โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร
การจัดการความรู้ภาควิชา การพยาบาลสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เรื่อง "ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี"

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง"ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี"โดยมี อ.ดร.ทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 12.30-13.30น.ห้อง 711 ชั้น 7 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี FACTORS ASSOCIATED WITH THE RETENTION IN CARE AFTER DELIVERY AMONG THAI MOTHERS WITH HIV

การวิจัยครั้งนี้เป็นเป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำรวจความชุกของการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ เพื่อทดสอบปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอดบุตรของมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ มารดาติดเชื้อเอชไอวีที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลศิริราชระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 185 ราย โดยเก็บข้อมูลที่หน่วยตรวจโรคติดเชื้อทางนรีเวชและเพศสัมพันธ์สตรี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และหน่วยตรวจโรคเอชไอวี ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน ร.พ. ศิริราช ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557 ถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามและสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติก

ผลการวิจัยพบว่า 77.3% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกเอชไอวี ขณะที่ 46.5% ของแม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีคงอยู่ในการดูแลสุขภาพที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เหตุผลสำคัญ 5 อันดับแรกที่มารดาติดเชื้อเอชไอวีไม่สามารถคงอยู่ในการดูแลสุขภาพ ได้แก่ความไม่สะดวก การไม่ได้ฝากครรภ์ ขาดความรู้เกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล แพทย์ไม่ได้มีนัดตรวจ และไม่เปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี เมื่อวิเคราะห์ถดถอยลอจิสติกพบว่า ปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกเอชไอวีได้แก่ หลักประกันทางสุขภาพ (OR=46.32, 95%CI = 9.86-217.71, p<.001) การส่งต่อ (OR=8.90, 95%CI = 2.44-32.44, p<.01) และการรับรู้สภาวะสุขภาพ (OR = 1.50, 95% CI = 1.04-2.17, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสามร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ 80และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 93ปัจจัยที่สามารถทำนายการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพของมารดาที่คลินิกสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คือ การส่งต่อ (OR=39.85, 95%CI = 14.89-106.65, p<.001) และการเปิดเผยการติดเชื้อเอชไอวี (OR=2.46, 95%CI = 1.04-5.80, p<.05) โดยปัจจัยทั้งสองร่วมกันอธิบายโอกาสในการคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ร้อยละ14 และสามารถพยากรณ์การคงอยู่ในการดูแลสุขภาพได้ถูกต้องร้อยละ 63.2

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย ผู้ให้การดูแลสุขภาพควรจัดให้มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ไปยังสถานบริการพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ และปรับปรุงบริการของสิทธิประโยชน์ชนิดต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยโดยรวมอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังควรจัดให้มีหลักสูตรอบรมเพิ่มความรู้และแนวทางปฏิบัติในการเปิดเผยตนเองให้กับผู้ป่วย นอกจากนี้ผู้กำหนดนโยบายทางสุขภาพ ควรให้โอกาสผู้ป่วยทั้งในรายที่รับรู้ว่ามีสุขภาพดีและสุขภาพไม่ดีเข้ารับการติดตามโรคแบบเท่าเทียมกัน

รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด
2. ผศ. กันยรักษ์ เงยเจริญ
3. ผศ.จรรยา เจริญสุช
4. ผศ . วาสนา จิติมา
5. อ . อัจฉรา มาศมาลัย
6. อ. พรทิพย์ คณานับ
7. อ.ศุภาวดี วายุเหือด
8. อ.ฤดี ปุงบางกะดี่
9. อ.รุ่งทิพย์ กาศักดิ์
10. อ.พุทธิราภรณ์ หังสวนัส
11. อ.นัยนา แขดกิ่ง
12. อ.รุ่งนภา รู้ชอบ
13. อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี
14. อ.จีรันดา อ่อนเจริญ
15. อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
16. อ.ทิวาภรณ์ เฉลิมพิชัย
17. อ.มนัสวีร์ ศรีมรกต
18. อ.สุพิญ์ฌานันท์ บางสุวรรณ