ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ


     นางนันทวรรณ ผ่องมณี


         งานบริการการศึกษา   ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสาระน่ารู้ในการใช้ชีวิตประจำวัน ในเรื่อง  “ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ” วันที่ 21 พฤศจิกายน  2555  โดย  นางนันทวรรณ  ผ่องมณี   ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

         นางนันทวรรณ  ผ่องมณี   มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง “ผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์มือถือ” เพื่อจะได้รับรู้ถึงการใช้โทรศัทพ์มือถืออย่างถูกวิธี และรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ

การแผ่รังสี ของตัวโทรศัพท์มือถือ

         การแผ่รังสีของตัวโทรศัพท์และรังสีที่ได้รับจากการใช้โทรศัพท์มือถือ คือ รังสีไมโครเวฟ หากได้รับปริมาณรังสีมากๆ  จากการคุยโทรศัพท์เคลื่อนที่นานๆ ทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น มีอาการปวดหูปวดศีรษะ  ตาพร่ามัวมึนงง   ขาดสมาธิ  และเกิดความเครียดนอนไม่หลับ   อาจทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม ผิวหนังเหี่ยวย่น  นอกจากนี้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้เกิดการรั่วของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะสะสมในระบบหมุนเวียนโลหิต ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง เยื่อหุ้มสมองเสื่อม และเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ เสี่ยงกับการเป็นมะเร็งสมอง  สำหรับในผู้ชายไม่ควรพกมือถือที่เอว เสี่ยงรับผลกระทบต่อไขกระดูก และอัณฑะ

ข้อแนะนำ

  1. ควรใช้โทรศัพท์แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 15 นาทีต่อ 1 ครั้ง
  2. ควรใช้อุปกรณ์หูฟังทุกครั้งที่ใช้  เพื่อให้โทรศัพท์อยู่ห่างจากสมองจะทำให้ได้รับคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้าน้อยลง  
  3. ขณะที่มีสายเรียกเข้า  ควรกดรับสายให้ห่างจากตัวแล้วเว้นระยะก่อนนำโทรศัพท์มาแนบหู
    เพราะขณะที่มีสายเรียกเข้าจะมีคลื่นแม่เหล็กจากโทรศัพท์ ซึ่งเป็นพลังแรงมากที่สุด
  4. อย่าติดหรือแขวนโทรศัพท์ติดตัวไว้ตลอดเวลา  เพราะคลื่นรังสีจะแผ่มาถูกอวัยวะที่สำคัญ
    โดยเฉพาะกระดูกซึ่งมีไขกระดูกที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดต่างๆ เช่น กระดูกเชิงกราน และกระดูกที่หน้าอก อาจทำให้มีผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวได้
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เพราะคลื่นแม่เล็กไฟฟ้าจะผ่านกะโหลกศีรษะ
    ของเด็กเข้าสู่เยื่อสมองได้ลึกกว่าของผู้ใหญ่  
  6. หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะขับรถ   เพราะทำให้ขาดสมาธิ จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  7. หลีกเลี่ยงการใช้ในขณะเติมน้ำมันรถยนต์   เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ได้

อันตรายจากแบตเตอรี่โทรศัพท์

         แบตเตอรี่หรือไส้แบตเตอรี่ที่เสื่อมคุณภาพแล้ว  จัดเป็นขยะอันตรายที่ก่อให้เกิดโทษกับสุขภาพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลกและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็น "แคดเมียม ไฮดรอกไซด์" เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม" ซึ่งมีทั้ง สารตะกั่ว ลิเธียม ทองแดง นิเกิล ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบส่วนกลาง ทำให้ระบบหายใจผิดปกติ ไตอักเสบ ไตวาย  เกิดอาการหอบหืด หลอดลมอักเสบ  ข้อเสื่อม ถุงลมโป่งพอง และทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะได้หลายชนิด  เพราะฉะนั้นเมื่อแบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพแล้วไม่ควรเก็บไว้ควรนำไปทิ้ง  หรือถ้าจะทำลายก็โดยวิธีการฝั่งดิน

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  1. รองศาสตราจารย์ วิไลวรรณ    ทองเจริญ
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ช่อทิพย์   สันธนะวนิช 
  3. นางกอบกุล                      เลาหิตกุล                  
  4. นางสาวฉวีวรรณ                สาระคง          
  5. ว่าที่ร้อยตรี สุรบดี               กลิ่นจันทร์         
  6. นางสาวสุชลิตา                 ยืนนาน                    
  7. นางสาววิลาวัลย์                ดวงล้อมจันทร์   
  8. นางวรรณทิน                    ยิ่งพัฒนพันธ์              
  9. นางนันทวรรณ                  ผ่องมณี
  10. นางสาวแสงจันทร์             สุขสุวานนท์     
  11. นางสาวณัฐพร                  จุลกนิษฐ์                  
  12. นางมณฑา                      ภู่เภ่ง   

 

นันทวรรณ  ผ่องมณี  ผู้ลิขิต

 

 
 

 

 

2 Phrannok Road, Bangkok 10700, THAILAND Tel: (662)-419-7466-80 Fax: (662)-412-8415 Copyright © 2013 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.