e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
NS Academic
การประเมินการกลืน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรัณยา โฆสิตะมงคล
ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์

  การประเมินการกลืน  

          ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาทเช่น ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดทางสมอง (Cerebrovascular disease, CVD) โรคพาร์กินสัน (Parkinson'sdisease) โรคมัยแอสธิเนีย กราวิส (myasthenia gravis) ฯลฯ มักพบปัญหาเรื่องการกลืนลำบากอันเป็นสาเหตุของการสูดสำลักและเกิดปอดอักเสบตามมา ซึ่งในการดูแลเพื่อฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกลุ่มนี้การประเมินการกลืนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องมาพบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการรักษาแล้วกลับบ้านไป มักจะกลับมาโรงพยาบาลอีกครั้งด้วยอาการปอดอักเสบที่เกิดจากการสำลัก ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 25-651 พยาบาลเป็นผู้ทราบถึงการอาการที่เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยเป็นอย่างดีเนื่องจากดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา จึงมีบทบาทสำคัญในการเริ่มต้นฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยด้วยการส่งเสริมการกลืน และป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นโดยการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อน ปัจจุบันถึงแม้ว่าวิธีการประเมินการกลืนในแต่ละหน่วยงานก็จะมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละหน่วยงาน แต่หลักสำคัญที่เหมือนกันคือ

1. ต้องประเมินความพร้อมของผู้ป่วยก่อน โดยการ

1.1 ความรู้สึกตัวและตื่นหรือมีการตอบสนองต่อคำพูดหรือไม่
1.2 สามารถนั่งตัวตรงได้หรือไม่
1.3 ทดสอบ Gag reflex โดยให้ผู้ป่วยหุบปากหรือปิดปากได้โดยไม่มีน้ำลายไหล
1.4 สามารถที่จะไอตามที่บอกได้หรือไม่
1.5 ไม่มีน้ำลายไหลออกมามุมปาก ผู้ป่วยกลืนน้ำลายของตัวเองได้
1.6 สามารถแลบลิ้นและเคลื่อนไปมาโดยเลียริมฝีปากบนและล่างได้หรือไม่โดยไม่บิดเบี้ยว
1.7 สามารถหายใจได้เองหรือไม่
1.8 มีเสียงแหบหรือมีเสียงน้ำในลำคอหรือไม่ โดยให้ผู้ป่วยพูดคำว่า “อา”

2. ทดสอบการกลืน

2.1 ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง จากนั้นให้ดื่มน้ำครั้งละ 1 ช้อนชา ทำซ้ำ 3 ครั้งขึ้นไป โดยในแต่ละครั้งของการดื่มน้ำ ให้ผู้ป่วยพูดคำว่า “อา” พร้อมทั้งสังเกตว่ามีไอระหว่างหรือภายหลังการกลืนหรือไม่ เสียงพูดเปลี่ยนแปลงหรือมีไหลรั่วจากมุมปากหรือไม่ ถ้าพบอาการดังกล่าวให้ผู้ป่วยหยุดดื่ม ถือว่าทดสอบไม่ผ่าน แล้วส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพูดหรือกลืนต่อไป

2.2 ให้ดื่มน้ำ 1 ถ้วย (ประมาณ 50 ซีซี) โดยสังเกตอาการโดยให้ผู้ป่วยพูดคำว่า “อา” เช่นเดียวกันจะตัดสินว่า “ผ่าน” ได้นั้นผู้ป่วยจะต้องไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ดังที่กล่าวในขั้นตอนที่ 2 เลย และหากผ่านในขั้นตอนที่2.2 จะเริ่มให้ผู้ป่วยทดลองรับประทานโดยเริ่มจากอาหารเหลวนุ่ม อาหารอ่อนเป็นเนื้อเดียว อาหารที่ต้องบดสับก่อน อาหารใกล้เคียงปกติแต่หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง และอาหารปกติ ตามลำดับ

          ข้อที่น่าสังเกตสำหรับการประเมินการกลืนของผู้ป่วยมักจะใช้น้ำในการทดสอบ เนื่องจากการกลืนน้ำซึ่งเป็นของเหลวใสนั้นจะเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท ดังนั้นถ้าผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้ ความเสี่ยงในการสำลักอาหารก็ไม่มี ซึ่งต่างจากการกลืนอาหารประเภทของเหลว ที่มีลักษณะข้นหรืออาหารอ่อนที่มีลักษณะข้นเนียนติดกันจะทำให้การกลืนได้ง่าย เนื่องจากอาหารจะจับกันเป็นก้อนและไม่แตกฟุ้งกระจายในช่องปาก แต่น้ำจะมีการกระจายตัวในช่องปาก ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีความบกพร่องการทำงานของระบบประสาทที่ควบคุมเกี่ยวกับกลืนแล้ว การดื่มน้ำในผู้ป่วยกลุ่มน้ำจะทำได้ยากมากหรือทำไม่ได้เลย อย่างไรก็ตามยังมีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของอาหาร เช่น ฟักทองบด น้ำผึ้ง และ แครกเกอร์ ที่มีผลต่อการกลืนของผู้ป่วย พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีความบกพร่องของโรคระดับเล็กน้อย และปานกลาง สามารถผ่านการทดสอบและรับประทานทางได้ปากได้ดีกว่า9 แต่อย่างไรก็ตามยังต้องอาศัยทำการวิจัยซ้ำในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากขึ้น เพื่อยืนยันผลอีกครั้งหนึ่ง

          ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเรื่องการกลืน พยาบาลจะต้องจะต้องมีการประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสำลักที่อาจขึ้นได้ถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่ได้กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง

 

เอกสารอ้างอิง

1. บุญญิสา เมืองทอง. ผลของโปรแกรมส่งเสิมการกลืนต่อความสามารถในการกลืนอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีการกลืนลำบาก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2553.

2. Siriporn Wisettorn. Mini-research: swallowing test. In: Hospital T, editor. Annual conference; Pathomthanee: Thamasat Hospital; 2011.

 

 

 

ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ : 
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ
 และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด
และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/56/08/devour.html ด้วย

 

               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English