คณะพยาบาลศาสตร์
 
 
 

การวิจัย

KM ภาควิชาและสำนักงาน
เรื่อง การพัฒนาอาจารย์และการจัดการเรียนการสอน

         ภาควิชาการพยาบาลรากฐานได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาอาจารย์และการจัดการเรียนการสอน ในหัวข้อ "การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ : บทบาทความรับผิดชอบของพยาบาล " เมื่อวันพุธที่ 9 เมษายน 2557 เวลา 12.00-13.30 น. ณ ห้อง 1004 อาคารพระศรีพัชรินทร ชั้น 10 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี อาจารย์ทีปภา แจ่มกระจ่าง เป็นผู้นำกิจกรรม รองศาสตราจารย์สมจินต์ เพชรพันธุ์ศรี เป็นคุณอำนวย และอาจารย์จิรวรรณ มาลา/ รองศาสตราจารย์พัสมณฑ์ คุ้มทวีพร เป็นคุณลิขิต ซึ่งมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ จุดประสงค์เพื่อให้อาจารย์ทั้งภาควิชาฯ ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในบทบาทของพยาบาลตั้งแต่ 1) ความหมาย 2) ข้อบ่งชี้การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ 3) การประเมินผู้ป่วยก่อนให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เข้าใจความต้องการสารน้ำทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย/ ญาติ 4) การวางแผนโดยการเตรียมผู้ป่วย สารน้ำ และอุปกรณ์ 4) วิธีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ความหมาย (Definitions)

การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral intravenous) เป็นแนวทางการรักษาสมดุลของสารน้ำและอิเล็กโตรลัยต์ โดยการให้สารอาหาร พลังงาน หรือให้ยาแก่ผู้ป่วย ผ่านทางอุปกรณ์และชุดให้สารน้ำด้วยวิธีการแทงเข็มเข้าสู่หลอดเลือดดำส่วนปลายโดยใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ

ข้อบ่งชี้การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

  1. ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้ เพื่อรักษาระดับและทดแทน น้ำ เกลือแร่ วิตามิน โปรตีน ไนโตรเจน และพลังงาน
  2. ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลของกรด- ด่าง
  3. ผู้ป่วยที่สูญเสียน้ำและเกลือแร่ปริมาณมากๆ/ ผู้ป่วยมีภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรลัยต์
  4. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับเลือดหรือผ่าตัด
  5. ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยาทางหลอดเลือดดำ

การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

1. การประเมิน (Assessment)

1.1 ตรวจสอบความถูกต้องตามคำสั่งการรักษา (Doctor's order sheet)

1.2 ปฏิบัติตามหลัก 6 Right

1.3 ทักทายผู้ป่วย และแนะนําตนเอง

1.4 ถามชื่อ-นามสกุลผู้ป่วย ตรวจสอบ HN และตรวจสอบป้ายข้อมือกับใบ MAR/ คำสั่งการรักษา

1.5 พยาบาลแจ้งให้ ผู้ป่วยและญาติทราบในเรื่องต่อไปนี้

1) เหตุผลในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
2) วิธีการให้ ตำแหน่ง และระยะเวลาที่ได้รับสารน้ำ
3) การปฏิบัติตัวขณะได้รับสารน้ำ
4) อาการผิดปกติที่ควรสังเกตและแจ้งให้พยาบาลทราบ
5) ให้ความมั่นใจว่าพยาบาลจะดูแลภายหลังการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจ ลดความวิตกกังวลและผู้ป่วยให้ความร่วมมือ รวมทั้ง พูดคุยเปิดโอกาสให้ซักถามข้อข้องใจ สอบถามประสบการณ์ที่เคยได้รับสารน้ำและดูแลผู้ป่วยปฏิบัติกิจส่วนตัวให้เสร็จเรียบร้อยก่อนการให้สารน้ำ

1.6 ประเมินความต้องการ/ความเป็นไปได้ของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ได้แก่

History: previous limited intake, อาการกระหายน้ำ (thirst), abnormal losses, comorbidities.
Clinical examination:
pulse เร็ว, BP สูง, Lung นอนราบไม่ได้ แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย (wheezing, crepitation, ronchi) capillary refill, JVP สูง, oedema peripheral/pulmonary), postural hypotension)
Clinical monitoring:
water intake/ water out put, weight.
Laboratory assessments:
urea, creatinine and electrolytes.

1.7 สอบถามประวัติการแพ้สารน้ำและยาที่ให้ทางหลอดเลือดดำ (Previous experiences, Allergy)

2. การวางแผน (Planning)

2.1 การเตรียมอุปกรณ์

2.1.1 การเตรียมขวดสารน้ำ (IV Container) โดยตรวจสอบชนิดของสารน้ำให้ตรงตามแผนการรักษา ต้องเป็นสารน้ำปราศจากเชื้อตรวจสอบวันหมดอายุ ห้ามใช้สารน้ำที่มีลักษณะ ขุ่น มีตะกอน สีเปลี่ยนแปลง ถุงรั่ว แตก หรือหมดอายุ จากนั้น ติดใบให้สารน้ำข้างขวด/ ถุงสารน้ำไม่ให้ทับชื่อของสารน้ำและตัวเลขบอกปริมาณของสารน้ำที่ข้างขวด เขียนชื่อ นามสกุล HN ของผู้ป่วย ชนิดของสารน้ำ ยาที่ผสม จำนวนหยดที่ให้ วันเวลาที่เริ่มให้และหมดของสารน้ำ ลงชื่อผู้ให้สารน้ำ

2.1.2 การเตรียมอุปกรณ์ในการให้สารน้ำ ได้แก่

  • ชุดให้สารน้ำ (IV Set) • เข็มชนิดพลาสติก (IV Catheter) ขนาด 18 G – 22 G (ในผู้ใหญ่) และขนาด 22 G-24 G (ในเด็ก) สำหรับ continuous fluid infusion ควรใช้ IV catheter No.20 ในผู้ใหญ่ หรือ No.22 ในผู้สูงอายุ และเด็ก (PAD: INFUSION NURSING AN EVIDENCE BASED APPROCH, 2010) สำหรับผู้ป่วยต้องให้เลือดหรือส่งห้องผ่าตัด ให้ใช้ขนาด 20 G เพื่อให้เลือดหรือให้ยาอย่างเร่งด่วน
  • สำลีชุบ 70% Alcohol 2-5 ก้อน
  • สายยางรัดแขน (Touniquet)
  • แผ่นปิดโปร่งใสปลอดเชื้อ (Tegaderm)
  • พลาสเตอร์ (Transpore/ Micropore)
  • แถบสีสำหรับติดชุดให้สารน้ำตามสีของวันที่ครบเปลี่ยน
  • เสาแขวนหรือขอแขวนขวดสารน้ำ
  • เครื่องปรับอัตราการไหล (Infusion pump) กรณีที่ต้องควบคุมการไหลให้ได้อย่างสม่ำเสมอตามกำหนด

2.2 การเตรียมผู้ป่วย นอกจากการบอกให้ผู้ป่วยทราบแล้ว ควรจัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม โดยการจัดท่า supine position เพื่อช่วยให้หลอดเลือดดำจะโป่ง เห็นได้ชัด เนื่องจากเลือดไหลเวียนกลับเข้าสู่หัวใจได้ดี รวมทั้งผู้ป่วยรู้สึกสบายและผ่อนคลาย (INS, 2011)

3. วิธีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ (Implementation)

3.1 ล้างมือแบบ Hygienic hand washing หรือ Alcohol hand rubs ให้สะอาดก่อนการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำทุกครั้ง ในทางปฏิบัติในหอผู้ป่วยนิยมใช้ Herbricide-inhibited scrub และควรสวมถุงมือเพื่อป้องกันการสัมผัสกับเลือดของผู้ป่วย

3.2 เปิดชุดให้สารน้ำ (Administration set) ที่ปราศจากเชื้อต่อกับขวดสารน้ำ (IV Container) ด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) ดังนี้

  • ดึงแผ่นพลาสติกหรือฝาครอบที่ปิดขวดสารน้ำออก เช็ดจุกยางที่ขวด / ถุงสารน้ำด้วยสำลีชุบ Alcohol 70% ระวังการปนเปื้อนขณะแทงชุดให้สารน้ำผ่านเข้าไปในจุกยางที่ขวดสารน้ำ
  • เปิดชุดให้สารน้ำ เลื่อน Roller clamp ลงมาที่ปลายชุดให้สารน้ำ เพื่อไล่อากาศออกจากสาย ปิด clamp ไว้ก่อน ถ้าเป็นชุดให้สารน้ำชนิดควบคุมปริมาตร (Volutone Set) ต้องปิด Clamp ทั้ง 2 ตำแหน่ง จากนั้น นำชุดให้สารน้ำที่ปราศจากเชื้อส่วนปลายแหลม (spike) ต่อกับขวดสารน้ำด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ (Aseptic technique) ด้วยวิธีหมุน (Twisting motion) และดันเข้าไป (Pushing motion) (หรือปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต : manufacturer's directions for insertion)
  • แขวนขวดสารน้ำที่เสาแขวน ให้สูงประมาณ 1 เมตร หรือ 3 ฟุต จากตัวผู้ป่วย
  • บีบกระเปาะชุดให้สารน้ำ (drip chamber) ให้สารน้ำลงมาในกระเปาะประมาณ ½ ของกระเปาะ ปริมาณสารน้ำในกระเปาะไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้ไม่สามารถนับจำนวนหยดของสารน้ำได้ หรือถ้าน้อยเกินไปจะทำให้ฟองอากาศเข้าไปในสาย และอาจหลุดลอยเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะ air embolism
  • เปิด clamp ให้สารน้ำผ่านชุดให้สารน้ำตลอดเต็มสาย เพื่อไล่อากาศออกจากสายและปิดฝาครอบที่ส่วนปลาย (Tip) ไว้ก่อน โดยไม่ต้องนำที่สวมปลอกเข็มของชุดให้สารน้ำ (cap) ออก (คำแนะนำบางบริษัทผู้ผลิตแนะนำให้นำ cap at the end of tubing ออกขณะไล่อากาศแต่ต้องยึดหลักสะอาดปราศเชื้อ) ให้ไล่อากาศจนถึงปลายเข็ม เมื่อไล่อากาศเสร็จแล้ว ให้เลื่อน roller clamp ระยะประมาณ 2 to 5 cm (1 to 2 inches) ใต้ drip chamber และปิดไว้ก่อน

3.3 ตรวจสอบชื่อ-สกุลของผู้ป่วยให้ตรงกับใบให้สารน้ำอีกครั้ง และบอกให้ผู้ป่วยทราบ

3.4 การเลือกขนาดและตำแหน่งหลอดเลือดดำเพื่อให้สารน้ำ (Venipuncture site, common IV Site) ควรเลือกตำแหน่งหลอดเลือดดำที่แขนส่วนปลายก่อน ควรเป็นแขนข้างที่ไม่ถนัด เพื่อให้ผู้ป่วยใช้แขนข้างถนัดทำกิจวัตรได้ สำหรับผู้ป่วยเด็กเล็ก ควรเลือกหลอดเลือดบริเวณศีรษะ คอ และหลังมือ-หลังเท้าขนาดและลักษณะหลอดเลือดดำที่เหมาะสม คือ ตรง ไม่อยู่ตรงตำแหน่งที่ขยับหรือเคลื่อนไหวมาก เช่น ข้อพับ เนื่องจากเสี่ยงที่จะแตกได้ง่าย และไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่มีพยาธิสภาพของร่างกาย วิธีเลือกหลอดเลือดดำประกอบด้วยการดูและใช้นิ้วชี้กด (Index finger pressing downward)

3.4.1 หลอดเลือดดำที่เหมาะสมสำหรับการให้สารน้ำ (Venipuncture site, common IV Site) ได้แก่

  • บริเวณแขน: Cephalic vein, Assessory cephalic vein, Metacarpal และ Basilic vein (INS, 2006)
  • บริเวณหลังมือ (dorsal of the hand): เป็นบริเวณที่ใช้ได้สำหรับผู้ป่วยบางคน เนื่องจากจะเจ็บมาก (I.V. Rounds, 2008) ควรเลือกตำแหน่งที่แทงห่างจากข้อพับไม่น้อยกว่า 2 นิ้วฟุต (5 เซนติเมตร)

3.4.2 ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • บริเวณข้อพับ ปุ่มกระดูก ตำแหน่งที่เป็นโรคผิวหนัง มีบาดแผล หลอดเลือดที่บอบช้ำ และบริเวณที่มีการไหลเวียนไม่สะดวก
  • กรณีผู้สูงอายุไม่ควรให้ตรงตำแหน่งหลอดเลือดส่วนปลาย เนื่องจากหลอดเลือดแข็ง ลิ้นของหลอดเลือดดำอาจเสียหน้าที่ ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายไม่ดีเกิดการอักเสบได้ง่าย
  • หลีกเลี่ยงหลอดเลือดดำที่ขาเนื่องจากหลอดเลือดดำมีลิ้น ทำให้การไหลเวียนเลือดช้า เกิดการอักเสบได้ง่ายเสี่ยงต่อการเกิด embolism และ thrombophlebitis
  • ไม่เลือกบริเวณที่ผ่าตัด

3.5 รัดสายยางรัดแขนเหนือบริเวณที่จะแทงเข็ม (insertion site) แบบเงื่อนกระตุก โดยรัดสายยางรัดแขนเหนือบริเวณที่จะแทงเข็มประมาณ 10-15 เซนติเมตร (4-6 นิ้วฟุต) หรือใช้ BP Cuff inflate ต่ำกว่า normal diastolic pressure (อย่างน้อย 50 mmHg) ปมสายยางควรรัดอยู่ด้านข้าง ไม่ควรอยู่ในแนวหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้เห็นหลอดเลือดดำได้ชัดเจน

3.6 ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะแทงเข็ม โดยเช็ดสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% วนจากด้านในออกไปด้านนอก กว้าง 2 - 4 เซนติเมตร รอแอลกอฮอล์ระเหย แล้วจึงแทงเข็ม โดยไม่สัมผัสตรงจุดบริเวณที่แทงเข็ม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรค

3.7 ตรึงผิวหนังที่จะแทงเข็มด้วยแม่ข้างที่ไม่ถนัด โดยดึงผิวหนังลงต่ำกว่าบริเวณที่จะแทงเข็มประมาณ 4-5 เซนติเมตร (1.5-2 นิ้วฟุต)

3.8 แทงเข็มโดยหันปลายปาด (Bevel) ขึ้นด้านบน แทงเข็มทำมุม 10-30 องศา กับผิวหนัง เมื่อเข็มผ่านผิวหนังให้ลดมุมเข็มลงจนเกือบขนานกับผิวหนัง

3.9 เมื่อเข็มเข้าหลอดเลือดดำ สังเกตได้จากการมีเลือดไหลย้อนออกมาจากเข็ม ให้หยุดแทง และดัน catheter ส่วนที่เป็นพลาสติกเข้าไปในหลอดเลือด ประมาณ ¼ นิ้วฟุต มือข้างที่ไม่ถนัดยังคงจับผิวหนังไว้ พร้อมกับการปลดสายยางรัดแขนออกมาเบา ๆ ระวังการดึงรั้งของผิวหนัง เพื่อป้องกันหลอดเลือดดำที่แทงนั้นแตก ตรึงหัวเข็มให้นิ่งไม่เคลื่อนไปมา ดึงแกนโลหะออก แล้วต่อปลายชุดให้สารน้ำกับหัวเข็มด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ ดูแลให้ข้อต่อต่างๆอยู่ในระบบปิด

3.10 เปิด clamp ให้สารน้ำหยดเข้าไปในหลอดเลือดอย่างช้า ๆ ถ้ามีเลือดออกมาที่บริเวณที่แทงเข็ม ให้เช็ดตำแหน่งที่แทงเข็มและบริเวณรอบ ๆ ด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol อีกครั้งรอจนแห้ง ใช้แผ่นปิดโปร่งใสปลอดเชื้อปิดทับบริเวณที่แทงเข็ม โดยไม่ติดทับส่วนเป็นข้อต่อของสายชุดให้สารน้ำ และม?วนสายชุดให?สารน้ำเป?นวง เพื่อช?วยป?องกันการดึงรั้งและเลื่อนหลุดของcatheter ติดแถบสีหรือบันทึก วัน/เวลา ตรงด้านบนของแผนปิดโปร่งใส เพื่อระบุเวลาที่แทงเข็ม เนื่องจาก catheter จะครบเปลี่ยนหลังการใช้งานนาน 96 ชั่วโมง

3.11 เริ่มให้สารน้ำโดยปรับอัตราและควบคุมอัตราการไหลของสารน้ำตามแผนการรักษา/ อัตราที่เขียนไว้ในใบให้สารน้ำที่ติดอยู่ข้างขวด/ ถุงสารน้ำ

3.12 ตรวจสอบไม่ให้สายชุดให้สารน้ำหักพับงอ

3.13 ติดแผ่นสีวันครบเปลี่ยนชุดสารน้ำ ใต้บริเวณกระเปาะชุดให้สารน้ำ ระยะห่าง 1 นิ้ว โดยเปลี่ยนทุก 72 ชั่วโมง

3.14 บันทึกการให้สารน้ำในบันทึกทางการพยาบาลและใบ MAR

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 

 
หน้าหลัก