Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรปริญญาโท

  • เกี่ยวกับหลักสูตร
  • หลักสูตร
  • คุณสมบัติผู้สมัคร
  • Soft Skills
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • เอกสาร Download








ติดต่อสอบถาม

งานบัณฑิตศึกษา
สำนักงานการศึกษา

Tel: 02-441-5333 หรือ
       02-441-5275 ถึง 80
       ต่อ 2542, 2543
Line Official Account: NS_GRAD
@177hzshw

คุณสมบัติผู้สมัคร

 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แผน ก แบบ ก ๑

หลักสูตร พย.ม. สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก

(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาให้การรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

(๔) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเด็ก

(๕) ผ่านการอบรมจากหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลเด็ก (หลักสูตร ๔ เดือนขึ้นไป) โดยเป็นหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง

(๖) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำ สำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

(๗) มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัย โดยได้รับการรับรองจากหัวหน้าโครงการวิจัย หรือมีผลงานวิจัยทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างน้อย ๑ เรื่อง

(๘) ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) ถึงข้อ (๗) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

หลักสูตร พย.ม. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

(๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพ หรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย

(๔) มีประสบการณ์การปฏิบัติงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

(๕)  ผ่านการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลผู้ใหญ่และ/หรือ
การพยาบาลผู้สูงอายุ (หลักสูตร ๔ เดือนขึ้นไป) โดยเป็นหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางที่สภาการพยาบาลหรือราชวิทยาลัยแพทย์รับรอง

(๖) ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำ สำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

(๗) มีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยโดยได้รับการรับรองจากหัวหน้าโครงการวิจัย หรือมีผลงานวิจัยทางด้านสุขภาพที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างน้อย ๑ เรื่อง

(๘)  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดใน ข้อ (๒) ถึงข้อ (๗) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจ ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาใน แผน ก แบบ ก ๒

หลักสูตร พย.ม. ทุกสาขาวิชา

(๑)  สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาการพยาบาลรับรอง และมีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น ๑ สำหรับผู้เข้าศึกษาต่างชาติต้องสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรี สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ หรือเทียบเท่า และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลโดยสภาวิชาชีพหรือองค์กรที่รับผิดชอบในแต่ละประเทศ กรณีไม่มีระบบการให้ใบอนุญาตฯ ต้องมีใบรับรองการขึ้นทะเบียนในประเทศของผู้สมัคร หรือ รับรองโดยหน่วยงานกำกับดูแลวิชาชีพพยาบาลในประเทศของผู้สมัคร

(๒)  ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐

(๓)  มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล  

(๔)  มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานทางการพยาบาล หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า ๑ ปี  (นับถึงวันรายงานตัวเข้าศึกษา)

(๕)  ผู้สมัครชาวต่างชาติ ต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานความรู้ภาษาไทยขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มาศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาไทยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

(๖)  ผู้ที่มีคุณสมบัติต่างจากที่กำหนดในข้อ (๒) ถึงข้อ (๕) อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

ปีการศึกษา 2567 หลักสูตรปริญญาโท ไม่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา


ประเภทคะแนนทดสอบ

เกณฑ์ขั้นต่ำที่รับเข้าศึกษา

เกณฑ์สำเร็จการศึกษา

คะแนนรวม การพูด การเขียน คะแนนรวม การพูด การเขียน

IELTS

- - - 5 5 5

TOEFL-iBT

- - - 64 15 17

MU ELT

- - - 84 10 10
MU GRAD PLUS
(MU GRAD TEST + SPEAKING)
- - - 70 10 10

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 150 – 153
หรือเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย  http://www.grad.mahidol.ac.th

 

กรณีที่รับเข้ามาคะแนนภาษาอังกฤษยังไม่ผ่าน สามารถลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษได้ ดังนี้
รายละเอียดเกณฑ์การลงเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ (GRID)
ระดับ ป.โท / ป.บัณฑิต / ป.บัณฑิตชั้นสูง (สำหรับนักศึกษารหัส 59 ขึ้นไป)

ลำดับ

IELTS
(5.0)

TOEFL iBT
(64)

MU GRAD Plus
(70)
คอร์สที่ต้องลงเรียน
1 4.5 52-63 56-69 กลุ่ม 1 GRID 516 Thesis Writing for Graduate Studies   หรือ 

กลุ่ม 2 GRID 532 Thesis Writing in Physical and Biosciences หรือ 
GRID 533 Thesis Writing in Social Sciences and Humanities

และต้องสอบให้ผ่านก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
2 4.0 41-51 48-55 กลุ่ม 1 GRID 515 Speaking and Writing in Academic Context for Graduate Studies 
และ GRID 516 Thesis Writing for Graduate Studies   หรือ

กลุ่ม 2 GRID 531 English Academic Writing II และให้เลือกรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งต่อไปนี้ GRID 532 Thesis Writing in Physical and Biosciences GRID 533 Thesis Writing in Social Sciences and Humanities และต้องสอบให้ผ่านก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
3 3-3.5 32-40 40-47 กลุ่ม 1 GRID 514 Reading and Writing in Academic Context for Graduate Studies และ GRID 515 Speaking and Writing in Academic Context for Graduate Studies และ GRID 516 Thesis Writing for Graduate Studies หรือ

กลุ่ม 2 GRID 530 English Academic Writing I และ GRID 531 English Academic Writing II และให้เลือกรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งต่อไปนี้ GRID 532 Thesis Writing in Physical and Biosciences GRID 533 Thesis Writing in Social Sciences and Humanities และต้องสอบให้ผ่านก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์
4 ต่ำกว่า 3.0 ต่ำกว่า 32 ต่ำกว่า 40 กลุ่ม 1 GRID 517 Essential English Grammar for Graduate Studies และ
GRID 514 Reading and Writing in Academic Context for Graduate Studies และ GRID 515 Speaking and Writing in Academic Context for Graduate Studies และ GRID 516 Thesis Writing for Graduate Studies หรือ

กลุ่ม 2 GRID 517 Essential English Grammar for Graduate Studies และ

GRID 530 English Academic Writing I และ GRID 531 English Academic Writing II และให้เลือกรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งต่อไปนี้ GRID 532 Thesis Writing in Physical and Biosciences GRID 533 Thesis Writing in Social Sciences and Humanities และต้องสอบให้ผ่านก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษที่งานศูนย์ภาษา โทรศัพท์ 0-2441-4125 ต่อ 150 – 153
หรือเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย  http://www.grad.mahidol.ac.th

 

 

Last Update: 07/12/2564

 

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th