Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

  • หลักสูตร
  • การรับสมัคร

ติดต่อสอบถาม

งานบริการการศึกษา
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง

Tel: 0-2419-7466-80
       ต่อ 1505, 1506

ontact@domain.com

หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)
(หลักสูตร ๒ เดือนหลังพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต)

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
ภาษาอังกฤษ: Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)

ชื่อประกาศนียบัตร

ชื่อเต็ม: ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
  Certificate in Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)
ชื่อย่อ: ป.เวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
  Cert. in Nurse Practitioner

หลักการและเหตุผล

นโยบายสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิที่เข้มแข็ง เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถได้รับบริการพื้นฐานให้ทั่วถึงและเข้าถึง (Accessibility) เพียงพอ (Sufficiency) และเท่าเทียม (Equity & Equality) มีคุณภาพ ปลอดภัย และประสิทธิภาพ (Quality, Safety and Effectiveness) ตามกรอบการให้บริการพื้นฐาน ได้แก่ การส่งเสริมศักยภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้สามารถดูแลตนเองให้มีสุขภาพดี สามารถดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยได้ สามารถตัดสินใจแสวงหาความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ

ผลจากการประกาศใช้นโยบายดังกล่าว หลายภาคส่วนได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการ สุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยมีเป้าหมายชัดเจนมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๒ ที่คาดการณ์ไว้ว่าต้องขยายหน่วยบริการปฐมภูมิทั่วประเทศ ถึง ๖,๕๐๐ แห่ง และมีความต้องการของพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการอบรมความรู้ด้านเวชปฏิบัติมากถึง ๑๓,๐๐๐ คน ดังนั้นการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยาบาลวิชาชีพ ให้มีศักยภาพในการประเมินภาวะสุขภาพ การคัดกรองโรค การรักษาโรคเบื้องต้น การช่วยเหลือในระยะฉุกเฉิน การส่งต่อเพื่อรับการรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการ

พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรทีมสุขภาพที่มีบทบาทสำคัญในการจัดบริการสุขภาพ ณ หน่วยบริการ สุขภาพระดับปฐมภูมิ โดยรับผิดชอบดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคเบื้องต้น และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยใช้แนวคิดการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ( Continuity of care ) รวมทั้งการจัดการสุขภาพ ( Health management) และเชื่อมโยงบริการระหว่างสถาบัน สถานบริการระดับต่างๆ องค์กร ครอบครัวและชุมชน (Networking ) ภายใต้กรอบ พรบ.การพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยกำหนดให้การประกอบวิชาชีพการพยาบาล สามารถครอบคลุมการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรคได้ และกำหนดให้การรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค เป็นสาขาหนึ่งของการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๕ ประกอบด้วยมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ พ.ศ. ๒๕๒๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐ และระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดในการรักษาโรคเบื้องต้น และการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. ๒๕๔๕ ระบุไว้ว่า ผู้มีสิทธิกระทำการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตามระเบียบนี้ ต้องได้รับการศึกษา/ ฝึกอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด และต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป ( การรักษาโรคเบื้องต้น) ตามข้อบังคับของสภาการพยาบาลว่าด้วยเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์

อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่า ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยยังเป็นการเจ็บป่วยที่เกิด จากพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้มีผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ภาวะฉุกเฉิน และกลุ่มเปราะบางเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริการสุขภาพ และการจัดการสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โดยจัดการศึกษาฝึกอบรมเฉพาะทาง สาขาเวชปฏิบัติทั่วไปให้กับพยาบาลให้มีความรู้ และสมรรถนะในการ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์นวัตกรรม ออกแบบการจัดการสุขภาพให้กับผู้รับบริการและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยผ่านกระบวนการศึกษารายวิชาในหลักสูตรครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการประเมินภาวะสุขภาพ การส่งเสริม ป้องกัน การรักษาโรคขั้นต้น การดูแลต่อเนื่องในผู้ที่มีภาวะฉุกเฉินและเรื้อรังในกลุ่มเฉพาะต่างๆ ถือเป็นการพัฒนาคุณภาพการบริการ และเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพให้กับผู้รับบริการได้อย่างสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยรวมของประชาชน สอดคล้องกับเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูประบบสุขภาพ

ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีพันธกิจหลักที่ สำคัญในด้านการจัดการศึกษาสำหรับนักศึกษาในสาขาพยาบาลศาสตร์ ทั้งในระดับพยาบาลศาสตรบัณฑิต พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเวชปฏิบัติชุมชน และการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป เพื่อการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้มีศักยภาพในการประเมินภาวะสุขภาพ การคัดกรองโรค การรักษาโรคเบื้องต้น การช่วยเหลือในระยะฉุกเฉิน การส่งต่อเพื่อรับการรักษา ตลอดจนการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องที่บ้านและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นเพื่อเป็นการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้สอดคล้องกับระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพการพยาบาลตามข้อกำหนดการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. ๒๕๔๖ และ นโยบายของสภาการพยาบาลในการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้มีสมรรถนะในการประกอบวิชาชีพได้เต็มศักยภาพตามเอกสิทธิแห่งวิชาชีพ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงกำหนดจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) หลักสูตร ๒ เดือน สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ พยาบาลผู้ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญทางการพยาบาลและผดุงครรภ์สาขาวิชาต่างๆ ตลอดจนอาจารย์พยาบาล เพื่อเป็นการพัฒนาต่อยอดความรู้และเพิ่มเติมทักษะด้านการรักษาโรคเบื้องต้นอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑) ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการ วินิจฉัยโรค ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังและฉุกเฉิน การรักษาโรคเบื้องต้น การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาล
๒) วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้ารับการศึกษาอบรม มีความรู้ความสามารถดังนี้
  ๒.๑) ประเมินภาวะสุขภาพขั้นสูง และระบุแนวทางการรักษาโรคเบื้องต้นตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาลได้
  ๒.๒) ใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลตามข้อกำหนดของสภาการพยาบาล
  ๒.๓) จัดการการดูแล (Care management) ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยระยะท้าย ในกลุ่มที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง
  ๒.๔) สร้างสัมพันธภาพกับผู้รับบริการ เคารพในสิทธิ์ของผู้รับบริการบนพื้นฐานตามขอบเขตของกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพได้

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ๗ หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้    
      ภาคทฤษฎี ๓ หน่วยกิต
      (๑ หน่วยกิต = ๑๕ ชั่วโมง)     
      ภาคปฏิบัติ   ๔ หน่วยกิต
      (๑ หน่วยกิต = ๖๐ ชั่วโมง)

a (b-c-d) โดยที่  a หมายถึง   จำนวนหน่วยกิตรวมทั้งหมด
                        b หมายถึง จำนวนชั่วโมงสอนทฤษฎี ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
                        c หมายถึง จำนวนการฝึกปฏิบัติโดยกำหนด
                               - การฝึกในห้องปฏิบัติการโดย ๒ ชั่วโมง/สัปดาห์ เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
                               - การฝึกปฏิบัติในหน่วยฝึกปฏิบัติโดย ๔ ชั่วโมง/สัปดาห์ เท่ากับ ๑ หน่วยกิต
                        d หมายถึงจำนวนชั่วโมงการศึกษาด้วยตนเองโดย ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์ เท่ากับ ๑หน่วยกิต

รายวิชาในหลักสูตร

วิชาความรู้ความชำนาญเฉพาะสาขา
จำนวน ๗ หน่วยกิต
พยสธ ๕๐๕ การรักษาโรคเบื้องต้นและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน ๓ (๓-๐-๖)
NSPN 505 Primary Medical Care and Emergency Care 
พยสธ ๕๘๓ ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน *  ๔ (๐-๑๖-๔)
NSPN 583 Primary Medical Care and Emergency Care  Practicum
* ภาคปฏิบัติ ๑ รายวิชา ๔ หน่วยกิต (๑ หน่วยกิต = ๖๐ ชั่วโมง)  

รายละเอียดรายวิชา

พยสธ ๕๐๕
NSPN 505
การรักษาโรคเบื้องต้นและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน
Primary Medical Care and Emergency Care
๓ (๓-๐-๖) หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

การวินิจฉัยแยกโรคภาวะเจ็บป่วยเล็กน้อยและฉุกเฉินในระบบต่างๆ การรักษาโรคเบื้องต้น การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล การประเมินและการใช้ยาในกลุ่มเปราะบางในชุมชน เด็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ กลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มจิตเวช โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาล

พยสธ ๕๘๓ 
NSPN 583
ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นและการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน
Primary Medical Care and Emergecy Care Practicum
๔ (๐-๑๖-๔) หน่วยกิต

วัตถุประสงค์ทั่วไป

ผู้เข้าอบรมมีทักษะการประเมินภาวะสุขภาพวินิจฉัยแยกโรค การรักษาโรคเบื้องต้นทุกกลุ่มอายุ การดูแลกลุ่มผู้ที่เปราะบาง การเลือกใช้ยาอย่างสมเหตุผล การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องต้นผุ้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน การจัดระบบการรับและส่งต่อผู้ป่วย การดูแลต่อเนื่องที่บ้านและในชุมชน การพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตยเอง การบันทึกการรักษาพยาบาล การติดตามประเมินผลลัพธ์การจัดการดูแลตามขอบเขตการปฏิบัติและจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาล

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม

คุณสมบัติทั่วไป

๑) เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
๒) ไม่เป็นโรคหรือมีสภาพร่างกายที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาอบรม
๓) ต้องมีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของ หน่วยงานนั้นๆ เต็มเวลา

คุณสมบัติเฉพาะ

๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง จากสภาการพยาบาลที่ไม่หมดอายุ
๒) เป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติงานด้านวิชาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒ ปี
๓) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณาของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก

*หมายเหตุ:  กรณีอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการคัดเลือก

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องมีระยะเวลาศึกษาอบรม ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติรวมกันไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ ของเวลาการศึกษาทั้งหมด ผู้เข้ารับการศึกษาอบรมต้องได้เกรดเฉลี่ยทุกวิชาตลอดหลักสูตรไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ และเฉลี่ยสะสม ตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่าระดับ ๒.๕๐ ตามระเบียบการวัดผลและประเมินผลตามเกณฑ์ของสภา การพยาบาล และข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๒

 

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th