Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

  • หลักสูตร
  • การรับสมัคร

ติดต่อสอบถาม

งานบริการการศึกษา
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

Tel: 0-2419-7466-80
       ต่อ 1505, 1506

ontact@domain.com

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
Program of Nursing Specialty in Oncology Nursing

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
ภาษาอังกฤษ: Program of Nursing Specialty in Oncology Nursing

ชื่อประกาศนียบัตร

ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
  Certificate of Nursing Specialty in Oncology Nursing

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช

หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญของโลกและของประเทศไทย เพราะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นของคนทั่วโลกและเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของประชากรไทยตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา และปัญหายังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากสถิติองค์การอนามัยโลกปี พ.ศ. 2566 โดย International Agency for Research on Cancer: IARC พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 20 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 9.7 ล้านคน ทั้งนี้ WHO คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่สูงถึง 53.5 ล้านคน ภายใน 5 ปี โดยผู้ป่วยเหล่านี้จำนวนมากกว่าครึ่งอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย สอดคล้องกับสถิติโรคมะเร็ง จากข้อมูลสถิติทะเบียนมะเร็งประเทศไทย (Thai Cancer Registry) ในปี 2565 โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 140,00 คน หรือประมาณ 400 คน/วัน อย่างไรก็ดี ความรู้จากการศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า มากกว่า 1 ใน 3 ของมะเร็งที่พบบ่อยสามารถป้องกันได้โดยการมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่เหมาะสม และอีก 1 ใน 3 สามารถรักษาได้ หากมีการตรวจวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม ประมาณ 2 ใน 3 ของสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งมีความสัมพันธ์กับบุหรี่ อาหาร โรคอ้วน การขาดการออกกำลังกาย มลพิษจากการประกอบอาชีพ และจากสิ่งแวดล้อม

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษาทางการพยาบาล มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาในหลักสูตรการพยาบาลวิชาชีพระดับต่างๆ รวมถึงการพยาบาลเฉพาะทาง ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญและสมรรถนะหลักเฉพาะในการให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีคุณภาพ จึงจัดการศึกษาอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพของประชากรในประเทศและตอบรับนโยบายระดับชาติในการจัดแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service plan) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาแบบยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

วัตถุประสงค์ทั่วไป

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ ในระบบสุขภาพ และนโยบายสุขภาพ รวมทั้งการจัดการข้อมูลทางคลินิก ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง สามารถประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งและการตัดสินทางคลินิกได้ เข้าใจโรคมะเร็งและผลกระทบที่เกิดจากโรค กระบวนการรักษา และให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด เคมีบำบัด ยามุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัด รังสีรักษาบำบัด และผู้ดูแลรวมทั้งการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้อย่างมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์เฉพาะ

ภายหลังสำเร็จการศึกษาอบรม ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมสามารถ

  1. วิเคราะห์อุบัติการณ์ สถานการณ์ สาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม และกระบวนการของการเกิดโรคของมะเร็งที่พบบ่อยในประชากรไทยได้ รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของโรคมะเร็งต่อ กาย จิต สังคม เศรษฐกิจของผู้ป่วยและครอบครัวได้
  2. อธิบายแนวคิดและแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งในประชากรไทยได้
  3. อธิบายแนวทางการวินิจฉัย วิธีการรักษา และการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยมะเร็งได้
  4. วิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา วางแผน และปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมสำหรับผู้ป่วยมะเร็งได้
  5. ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัวเพื่อตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาโรคมะเร็งได้
  6. บริหารยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัดได้
  7. จัดการอาการปวดเรื้อรังและอาการอื่นๆ จากโรคมะเร็งได้
  8. จัดการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับรังสีและรังสีร่วมรักษาและไอโซโทปได้
  9. ให้การดูแลแบบประคับประคองทั้งในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรม เคมีบำบัด รังสีและรังสีร่วมรักษาได้
  10. ร่วมมือประสานงานกับบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระบบการดูแล เพื่อแก้ปัญหาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  11. พัฒนาระบบบันทึกข้อมูลทะเบียนมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ (tumor registry) และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อการวางแผนด้านกำลังคน และการกำหนดนโยบายได้
  12. พัฒนาระบบประเมินและพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 18 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้    
      ภาคทฤษฎี 12 หน่วยกิต
      (1 หน่วยกิต = 15 ชั่วโมง)     
      (สอนในชั้นเรียน 10 หน่วยกิต = 150 ชั่วโมง และสอนห้องปฏิบัติการ 2 หน่วยกิต = 60 ชั่วโมง)
      ภาคปฏิบัติ   6 หน่วยกิต
      (1 หน่วยกิต = 60 ชั่วโมง) รวม 360 ชั่วโมง

ภาคทฤษฎี

จำนวน   12   หน่วยกิต    5  รายวิชา

วิชาแกน
จำนวน  2  หน่วยกิต (1 รายวิชา)
พยคร 627 วิชานโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ 2 (2-0-4)
NSID  627    Health Policy and Leadership
วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา
จำนวน 10 หน่วยกิต (4 รายวิชา)
พยคร 512 การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและการตัดสินทางคลินิก   2 (1-2-3)
NSID 512 Advanced Health Assessment and Clinical Judgment
พยคร 513 แนวคิดหลักในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง 3 (3-0-6)
NSID 513 Principles of Care in Patients with Cancer
พยคร 514 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด 3 (2-2-5)
NSID 514 Nursing for Cancer Patients Receiving Chemotherapy
พยคร 515 การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม 2 (2-0-4)
NSID 515 Nursing for Patients with Advanced Cancer

ภาคปฏิบัติ

จำนวน 6 หน่วยกิต 3 รายวิชา

พยคร 595 ทักษะเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 3 (0-12-3)
NSID 595 Specific Nursing Skills in Oncology Care
พยคร 596 ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม 2 (0-8-2)
NSID 596 Nursing Practicum for Patients with Advanced Cancer
พยคร 516 การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ 1 (0-4-1)
NSID 516 Data Management and Informatics

รายละเอียดรายวิชา

พยคร 627
NSID  627
นโยบายสุขภาพกับภาวะผู้นำ
Health Policy and Leadership
2 (2-0-4) หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

นโยบายสุขภาพ ปัญหาและแผนพัฒนากำลังคนทางการพยาบาล กฎหมาย ข้อกำหนด และประเด็นจริยธรรมในระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์สุขภาพและค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ การพัฒนาคุณภาพในระบบสุขภาพ ทฤษฎีและการพัฒนาสมรรถนะผู้นำ

พยคร 512
NSID 512
การประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูงและและการตัดสินทางคลินิก
Advanced Health Assessment and Clinical Judgment
2 (1-2-3)   หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิด หลักการ การประเมินภาวะสุขภาพแบบองค์รวม การสร้างสัมพันธภาพและทักษะการสื่อสารในการประเมินและตัดสินปัญหาสุขภาพ การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง การประเมินอาการและอาการแสดงของโรคมะเร็ง การแปลผลการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ การประเมินภาวะสุขภาพแบบบูรณาการโรคมะเร็ง การประเมินด้านจิตสังคม สิ่งสนับสนุน และสิ่งแวดล้อมที่บ้านและในชุมชน การประเมินผู้ดูแล การบันทึกข้อมูลทางการพยาบาล

พยคร 513
NSID 513
แนวคิดหลักในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
Principles of Care in Patients with Cancer
3 (3-0-6)  หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

หลักการและแนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งและการค้นหามะเร็งระยะเริ่มต้น การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบบ่อย การพยาบาลตามมาตรฐานการรักษาโรคมะเร็ง อาการและการจัดการกับอาการโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา การจัดการทางด้านอารมณ์ จิตสังคม คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยมะเร็งระยะรอดชีวิตและการฟื้นฟูสภาพ ประเด็นผู้ดูแลและครอบครัว

พยคร 514
NSID 514
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Nursing for Cancer Patients Receiving Chemotherapy
3 (2-2-5) หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

แนวคิดหลักในการบริหารยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัด จลนศาสตร์และพลศาสตร์ของยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัด หลักการบริหารยา การประเมินและการจัดการผลที่เกิดจากยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้าและภูมิคุ้มกันบำบัด การให้คำปรึกษา สนับสนุนการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลต่อเนื่อง การจัดการผลลัพธ์ทางการพยาบาล

พยคร 515
NSID 515
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม
Nursing for Patients with Advanced Cancer
2 (2-0-4) หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ลักษณะผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม การประเมินและการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามและระยะประคับประคอง การจัดการอาการปวดและปัญหาเฉพาะ ความก้าวหน้าในการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาพยาบาลภาวะฉุกเฉินด้านโรคมะเร็ง การดูแลแบบประคับประคองและการดูแลระยะท้ายของชีวิต การสื่อสารในผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มพิเศษ

พยคร 595
NSID 595
ทักษะเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
Specific Nursing Skills in Oncology Care
3 (0-12-3)   หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ฝึกทักษะเฉพาะการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว จัดการอาการโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา ฟื้นฟูสภาพทางร่างกายและจิตสังคมหลังการรักษา และเสริมพลังผู้ป่วย ผู้ดูแลและครอบครัว ให้คำปรึกษา และการรักษาพยาบาล บนพื้นฐานกฎหมายและจริยธรรม

พยคร 596
NSID 596
ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในระยะลุกลาม
Nursing Practicum for Patients with Advanced Cancer
2 (0-8-2)   หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม และระยะสุดท้ายของชีวิต ดูแลต่อเนื่อง จัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน เตรียมผู้ดูแลและครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยระยะลุกลาม ประสานงานกับทีมสุขภาพและแหล่งสนับสนุนในชุมชน จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะลุกลามและระยะสุดท้าย บนพื้นฐานของ กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยคร 516
NSID 516
การจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
Data Management and Informatics
1(0-4-1) หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

ปฏิบัติการกำหนดชุดข้อมูลที่มีความไวและเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง การสร้างพจนานุกรมข้อมูลและแฟ้มข้อมูลขนาดเล็กโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูล การใช้สถิติอย่างง่ายในการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ความผันแปรเพื่อกำหนดแนวทางการพยาบาลและการพัฒนาคุณภาพ

ระยะเวลาการศึกษาอบรม

( ✔ ) จัดการศึกษาอบรมเต็มเวลา 18 สัปดาห์

( ✔ ) จัดการศึกษาอบรมเป็นโมดูล (Module)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

คุณสมบัติทั่วไป

  • เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
  • ไม่เป็นโรคหรือมีสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาอบรม
  • มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นๆ แบบเต็มเวลา ได้รับการอนุมัติแบบเข้ารับการศึกษาอบรมเป็นโมดูล (Module)

คุณสมบัติเฉพาะ

  • เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ได้รับประกาศนียบัตรหรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น 1 ที่ไม่หมดอายุจากสภาการพยาบาล
  • เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
  • ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก

หมายเหตุ:   กรณีอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก


เกณฑ์การประเมินผลและการสำเร็จการศึกษา

การประเมินผล ในรายวิชาภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ

ภาคทฤษฎี ประเมินผลจาก

  • การสอบข้อเขียน
  • การสาธิตย้อนกลับ
  • การสอบภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการพยาบาล (Learning Resource Center: LRC)
  • การสัมมนา (การนำสัมมนา และการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในสัมมนา)
  • การทำรายงาน

ภาคปฏิบัติ ประเมินผลจาก

  • การฝึกปฏิบัติการพยาบาล
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ทางคลินิก
  • การวิเคราะห์ระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
  • การทำ Case conference (การนำเสนอ และการมีส่วนร่วมในการอภิปราย/ให้ข้อเสนอแนะ)
  • การทำรายงาน Concept mapping, Nursing care plan
  • การประสานการดูแลผู้ป่วยในระบบการดูแลต่อเนื่องและการวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง
  • การพัฒนาฐานข้อมูลและการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ
  • การศึกษาดูงานใน/นอกสถานที่

 

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th