หลักสูตร
 
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (B.N.S.)

ชื่อปริญญา   พยาบาลศาสตรบัณฑิต
                   BACHELOR OF NURSING SCIENCE

ชื่อย่อ:         พย.บ
                   B.N.S.

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเชื่อว่า วิชาชีพพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ในการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาวะของผู้ใช้บริการอย่างเป็นองค์รวม หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต จึงมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะด้านวิชาการและทักษะในการปฏิบัติการพยาบาล โดยการบูรณาการความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ ทักษะทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหิดล

คุณลักษณะที่โดดเด่นของบัณฑิตพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ คือ "มุ่งมั่นคุณธรรม เลิศล้ำทางปัญญา สร้างคุณค่าต่อสังคม" รวมทั้งมีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกในการให้บริการด้านสุขภาพ กอปรด้วยคุณธรรม จริยธรรม ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย โดยผ่านกระบวนการจัดการศึกษาพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ การจัดการศึกษาพยาบาลของคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลการเรียนรู้เป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีทักษะการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อสถาบันและวิชาชีพ อันจะยังผลโดยตรงต่อกระบวนการบริการด้านสุขภาพให้กับประชาชน ที่จะให้เกิดสุขภาวะในสังคมไทยต่อไป

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร                                

          เพื่อให้การศึกษาด้านพยาบาลศาสตร์มีมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพ มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบวิชาชีพพยาบาล ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สอดคล้องกับปรัชญาของการอุดมศึกษา ปรัชญาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมุ่งให้บัณฑิตเป็นคนดี มีปัญญา นำพาสุข โดยเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว บัณฑิตต้องมีคุณลักษณะและความรู้ ความสามารถ ดังนี้

 

  1. มีความรู้ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
  2. มีทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน การบำบัดรักษา และการฟื้นฟูสภาพ โดยใช้กระบวนการพยาบาลและบูรณาการความรู้ ผลงานวิจัย หลักฐานเชิงประจักษ์ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงวิถีชุมชนและความหลากหลายทางวัฒนธรรม
  3. มีคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  4. มีการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการจรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการพยาบาล
  5. มีภาวะผู้นำ คิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
  6. มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง สถาบัน วิชาชีพ และสังคม ดำรงตนเป็นพลเมืองดี และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

ระบบการจัดการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษา แบบหน่วยกิตทวิภาค
การคิดจำนวนหน่วยกิต เป็นไปตามข้อบังคับ/ระเบียบของมหาวิทยาลัยมหิดล

ระยะเวลาการศึกษา

นักศึกษาต้องมีระยะเวลาศึกษาเต็มเวลาตามหลักสูตร ๔ ปี ไม่เกิน ๘ ปีการศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

เป็นไปตามข้อบังคับ/ระเบียบของมหาวิทยาลัยมหิดล และประกาศทบวงมหาวิทยาลัย ดังนี้

  1. ภาคการศึกษาปกติ ลงทะเบียนเรียนได้ไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต และไม่เกิน ๒๒ หน่วยกิต
  2. ภาคฤดูร้อน ลงทะเบียนเรียนได้ไม่เกิน ๑๐ หน่วยกิต
  3. สำเร็จการศึกษาได้ ไม่ก่อน ๘ ภาคการศึกษาปกติ

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

เป็นไปตามข้อบังคับ/ระเบียบของมหาวิทยาลัยมหิดล และระเบียบคณะพยาบาลศาสตร์

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร     ๑๔๓  หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร    
๑  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป       ๓๑ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษา    ๑๒ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์  หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ  หน่วยกิต
๒ หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๖ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ   ๒๘ หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาชีพ ๗๘ หน่วยกิต
๓  หมวดวิชาเลือกเสรี หน่วยกิต

 

รายวิชาในหลักสูตร

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน ๑๕ รายวิชา ๓๑ หน่วยกิต

๑) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน ๔ รายวิชา ๙ หน่วยกิต

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์     ๒ (๑-๒-๓)
มมศท ๑๐๒ สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์      ๓ (๒-๒-๕)
มมศท ๑๐๓ ศิลปะวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์     ๒ (๑-๒-๓)
พยสจ ๒๐๒ จิตวิทยาพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ ๒ (๒-๐-๔)
๒) กลุ่มวิชาภาษา จำนวน ๖ รายวิชา ๑๒ หน่วยกิต  
ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษ ระดับ ๑   ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษ ระดับ ๒ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษ ระดับ ๓  ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษ ระดับ ๔ ๓ (๒-๒-๕)
ศศภอ ๒๗๕ ภาษาอังกฤษ สำหรับการพยบาล ๓ (๓-๐-๖)
(จัดกลุ่มเรียนตามผลการทดสอบภาษาอังกฤษ จำนวน ๓ วิชา ๙ หน่วยกิต)  
๓) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จำนวน ๔ รายวิชา ๙ หน่วยกิต  
วทคม ๑๑๒ เคมีทั่วไป    ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๕๙ ฟิสิกส์เบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๓ (๓-๐-๖)
วทฟส ๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป     ๑ (๐-๓-๑)
วทชว ๑๑๖ ชีววิทยาขั้นแนะนำ ๒ (๒-๐-๔)
๔) กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ จำนวน ๑ รายวิชา ๑ หน่วยกิต  
วกศท ๑๐๓ เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ๑ (๐-๒-๑)
หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน ๔๓ รายวิชา ๑๐๖ หน่วยกิต  
๑) กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ จำนวน ๑๒ รายวิชา ๒๘ หน่วยกิต  
วทคม ๑๒๑ เคมีอินทรีย์พื้นฐาน ๓ (๓-๐-๖)
วทชว ๑๑๗ หลักมูลของชีวิต   ๒ (๑.๕-๑-๓.๕)
วทคม ๑๑๙ ปฏิบัติการเคมี ๑ (๐-๓-๑)
วทคณ ๑๘๒ สถิติศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ   ๒ (๒-๐-๔)
วทกว ๑๐๑ กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน ๓ (๒-๓-๕)
วทสร ๒๐๒ สรีรวิทยาพื้นฐาน ๓ (๒-๓-๕)
วทชค ๒๐๖ ชีวเคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
วทจช ๒๐๖ จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางการแพทย์ ๓ (๒-๒-๕)
วทภส ๒๐๒ เภสัชวิทยาพื้นฐาน ๓ (๓-๐-๖)
พยสจ ๑๐๑ การสื่อสารและการปรึกษาทางสุขภาพ ๒ (๑-๒-๓)
พยคร ๒๑๓ ระบาดวิทยา ๑ (๑-๐-๒)
พยคร ๒๑๔ พยาธิสรีรวิทยาสำหรับพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)
๒) กลุ่มวิชาชีพ จำนวน ๓๑ รายวิชา ๗๘ หน่วยกิต  
๒.๑) กลุ่มวิชาทฤษฏี จำนวน ๒๐ รายวิชา ๕๑ หน่วยกิต  
พยคร ๑๐๗ มโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)
พยคร ๒๐๕ สารสนเทศทางการพยาบาลขั้นแนะนำ ๒ (๑-๒-๓)
พยคร ๒๐๖ กระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ ๓ (๒-๓-๕)
พยคร ๒๐๗ การวิจัยขั้นแนะนำและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ๓ (๓-๐-๖)
พยคร ๒๐๘ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๑ (๑-๐-๒)
พยคร ๒๐๙ ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ๔ (๒-๖-๖)
พยคร ๒๑๒ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ๓ (๓-๐-๖)
พยกม ๓๐๓ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ๓ (๓-๐-๖)
พยอย ๓๐๓ การพยาบาลผู้ใหญ่ ๑ ๓ (๓-๐-๖)
พยศศ ๓๐๕ การพยาบาลผู้ใหญ่ ๒ ๔ (๔-๐-๘)
พยรฐ ๓๐๑ การพยาบาลผู้สูงอายุ ๒ (๒-๐-๔)
พยสน ๓๐๕ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑      ๓ (๓-๐-๖)
พยคร ๓๒๕ การพยาบาลสาธารณภัยและฉุกเฉิน   ๒ (๒-๐-๔)
พยคร ๓๒๖ จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล   ๒ (๒-๐-๔)
พยคร ๓๒๗ การบริหารจัดการการพยาบาล   ๒ (๒-๐-๔)
พยคร ๓๒๘ สัมมนาประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล    ๒ (๒-๐-๔)
พยสจ ๓๐๑ การพยาบาลจิตเวช ๓ (๓-๐-๖)
พยสธ ๓๐๒ การพยาบาลอนามัยชุมชน ๓ (๓-๐-๖)
พยสน ๔๐๑ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๓ (๓-๐-๖)
พยสธ ๔๐๔ การรักษาพยาบาลขั้นต้น     ๑ (๑-๐-๒)
๒.๒) กลุ่มวิชาปฏิบัติ จำนวน ๑๑ รายวิชา ๒๗ หน่วยกิต  
พยคร ๒๘๑ ปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล   ๑ (๐-๔-๑)
พยกม ๓๘๒ ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น       ๓ (๐-๑๒-๓)
พยอย ๓๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๑       ๓ (๐-๑๒-๓)
พยศศ ๓๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๒ ๓ (๐-๑๒-๓)
พยสน ๓๘๔ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑   ๓ (๐-๑๒-๓)
พยสธ ๔๘๔ ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน ๓ (๐-๑๒-๓)
พยสธ ๔๘๕ ปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น    ๒ (๐-๘-๒)
พยสจ ๔๘๒ ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ๒ (๐-๘-๒)
พยสน ๔๘๑ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๓ (๐-๑๒-๓)
พยคร ๔๘๒ ปฏิบัติการบริหารจัดการการพยาบาล ๒ (๐-๘-๒)
พยคร ๔๘๘ ปฏิบัติเสริมทักษะทางการพยาบาล    ๒ (๐-๘-๒)
หมวดวิชาเลือกเสรี จำนวน ๑๔ รายวิชา ลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต  
พยคร ๒๑๗ การพัฒนาตนตามหลักศาสนา ๒ (๒-๐-๔)
พยคร ๓๒๙ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการดูแลสุขภาพ   ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๐๗ สังคมกับสุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๑๒ ทักษะการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ๒ (๒-๐-๔)
สมสค ๑๓๕ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๗ จริยศาสตร์ทางการแพทย์     ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๐๘ มนุษย์สัมพันธ์กับการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)
สมมน ๑๑๗ สตรีกับการพัฒนา ๒ (๒-๐-๔)
วกศท ๑๐๑ แอโรบิกเพื่อสุขภาพ     ๑ (๐-๒-๑)
วกศท ๑๐๒ โยคะเพื่อสุขภาพ ๑ (๐-๒-๑)
วกศท ๑๐๙ ว่ายน้ำ   ๑ (๐-๒-๑)
วกศท ๑๑๒ ลีลาศ    ๑ (๐-๒-๑)
วกศท ๑๑๔ แบดบินตัน ๑ (๐-๒-๑)
     

* คำอธิบายรายวิชา หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๕
                                               

 

   

 

 

 

 

2 Phrannok Road, Bangkok 10700, THAILAND Tel: (662)-419-7466-80 Fax: (662)-412-8415 Copyright © 2013 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.