welcome to our department
 

ภาควิชาฯมีทิศทางในการวิจัยโดยมุ่งประเด็นปัญหาสำคัญทางสุขภาพจิตของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่ได้มีการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพและแนวทางในการให้การพยาบาลแก่กลุ่มเสี่ยงในทุกช่วงวัย นอกจากนี้ภาควิชายังได้ศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการจัดการอาการและดูแลผู้ป่วยจิตเภท ผู้ใช้สารเสพติด และผู้ที่มีปัญหาทางเพศ  รวมทั้งภาควิชาได้เริ่มศึกษาวิจัยในการดูแลผู้ที่เจ็บป่วยใน 4 โรคสำคัญของจิตเวชเด็ก ได้แก่ ภาวะซนสมาธิสั้น เด็กออติซึม เด็กที่มีภาวะทางการเรียน และเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา ทั้งนี้ความรู้ที่ได้จากการวิจัยจะนำมาพัฒนาการจัดเรียนการสอนและการปฏิบัติงานการพยาบาลให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ผลงานวิจัยและงานตีพิมพ์ที่ผ่านมา ดังนี้

จิตเวชเด็กและวัยรุ่น

  1. ปัจจัยทำนายความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าในเด็กวัยรุ่นที่มีความผิดปกติการเรียนรู้ (J Med Assoc Thai, 2012)
  2. ผลของโปรแกรมป้องกันอาการซึมเศร้า (Band Intervention Program) ต่อความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม ความคิดทางลบ และอาการซึมเศร้าในวัยรุ่นไทย (Pacific Rim Int J Nur Res, 2012, 16(1))
  3. ประสิทธิผลของโปรแกรมความร่วมมือระหว่างบ้านและโรงเรียนในการจัดการพฤติกรรมสำหรับพ่อแม่และครูของเด็กซนสมาธิสั้น (Pacific Rim Int J Nur Res: 2012, 16(2))
  4. ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ การครุ่นคิดแหล่งทักษะภายในตนเอง และปัญหาทางจิตเวชของวัยรุ่นที่ใช้สารเสพติดในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน (สงขลานคริทร์เวชสาร: 2012, 30(1))
  5. ความสัมพันธ์ระหว่าง ทัศนคติต่อการใช้ความรุนแรง รูปแบบการเลี้ยงดู และการปฏิบัติของเพื่อนกับพฤติกรรมรุนแรงของวัยรุ่น (วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา: 2012, 20(3))
  6. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวในครอบครัวของเด็กกลุ่มอาการดาวน์ (กำลังดำเนินการ)
  7. ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลช่วยเหลือเด็กไทยที่มีภาวะออทิซึมสเปคตรัมโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบของ TEACCH Model (กำลังดำเนินการ)
  8. การพัฒนาโปรแกรมต้นแบบการสื่อสารเรื่องเพศกับวัยรุ่น: เนื้อหาและรูปแบบที่มีความสอดคล้องกับเพศ อัตมโนทัศน์เชิงโครงสร้างทางเพศ และคู่สื่อสารของวัยรุ่น (กำลังดำเนินการ)
  9. การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่นที่มีความเสี่ยงสูง (กำลังดำเนินการ)
  10. ผลของโปรแกรมป้องกันอาการซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล
  11. การใช้วิธี Grounded Theory ในการศึกษาองค์ประกอบในการทำหน้าที่ของครอบครัวไทย
  12. ผลของโปรแกรมการฝึกโยคะต่อความสุข การเห็นคุณค่าในตนเอง และอาการซึมเศร้าในนักศึกษา (กำลังตีพิมพ์)

จิตเวชผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

  1. ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม (กำลังตีพิมพ์)
  2. ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าและสุขภาพกายของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท (กำลังตีพิมพ์)
  3. การพัฒนาและทดสอบโปรแกรมการป้องกันโรคซึมเศร้ากลุ่มวัยสูงอายุที่มีความเสี่ยงสูง (กำลังดำเนินการ)
  4. การทดสอบนวัตกรรมสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้หญิงที่มีโรคซึมเศร้าที่บ้าน (กำลังดำเนินการ)
  5. การประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท (กำลังดำเนินการ)
  6. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางจิตวิทยากับการวินิจฉัยให้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพและผลการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้เสพยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด (การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถูกบังคับบำบัด, 2555)
  7. ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นผู้ใช้ยาเสพติดแบบพึ่งพาในผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด (การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถูกบังคับบำบัด, 2555)
  8. การศึกษาข้อมูลการตรวจพิสูจน์ทางสังคมในระบบบังคับบำบัดติด (การวิเคราะห์ข้อมูลผู้ถูกบังคับบำบัด, 2555)
  9. ปัจจัยทำนายอาการซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคจิตเภทครั้งแรก (วารสารสภาการพยาบาล: 2012)

 

 
  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,
2 ถนนพรานนก, เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพฯ  10700
© Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
contact webmaster