โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
การจัดการความรู้ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เรื่อง"Virus Alert EBOLA"

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง"Virus Alert EBOLA"โดยมี อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2557 เวลา 12.30-13.30น.ห้อง 801/1 ชั้น 8 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิด เฉียบพลันรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) ประกอบด้วย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ไอวอรีโคสต์ สายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี สายพันธุ์เรสตัน (Reston) และสายพันธุ์ Bundibugyo โดยสายพันธุ์ซูดาน สายพันธุ์ซาร์อี และสายพันธุ์ Bundibugyo ทำให้เกิด การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในแอฟริกาและ ทำให้มีอัตราป่วยตายประมาณร้อยละ 60-90

โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้อย่างไร

การติดต่อจากคนสู่คน เกิดจากการสัมผัสตรงกับ เลือดที่ติดเชื้อสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลาย ปัสสาวะ อุจจาระ อวัยวะ หรือนํ้าอสุจิ นอกจากนี้ การติดเชื้อ ในโรงพยาบาล ก็พบได้บ่อยผ่านทางเข็มและหลอดฉีดยา ที่ปนเปื้อนเชื้อ และยังพบการแพร่กระจายเชื้ออีโบลา ในพิธีศพได้บ่อย เนื่องจากผู้มาร่วมพิธีศพอาจมีการสัมผัส โดยตรงกับร่างกายของผู้เสียชีวิต

สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลาสู่คนเกิดจาก การสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของสัตว์ป่าที่ติด เชื้อ หรือเกิดขณะจัดการหรือชำแหละสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ตาย เช่น ลิง ค้างคาว

โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทาง ละอองฝอยที่ลอยในอากาศ

žโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา มีอาการอย่างไร

โรคอีโบลาเป็นโรคเฉียบพลันรุนแรงจากเชื้อไวรัส โดยมากมักจะแสดงออกเป็นไข้เฉียบพลัน อ่อนเพลียมาก ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะและเจ็บคอ ตามด้วยอาการ อาเจียน ท้องเสีย ผื่นผิวหนัง ไตและตับทํางานบกพร่อง และในบางรายจะพบการตกเลือดทั้งภายในและภายนอก และเสียชีวิต

ผู้ป่วยจะยังอยู่ในระยะติดต่อ คือ ยังสามารถ แพร่เชื้อได้ตราบเท่าที่เลือดและสิ่งคัดหลั่งของตนยังมี เชื้อไวรัส

ระยะฟักตัวของโรค ซึ่งหมายถึงระยะเวลานับจาก การเริ่มติดเชื้อไวรัสจนถึงเมื่อเริ่มแสดงอาการ ได้แก่ 2ถึง 21วัน

วัคซีนและการรักษา

ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคอีโบลา และยารักษา จำเพาะ ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงจําเป็นต้องได้รับการดูแล รักษาแบบประคับประคองอย่างเข้มงวด ผู้ป่วยมักจะมี อาการขาดนํ้าบ่อยๆ จึงจําเป็นต้องได้สารละลายเกลือแร่ เพื่อแก้ไขอาการขาดนํ้าโดยอาจให้ทางปาก หรือทาง เส้นเลือด

อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ ผู้ถอดบทเรียน
 
รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้
1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด
2. รศ. ยุวดี วัฒนานนท์
3. ผศ. ทัศนีย์วรรณ พฤกษาเมธานันท์
4. ผศ . นิตยา สินสุกใส
5. ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ
6. ผศ . วาสนา จิติมา
7. ผศ. จรรยา เจริญสุข
8. ผศ . ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง
9. อ.ศุภาวดี วายุเหือด
10. อ.ฤดี ปุงบางกะดี่
11. อ.รุ่งทิพย์ กาศักดิ์
12. อ.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส
13. อ.กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
14. อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
15.อ.อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
16.อ.จีรันดา อ่อนเจริญ
17.อ.รุ่งนภา รู้ชอบ
18.อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี