โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
เรื่อง การตรวจครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาล

อาจารย์จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ วิทยากรและผู้ลิขิต

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การตรวจครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาล โดยมี อาจารย์จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 เวลา 15.00-16.00 น. ห้องประชุม 1103/1-2  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาครั้งนี้ เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์ และคะแนนทักษะการตรวจครรภ์ ระหว่างนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการสอนสาธิตการตรวจครรภ์กับหุ่นจำลอง และกลุ่มที่ศึกษาจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์ และศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของนักศึกษากลุ่มที่ศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์

กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 60 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มควบคุมจำนวน 28 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้เรื่องการตรวจครรภ์ แบบประเมินทักษะการตรวจครรภ์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบที

ผลการวิจัย
1 .ข้อมูลส่วนบุคคล

กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาทั้งหมดเป็นเพศหญิง และทุกคนมีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่หอพัก คิดเป็นร้อยละ 99 ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมทุกรายวิชา (GPA) อยู่ในช่วงเกรด 2.50 – 2.99 มากที่สุด ร้อยละ 65.62 จำนวนครั้งในการศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เฉลี่ย 1.50 ครั้ง และใช้เวลาเฉลี่ย 1.23 ชั่วโมงต่อครั้ง

2. ความรู้เรื่องการตรวจครรภ์
กลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 57.14 รองลงมามีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 42.86

กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 87.50 รองลงมามีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 12.50 ดังแสดงตารางที่ 1

กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ดังแสดงตารางที่ 2

3. ทักษะการตรวจครรภ์ 
          กลุ่มควบคุมมีคะแนนทักษะการตรวจครรภ์อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 53.57 รองลงมามีคะแนนทักษะการตรวจครรภ์อยู่ในระดับดีและควรปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 42.85 และ 3.58 ตามลำดับ
          กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการตรวจครรภ์อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 81.25 รองลงมามีคะแนนทักษะการตรวจครรภ์อยู่ในระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 18.75 ดังแสดงตารางที่ 3

กลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการตรวจครรภ์หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ดังแสดงตารางที่ 4

4. ความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์
ในภาพรวมกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจในการใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ในระดับมากที่สุด (=4.68) และเมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อแบบฝึกหัดท้ายบททำให้เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้น มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด (=4.79) รองลงมาคือความเหมาะสมของสีที่ใช้ในการออกแบบจอภาพ และสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น (=4.75)
จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ อาจารย์ที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ความสนใจ เรื่องผลการศึกษา และ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์ มีข้อเสนอแนะเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ 1 ต่อไป

การนำองค์ความรู้ไปใช้
ในการประชุมการจัดการเรียนการสอน วิชา ปฏิบัติการพยาบาล มารดาทารก และการผดุงครรภ์ 1 เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2557 เวลา 9.00-9.30 น. ณ ห้อง801/1  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์รุ่งทิพย์ กาศักดิ์ หัวหน้าวิชา ได้นำองค์ความรู้จากการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง“ ผลของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการตรวจครรภ์ ต่อความรู้ ทักษะการตรวจครรภ์ ของนักศึกษาพยาบาล” ได้แก่กลุ่มที่ศึกษาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการตรวจครรภ์ มีคะแนนความรู้เรื่องการตรวจครรภ์หลังเรียนและคะแนนทักษะการตรวจครรภ์ หลังเรียนสูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยการสาธิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจต่อการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด
ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในหน่วยฝากครรภ์ ปีการศึกษา 2557 ต่อไป

ผู้ติดตามผลการนำองค์ความรู้ไปใช้           อาจารย์จิตต์ระพี บูรณศักดิ์

 

 

อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
เป็นผู้ถอดบทเรียน

รายชื่ออาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม

รศ. ศิริวรรณ สันทัด 
รศ . นันทนา ธนาโนวรรณ
ผศ . นิตยา  สินสุกใส
ผศ .  ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
ผศ . ปิยะนันท์  ลิมเรืองรอง
อ. พรทิพย์ คณานับ
อ.วรรณา พาหุวัฒนกร
อ.รุ่งทิพย์  กาศักดิ์
อ.กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
อ.อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
อ.จีรันดา อ่อนเจริญ
รศ . ยุวดี  วัฒนานนท์
ผศ . ทัศนีย์วรรณ  พฤกษาเมธานันท์
ผศ. กันยรักษ์   เงยเจริญ
ผศ . วาสนา จิติมา
อ . อัจฉรา มาศมาลัย
อ.ศุภาวดี วายุเหือด
อ.ฤดี ปุงบางกะดี่
อ.พุทธิราภรณ์  หังสวนัส
อ.รุ่งนภา รู้ชอบ
อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
อ.นรินทร์ทิพย์ อนันตกุลนธี