Breastfeeding in emergencies
รองศาสตราจารย์ กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์

           ในภาวะฉุกเฉินทารกและเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีภาวะเสี่ยงต่อการตายสูงกว่ากลุ่มอื่น ทารกที่ไม่ได้กินนมแม่จะมีภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรสนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่ต่อไป มีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับการลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภาวะฉุกเฉิน ได้แก่ ภาวะเครียด หรือแม่ขาดอาหารแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมให้ลูกได้เพียงพอ แม่ที่หยุดให้นมแม่แล้วไม่สามารถกลับมาให้นมแม่ใหม่ได้ ไม่จำเป็นต้องดูแลแม่ที่ให้นมลูกเพิ่มขึ้น และมีความจำเป็นจะต้องให้อาหารทดแทนแก่ทารกในภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องอธิบายให้แม่เข้าใจให้ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้แม่หยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือหันไปใช้อาหารอื่นทดแทน

         ข้อปฏิบัติในการปกป้อง ส่งเสริม สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภาวะภัยพิบัติ คือ

  • ต้องมีนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในระดับชาติ
  • มีการฝึกอรบรมเจ้าหน้าและอาสาสมัครในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือแม่
  • จัดพื้นที่พิเศษในสถานพักพิงให้เป็นมุมนมแม่ จัดอาหารและน้ำดื่มให้แม่อย่างเพียงพอ
  • ให้ข้อมูลและสร้างความมั่นใจให้กับแม่ว่าการให้นมแม่ดีที่สุด และอันตรายจากการให้ลูกกินนมผง
  • ถ้าแม่ลูกต้องแยกจากกันให้แม่บีบน้ำนมจากเต้าบ่อยๆเพื่อคงไว้ซึ่งการผลิตน้ำนมอย่างต่อเนื่องและป้องกันเต้านมคัด
  • หลีกเลี่ยงการรับบริจาคนมผสม หากจำเป็นต้องมีระเบียบในการควบคุมและการแจกนมผงให้แก่แม่
 
 
Copyright © 2021 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved. 
Webmaster:
 nswww@mahidol.ac.th