โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
การวิจัยทางการศึกษา

โดย รศ.ดร.ยุวดี วัฒนานนท์

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "การวิจัยทางการศึกษา" โดยมี รศ.ดร.ยุวดี วัฒนานนท์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2558 โดยมีสาระดังนี้

การวิจัยทางการศึกษา คือ ระเบียบวิธีการจัดการสืบค้นข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อค้นหาคำตอบของปัญหาวิจัย เกี่ยวกับตัวแปรทางการศึกษา และผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการจัดการการศึกษา

ประเภทของการวิจัย

1. จำแนกตามวัตถุประสงค์การวิจัย

1.1 การวิจัยเชิงพรรณนา ( Descriptive research )
1.2 การวิจัยเชิงอธิบาย ( Explanatory research )

2. จำแนกตามลักษณะของข้อมูล

2.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative Research)
2.2 การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative Research)

รูปแบบการวิจัยทางการศึกษา ที่พบบ่อย

1. การศึกษาเฉพาะกรณี (Case study) ศึกษาข้อเท็จจริง โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะกรณี

2. การศึกษาแบบสำรวจ ( Survey Design )เป็นการสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูล และใช้ข้อมูลในปัจจุบันนั้นมาตีความหมายอธิบายสภาพการณ์ต่าง ๆ

3. การศึกษาเชิงทดลอง ( Experimental Design )การศึกษาความสัมพันธ์ของตัวแปรสาเหตุ กับตัวแปรของผลที่เกิดขึ้น

4. การศึกษาแบบกึ่งทดลอง ( Quasi - Experimental Design) เป็นการวิจัยที่คล้ายกันกับการศึกษาเชิงทดลอง มีความต่างกันที่เป็นการศึกษาโดยไม่มีกลุ่มควบคุม หรือศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่มีการออกแบบการศึกษา ที่แก้ไขความคลาดเคลื่อนไว้ก่อน

ขั้นตอนในการวิจัยทางการศึกษา

1. การเลือกปัญหาการวิจัยที่มีผลกระทบ/สนใจ

2. การศึกษาเกี่ยวกับปัญหาที่จะศึกษา

3. การเลือกรูปแบบวิธีวิจัย

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล

5. การเขียนรายงานผลการวิจัย

นโยบายในการทำวิจัยทางการศึกษาของคณะฯ

มีนโยบายใช้ CIPP Model เป็นหลักในการทำวิจัยทางการศึกษา เนื่องจากในการประเมินผลการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบันนั้น องค์กรที่มาประเมินสถาบัน เช่น สกอ. หรืออื่น ๆ ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่มาจากผลการวิจัยมากที่สุด ที่มาของ CIPP Model

สตัฟเฟิลบีม ( ค.ศ.1971) เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทฤษฏีการประเมินทางการศึกษาจนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในปัจจุบัน เรียกว่า CIPP Model

C = context = บริบทของการเรียนการสอน ได้แก่วิสัยทัศน์ของสถาบัน นโยบายในการผลิตบัณฑิต คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ สภาพห้องเรียน ฯลฯ

I = input = ปัจจัยที่ใส่เข้าไปในการเรียนการสอน ได้แก่หลักสูตร เนื้อหาของวิชาที่ใช้สอน สื่อการสอนต่าง ๆ ฯลฯ

P = process = กระบวนจัดการเรียนการสอน ได้แก่ เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์ การออกแบบการสอน ฯลฯ

P = product = output / outcome = ผลที่เกิดจากการเรียนการสอน หรือผลที่เกิดขึ้นในภายหลัง ได้แก่ ผลการสอบรวบยอด ผลการสอบขอรับใบอนุญาตจากสภาการพยาบาล ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ฯลฯ

 

รายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

รศ. ศิริวรรณ สันทัด
รศ. ยุวดี วัฒนานนท์
ผศ. จรรยา เจริญสุช
ผศ. ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์
ผศ. นิตยา สินสุกใส
ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ
ผศ. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
ผศ . วาสนา จิติมา
ผศ . ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง
อ. อัจฉรา มาศมาลัย
อ. พรทิพย์ คณานับ
อ. ศุภาวดี วายุเหือด
อ. วรรณา พาหุวัฒนกร
อ. จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
อ. รุ่งทิพย์ กาศักดิ์
อ. พุทธิราภรณ์ หังสวนัส
อ. นัยนา แขดกิ่ง
อ. รุ่งนภา รู้ชอบ
อ. นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี
อ. จีรันดา อ่อนเจริญ