โฮมเพจคณะฯ

มหาวิทยาลัย
มหิดล

สถานที่
ติดต่อ

 

สถานที่ติดต่อ

 

 

 

 

 

 

 

  ขนาดตัวอักษร

การจัดการความรู้

วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับบุตรสาวและความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของวัยรุ่นหญิงไทยที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3”

คณะกรรมการพัฒนาอาจารย์และการจัดการความรู้ ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวิทยานิพนธ์ เรื่อง “การสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับบุตรสาวและความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของวัยรุ่นหญิงไทยที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3”โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรรยา เจริญสุข อาจารย์ประจำของภาควิชาฯ เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2556 เวลา 12.30 – 13.30 น.  ห้อง 801/1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการสื่อสารของผู้ปกครองกับบุตรสาว ความเชื่อเรื่องการละเว้นเพศสัมพันธ์ ความเชื่อต่อบรรทัดฐานทางสังคมและความเชื่อเรื่องความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการละเว้นเพศสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของวัยรุ่นหญิงไทยที่อายุ 12-16 ปี และกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การขยายทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรม ซึ่งเพิ่มตัวแปรการสื่อสารระหว่างพ่อแม่/ผู้ปกครองกับบุตรสาวเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสุ่มตามลำดับชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 523 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบประเมินตนเอง จำนวน 3 ชุด ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับบุตรสาวเรื่องการละเว้นเพศสัมพันธ์ และแบบสอบถามการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน หลังจากคัดเลือกแบบสอบถามที่ตอบคำถามไม่ครบถ้วน และตัดกลุ่มตัวอย่างที่เคยมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนออก พบว่ามีจำนวนแบบสอบถามที่สมบูรณ์ทั้งสิ้น 470 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติขั้นพื้นฐาน และการวิเคราะห์อิทธิพล

 ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสุดท้ายที่ปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

โดยสามารถทำนายความผันแปรของความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนได้ ร้อยละ 33 ความเชื่อเรื่องความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม ทำนายความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ได้มากที่สุด ทั้งนี้พบว่าการสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับบุตรสาว มีอิทธิพลโดยอ้อมทางบวกต่อความตั้งใจละเว้นเพศสัมพันธ์ผ่านความเชื่อต่อการละเว้นเพศสัมพันธ์  ความเชื่อต่อบรรทัดฐานทางสังคมและความเชื่อเรื่องความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม  ( β =0.20 , p<.001 ) และตัวแปรส่งผ่านทั้งสามนี้มีอิทธิพลโดยตรงทางบวกต่อความตั้งใจในการละเว้นเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของวัยรุ่นหญิงไทยตอนต้นและตอนกลาง ( β = 0.25 , p < .001 , β = 0.27 , p < .001 และ β =0.41 , p <.001 ตามลำดับ )

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

ผลการศึกษาครั้งนี้ บ่งชี้ว่ารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ศึกษาอธิบายความตั้งใจละเว้นเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนของวัยรุ่นหญิงได้  ซึ่งความรู้นี้จะนำไปสู่การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเพื่อละเว้นเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย นอกจากนี้ยังพบว่าความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุมตนเอง มีอิทธิพลต่อความตั้งใจละเว้นเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนมากที่สุด ดังนั้นโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมดังกล่าว ควรเน้นให้วัยรุ่นหญิงเกิดความมั่นใจและเชื่อว่าตนเองสามารถควบคุมตนเองให้ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนได้

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้อาจารย์ที่เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ให้ความสนใจ เรื่องความสำคัญของการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน และมีข้อเสนอแนะเรื่องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในภาควิชาฯต่อไป

อ.จิตต์ระพี บูรณศักดิ์ เป็นผู้ถอดบทเรียน

รายชื่ออาจารย์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. รศ. ศิริวรรณ สันทัด
  2. รศ. ยุวดี  วัฒนานนท์
  3. ผศ. ทัศนีย์วรรณ  พฤกษาเมธานันท์
  4. ผศ. นิตยา  สินสุกใส
  5. ผศ. กันยรักษ์   เงยเจริญ
  6. ผศ. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ
  7. ผศ. วาสนา จิติมา
  8. ผศ. ปิยะนันท์  ลิมเรืองรอง
  9. อ. อัจฉรา มาศมาลัย
  10. อ. พรทิพย์ คณานับ
  11. อ. ศุภาวดี วายุเหือด
  12. อ. วรรณา พาหุวัฒนกร
  13. อ. ฤดี ปุงบางกะดี่
  14. อ. รุ่งทิพย์  กาศักดิ์
  15. อ .พุทธิราภรณ์  หังสวนัส
  16. อ. กุลธิดา หัตถกิจพานิชกุล
  17. อ. จารุพร เพชรอยู่
  18. อ. อรวรรณ พินิจเลิศสกุล
  19. อ. จิตต์ระพี บูรณศักดิ์
  20. อ. จีรันดา อ่อนเจริญ