Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรปริญญาโท

  • เกี่ยวกับหลักสูตร
  • หลักสูตร
  • คุณสมบัติผู้สมัคร
  • Soft Skills
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • เอกสาร Download








ติดต่อสอบถาม

งานบัณฑิตศึกษา
สำนักงานการศึกษา

Tel: 02-441-5333 หรือ
       02-441-5275 ถึง 80
       ต่อ 2542, 2543
Line Official Account: NS_GRAD
@177hzshw

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
Master of Nursing Science Program in Psychiatric Nursing and Mental Health

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร (Program Philosophy)

หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตเป็นหลักสูตรการดูแลสุขภาพจิตเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิตของประชาชนในทุกสภาวะโดยการส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต การดูแลรักษา การฟื้นคืนสู่สุขภาวะทางจิต โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นนักวิชาการและปฏิบัติการพยาบาลที่มีค่านิยมตามบรรทัดฐานที่ดีทางสังคม เป็นคนดี มีสุขภาวะที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมส่วนรวมโดยยึดหลักปรัชญาการบริการสุขภาพแบบองค์รวมและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยพิจารณาถึงแนวโน้มปัญหาสุขภาพของประชากรระดับประเทศและระดับโลก การจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นที่การเรียนรู้เป็นศูนย์กลาง พัฒนาให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่มุ่งผลเพื่อผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต ใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และสามารถสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาลที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพจิตของสังคมและประเทศได้ มีภาวะผู้นำและริเริ่มการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพและสังคม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives)

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้

๑. มีคุณธรรม จริยธรรมทั้งทางวิชาการและวิชาชีพในการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
๒. อธิบายหลักการ ความรู้ที่เกี่ยวกับการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต ปฏิบัติการส่งเสริมและป้องกันการเจ็บป่วยทางจิต โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ได้อย่างเหมาะสม
๓. วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิพากษ์ แก้ปัญหาทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต เสนอแนวคิด สร้างสรรค์นวัตกรรม ข้อความรู้ใหม่ งานวิชาการและวิจัยทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตได้ โดยใช้กระบวนการวิจัยทางการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง
๔. มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานร่วมกับสหวิชาชีพและเครือข่ายสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๕. วิเคราะห์แปลผลและจัดการข้อมูลทางตัวเลขและสถิติเพื่อใช้ในการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับบุคคลต่าง ๆ ทั้งในวงการวิชาการ วิชาชีพ และชุมชนทั่วไป และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)

๑. สร้างผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจิต และการพยาบาลที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตในกลุ่มประชากรที่สนใจ
๒. จัดการปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตอย่างเป็นองค์รวม ภายใต้ขอบเขตกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
๓. พัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
๔. แสดงภาวะผู้นำในการทำงานเป็นทีมกับสหวิชาชีพ และสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ใช้บริการและผู้เกี่ยวข้องได้

โครงสร้างหลักสูตร (Program Structure)

 

หลักสูตรภาคปกติ แผน ก แบบ ก ๒ (Plan A2: Coursework + Thesis)
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๒ ปี

 

หลักสูตรภาคพิเศษ แผน ก แบบ ก ๑ (Plan A2: Coursework + Thesis)
ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร ๓ ปี

หมวดวิชาเลือก (Elective Course) ไม่น้อยกว่า ๓ หน่วยกิต
NSID 600 Health Counseling 2 Credits
NSID 637 Interdisciplinary Approach for Ageing and Long-term Care          2 Credits
NSID 643 Digital Technology in Nursing       1 Credit
NSID 644 Clinical Teaching in Nursing          2 Credits

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (หลักสูตรภาคปกติ)

แผนการศึกษา

ระยะเวลาศึกษา
ตามแผนการศึกษาของหลักสูตร

อัตราค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายฯ
ที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษา
ตามแผนการศึกษาของหลักสูตร (บาท)

อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ชำระตลอดหลักสูตร (บาท)(1)

ค่าวิจัยและ/
หรือค่าอุปกรณ์พิเศษ

ค่าธรรมเนียม
การศึกษาดูงาน

แผน ก แบบ ก 2
(ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)

2 ปี
(4 ภาคการศึกษา)

30,000

150,000

-

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร (หลักสูตรภาคพิเศษ)

แผนการศึกษา

ระยะเวลาศึกษา
ตามแผนการศึกษาของหลักสูตร

อัตราค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายฯ
ที่ต้องชำระต่อภาคการศึกษา
ตามแผนการศึกษาของหลักสูตร (บาท)

อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ชำระตลอดหลักสูตร (บาท)(1)

ค่าวิจัยและ/
หรือค่าอุปกรณ์พิเศษ

ค่าธรรมเนียม
การศึกษาดูงาน

แผน ก แบบ ก 2
(ศึกษารายวิชา และทำวิทยานิพนธ์)

3 ปี
(6 ภาคการศึกษา)

40,000

150,000

-

หมายเหตุ:
[1] สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ ชำระตลอดหลักสูตร (ค่าวิจัย และ/หรือ ค่าอุปกรณ์พิเศษ และ ค่าธรรมเนียมการศึกษาดูงาน) หลักสูตรอาจพิจารณาลดหย่อน หรือ ยกเว้นการจัดเก็บให้แก่นักศึกษาเป็นรายกรณีไป
[2] กรณีหลักสูตรที่กำหนดให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนหรือขอสอบวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระในภาคฤดูร้อน นักศึกษาต้องชำระค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายภาคฤดูร้อน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าธรรมเนียมการศึกษาแบบเหมาจ่ายของแต่ละหลักสูตร

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต

รองศาสตราจารย์ ดร.วารีรัตน์ ถาน้อย ประธานกรรมการ
รองศาสตราจารย์ พวงเพชร  เกษรสมุทร    กรรมการ
รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อทิตยา  พรชัยเกตุ โอว ยอง กรรมการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์  เพียรชอบ กรรมการและเลขานุการ


อาจารย์ประจำหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.วารีรัตน์ ถาน้อย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดารัตน์ เพียรชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ว่องสิริมาศ
รองศาสตราจารย์ ดร.พวงเพชร เกษรสมุทร รองศาสตราจารย์ ดร.ยาใจ สิทธิมงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วไลลักษณ์ พุ่มพวง รองศาสตราจารย์ ดร.วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศิรดา เกษรศรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาภัค เภตราสุวรรณ
รองศาสตราจารย์ ดร.อรวมน ศรียุกตศุทธ รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Last Update: 06/02/2568

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th