นาที ภาวะหัวใจเต้นช้าที่มีอาการมักจะแสดงอาการเหล่านี้ ได้แก่ มีอาการเป็นลมหมดสติ ความดันตก หรือชัก เป็นต้นอาการของหัวใจเต้นช้าเกินไป คือ อาการที่เกิดจากเลือดจะไม่พอเลี้ยงสมองทำให้เกิดอาการ "วูบ" "หมดสติชั่วขณะ" หรือ "เป็นลม" ภาวะหัวใจเต้นช้าที่เป็นอันตรายมาก คือ Atrioventricular block (AV block) แบ่งเป็น first, second และ third degree ซึ่งอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาบางชนิด ภาวะมีเกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติหรือกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดก็ได้
การวินิจฉัยโดยตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และ บางรายต้องอาศัยการดู คลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง สำหรับการรักษานั้นขึ้นอยู่กับอาการ และ สาเหตุ หากเป็นชนิดที่ปกติไม่มีอาการผิดปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษาใดๆแต่หากเป็นชนิดที่ร้ายแรงก็จำเป็นต้องป้องกันไม่ให้หัวใจเต้นช้าเกินไปด้วยการผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ  
การรักษาภาวะหัวใจเต้นช้า
       1. Atropine
       ยานี้ใช้รักษาภาวะหัวใจเต้นช้าที่มีอาการ ขนาดยาที่ให้ 0.6 มก.เข้าเส้นเลือดทุก 3-5 นาที ขนาดยาสูงสุดรวมกันที่สามารถให้ได้คือ 3 มก.ยาอื่นที่สามารถใช้ได้ก็มี Epinephrineหรือ dopamine เป็นต้น
       2. Pacemaker
      เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ (Cardiac Pacemaker/Artificial Pacemaker)
ทำหน้าที่ ปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจตามที่กำหนดเพื่อให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจทำให้มีปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาที (Cardiac Output) เพียงพอมี 2 ชนิด คือ เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดชั่วคราว (Temporary Pacemaker) เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวร (Permanent Pacemaker) มีการพยาบาลดังนี้
หลังใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ 

  1. วัดสัญญาณชีพ สังเกตความสม่ำเสมอของชีพจรอัตราการเต้น ถ้าชีพจรเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าหรือมากกว่า 10 ครั้ง/นาที ต้องรายงานแพทย์
  2. ติดตามภาวะหัวใจล้มเหลวPneumothorax
  3. สังเกตคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อติดตามการทำงานของเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
  4. สังเกตแผลบริเวณที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจทุกวันโดยปกติจะไม่ทำแผลทุกวัน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อสายสื่อเลื่อนหลุด อาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ หากแผลแฉะ บวมแดง ให้ทำแผลใหม่
  5. ไม่ให้ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจเหยียดแขนข้างที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจขึ้นเหนือศีรษะอย่างรุนแรงหรือเอื้อมหยิบของไกลๆหลังใส่เครื่องใหม่ๆทั้งชนิดชั่วคราวและถาวรเพื่อป้องกันสายสื่อเลื่อนหลุด เมื่ออาการของผู้ป่วยคงที่แล้วให้มีการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวข้อต่างๆได้สำหรับผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดถาวร ให้ออกกำลังกายได้หลังผ่าตัดใส่เครื่องประมาณ 8 สัปดาห์เพื่อให้เครื่องฝันแน่นอยู่กับที่ระหว่างนี้ให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่เหยียดหรือยืดแขนออกอย่างรุนแรง หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกบริเวณเครื่อง
  6. ช่วยลดความวิตกกังวลและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยโดยรับฟังปัญหาของผู้ป่วยสนับสนุนให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจ
  7. ระวังอันตรายจากกระแสไฟฟ้าอื่นๆที่มีความถี่สูงอาจรบกวนการทำงานของเครื่อง

 

                   *************************************************************

 



             คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
             © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553, ติดต่อเว็บมาสเตอร์:nswww@mahidol.ac.th