Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๕๕
(สำหรับปีการศึกษา ๒๕๕๕-๒๕๕๙)

  • โครงสร้างหลักสูตร
  • คำอธิบายรายวิชา






ติดต่อสอบถาม

งานบริการการศึกษา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

Tel: ๐๒-๔๔๑-๕๓๓๓ หรือ
       ๐๒-๔๔๑-๕๒๔๗ ถึง ๘๐
       ต่อ ๒๑๒๒-๒๑๒๕


คำอธิบายรายวิชา

๑.หมวดศึกษาทั่วไป

๑.๑ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

มมศท ๑๐๑ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๒ (๑-๒-๓)

ความหมาย ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของวิชาศึกษาทั่วไปกับวิชาชีพ/วิชาเฉพาะ ความเชื่อมโยงสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับคุณสมบัติของจิตใจ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณ คุณสมบัติของบัณฑิตที่พึงประสงค์ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์/สถานการณ์/ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์/สถานการณ์ เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา

มมศท ๑๐๒  สังคมศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์   ๓ (๒-๒-๕)

หลักการและทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ / เหตุการณ์ / ปัญหาที่สำคัญของสังคมไทยและสังคมโลก อาทิ วิวัฒนาการของอารยธรรมและเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ ระบบการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสุขภาพ การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา

มมศท ๑๐๓  ศิลปวิทยาการเพื่อการพัฒนามนุษย์      ๒ (๑-๒-๓)

มนุษยภาพในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหาเกี่ยวกับวิวัฒนาการที่สำคัญทางด้านศิลปวิทยาการของประเทศไทยและของโลก แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิเคราะห์เหตุปัจจัยและผลกระทบของเหตุการณ์ / สถานการณ์ / ปัญหา และการสังเคราะห์แนวทางแก้ไข ป้องกันปัญหา หรือแนวทางปรับปรุงพัฒนาเหตุการณ์ / สถานการณ์ / เพื่อคุณประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม การประยุกต์ความรู้เพื่อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหากรณีศึกษา

พยสจ  ๒๐๑  จิตวิทยาพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์    ๒ (๒-๐-๔)

แนวคิด ทฤษฎีที่สัมพันธ์กับพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างจิตใจ สมองและพฤติกรรม การทำงานของระบบประสาทพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมมนุษย์ พัฒนาการทางกายจิตสังคมและการส่งเสริมพัฒนาการทุกช่วงวัย

๑.๒ กลุ่มวิชาภาษา

ศศภท ๑๐๐     ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร    ๓ (๒-๒-๕)

ศิลปะการใช้ภาษาไทย ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการคิด เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ศศภอ ๑๐๓     ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒-๒-๕)

โครงสร้าง ไวยากรณ์ และศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ในลักษณะของบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกลยุทธ์ในการอ่านบทความ การเขียนในระดับประโยค การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การออกเสียง และการพูดสื่อสารในชั้นเรียนระดับบทสนทนา

ศศภอ ๑๐๔    ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒-๒-๕)

คำศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย การทำบทบาทสมมุติในสถานการณ์ต่าง ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และเนื้อหาการอ่านและการฟังเรื่องต่างๆ

ศศภอ ๑๐๕    ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒-๒-๕)

กลยุทธ์ที่สำคัญในทักษะการใช้ภาษาทั้งสี่ การอ่านและการฟังจากแหล่งต่างๆ การพูดในชีวิตประจำวัน และการเขียนระดับย่อหน้าและเรียงความสั้นๆ รวมทั้งทักษะย่อย คือ ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวันและการอ่านเชิงวิชาการ และเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมโลก

ศศภอ ๑๐๖    ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒-๒-๕)

บูรณาการทักษะภาษาอังกฤษ โดยการฝึกอ่านข่าว บทความวิจัย ความคิดเห็น และเนื้อหาทางวิชาการ เพื่อความเข้าใจและคิดอย่างวิเคราะห์ จากแหล่งต่างๆโดยเน้นประเด็นซึ่งช่วยให้นักศึกษารู้เกี่ยวกับสังคมโลก ฝึกการฟังข่าว การบรรยายและสุนทรพจน์จากสื่อมัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ต การสนทนาในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งการฝึกพูดในที่ชุมชน การนำเสนอและการทำบทบาทสมมุติ ฝึกการเขียนเรียงความรูปแบบโดยใช้การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้รวมทั้งการฝึกทักษะย่อย เช่น ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ในบริบทที่เหมาะสม

๑.๓ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์

วทคม  ๑๑๒  เคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)

โครงสร้างอะตอม พันธะเคมี แก๊ส ของเหลว ของแข็ง สารละลาย คอลลอยด์ อุณหพลศาสตร์เคมี จลนพลศาสตร์เคมี สมดุลเคมี สมดุลของไอออน ไฟฟ้าเคมี ตารางธาตุ

วทฟส  ๑๕๙  ฟิสิกส์เบื้องต้นสำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ   ๓ (๓-๐-๖)

กลศาสตร์ของการเคลื่อนที่ และการสมดุล งานและพลังงาน สมบัติความยืดหยุ่นของสารกลศาสตร์ของของไหล และระบบไหลเวียนของโลหิต อุณหภูมิ ความร้อน กฎของก๊าซ และระบบหายใจ คลื่นและสมบัติของคลื่น หูและการได้ยิน แสงและการมองเห็น ไฟฟ้า แม่เหล็ก ไฟฟ้าในร่างกายมนุษย์อิเล็กทรอนิกส์ อะตอม นิวเคลียส และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

วทฟส  ๑๑๐ ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป ๑ (๐-๓-๑)

การทดลองฟิสิกส์พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรฟิสิกส์ที่นักศึกษาแต่ละคณะกำลังศึกษา

วทชว  ๑๑๖ ชีววิทยาขั้นแนะนำ ๒ (๒-๐-๔)

เคมี และชีวโมเลกุล ชีววิทยาระดับเซลล์ พลังงานของเซลล์ พันธุศาสตร์ โรคทางพันธุกรรม เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอและการประยุกต์ทางการแพทย์ วิวัฒนาการ วิวัฒนาการมนุษย์ นิเวศวิทยาและปัญหาทางมลพิษและความหลากหลายทางชีวภาพ

๑.๔ กลุ่มวิชาสุขภาพและนันทนาการ       

วกศท  ๑๐๓ เสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย ๑ (๐-๒-๑)

ความหมาย และองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย การทดสอบและประเมินผล หลักการฝึกและวิธีการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย โดยใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา เช่น การเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อ ความทนทานระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต ความอ่อนตัว เพื่อนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน

๒. หมวดวิชาเฉพาะ

๒.๑ กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

วทคม  ๑๒๑ เคมีอินทรีย์พื้นฐาน  ๓ (๓-๐-๖)

โครงสร้างโมเลกุลและการจำแนกสารอินทรีย์ ปฏิกิริยาของสารประกอบเคมีอินทรีย์ การเรียกชื่อและ สเตอริโอเคมี การสังเคราะห์และปฏิกิริยาของแอลเคน ไซโคลแอลเคน แอลคีน แอลไคน์ อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน สารเฮไลด์ แอลกอฮอล์ ฟีนอล อีเทอร์ อัลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์กรดคาร์บอกซิลิก อะมีน คาร์โบไฮเดรท กรดอะมิโน และ ลิปิด

วทชว  ๑๑๗ หลักมูลของชีวิต  ๒ (๑.๕-๑-๓.๕)

การจัดจำแนกอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตการสืบพันธุ์และชีววิทยาการเจริญของคนและสัตว์อื่น การทำงานของระบบต่างๆในร่างกายของคนและสัตว์ รวมทั้งโรคและความผิดปกติบางประการของระบบประสาท อวัยวะรับความรู้สึกและตอบสนอง ระบบย่อยอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบแลกเปลี่ยนแก๊ส ระบบหมุนเวียนโลหิต และระบบภูมิคุ้มกัน และปฏิบัติการพื้นฐานทางชีววิทยา

วทคม  ๑๑๙ ปฏิบัติการเคมี    ๑ (๐-๓-๑)

การทดลองเคมีทั่วไปและเคมีอินทรีย์เบื้องต้น ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนและเลขนัยสำคัญ การเตรียมสารละลายและการไทเทรต กฏอัตราของปฏิกิริยา สมดุลเคมี การวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยเทคนิคทางแสง การจำแนกสารอินทรีย์ตามการละลาย การใช้แบบจำลองศึกษาสเตอริโอเคมีของสารอินทรีย์ ปฏิกิริยาของไฮโดร คาร์บอน แอลกอฮอล์ ฟีนอล แอลดีไฮด์ คีโตน กรดคาร์บอกซิลิก อนุพันธ์ของกรดคาร์บอกซิลิก และเอมีน

วทคณ  ๑๘๒ สถิติศาสตร์สำหรับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)

แนวคิดความน่าจะเป็นและการแจกแจงความน่าจะเป็นและการประยุกต์กับเหตุการณ์ต่างๆ การแปลความค่าสถิติ สถิติพรรณนา การซักตัวอย่างเพื่อให้ได้ตัวแทนที่ดีของประชากรและการนำไปใช้ในการประมาณค่าและการทดสอบสมมุติฐาน

วทกว  ๑๐๑ กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน  ๓ (๒-๓-๕)

วิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วๆ ไปของสิ่งมีชีวิต เน้นศึกษาโครง สร้างและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ การเรียนภาคปฏิบัติจะศึกษาจากโครงร่างของมนุษย์เป็นสำคัญ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนักศึกษาจะได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในวิชาชีพต่อไป

วทสร ๒๐๒ สรีรวิทยาพื้นฐาน ๓ (๒-๓-๕)

หน้าที่ กลไก และการควบคุมการทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบไต ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ และระบบสืบพันธุ์ การทำงานประสานกันของระบบต่างๆ ในร่างกาย การทรงสภาพปกติในร่างกายในภาวะปกติ และเมื่อมีพยาธิสภาพ

วทชค ๒๐๖ ชีวเคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)

โครงสร้างและหน้าที่พื้นฐานของชีวโมเลกุลทั้ง 4 ชนิด คาร์โบไฮเดรท ลิปิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิค กระบวนการพื้นฐานเมตาบอลิสมของชีวโมเลกุลทั้ง 4 ชนิด และกระบวนการพื้นฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและการควบคุมการแสดงออกของยีน ดีเอ็นเอเทคโนโลยี บทบาทพื้นฐานของชีวโมเลกุลเกี่ยวกับการทำงานในระบบต่างๆ ในร่างกายปกติ การนำไปประยุกต์ใช้

วทจช  ๒๐๖ จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางการแพทย์   ๓ (๒-๒-๕)

เป็นวิชาที่กล่าวถึงรูปพรรณสัณฐานโครงสร้าง ลักษณะการเจริญของจุลินทรีย์และปรสิตชนิดต่างๆ ภูมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอยู่เองตามธรรมชาติและชนิดจำเพาะ การถ่ายทอดยีนและความสำคัญของการถ่ายทอดยีนดื้อยาในจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในธรรมชาติและการทำให้เกิดโรค การทำให้ปลอดเชื้อและการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับปรสิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการก่อโรค วงชีพของปรสิตที่มีความสำคัญทางการแพทย์ พยาธิสภาพที่เกิดจากปรสิต ระบาดวิทยา การป้องกัน และพื้นฐานเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการตรวจสอบและวินิจฉัยเชื้อจุลินทรีย์และปรสิต

วทภส  ๒๐๒ เภสัชวิทยาพื้นฐาน ๓ (๓-๐-๖)

ความรู้พื้นฐานและหลักการทั้งในด้านเภสัชจลนศาสตร์ และเภสัชพลศาสตร์ ยาที่ใช้รักษาโรคของระบบต่างๆ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบต่อมไร้ท่อ ยาที่บำบัดรักษาโรคติดเชื้อ โรคที่เกิดจากปรสิต โรคมะเร็ง การออกฤทธิ์ ผลในการรักษา อาการข้างเคียง พิษของยา และปฏิกิริยาต่อกันของยา

พยสจ  ๑๐๑ การสื่อสารและการปรึกษาทางสุขภาพ ๒ (๑-๒-๓)

หลักการ กระบวนการ และปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การพัฒนาความตระหนักรู้ในตนเอง หลักการและกระบวนการให้การปรึกษา ทักษะพื้นฐานในการให้การปรึกษา การประยุกต์ทักษะพื้นฐานในการปรึกษาทางสุขภาพในสถานการณ์สมมติ

พยคร  ๒๑๓ ระบาดวิทยา     ๑ (๑-๐-๒)

แนวคิด หลักการและขอบเขตของวิทยาการระบาด การเกิดโรค การกระจายโรค การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและไม่ติดต่อ การศึกษาทางระบาดวิทยาและชีวสถิติ ดัชนีอนามัย การนำวิทยาการระบาดมาใช้ในการพยาบาล

พยคร ๒๑๔ พยาธิสรีรวิทยาสำหรับพยาบาล    ๒ (๒-๐-๔)

การทำงานผิดปกติของระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ตับทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ซึ่งก่อให้เกิดโรคของระบบใดระบบหนึ่ง หรือหลายระบบร่วมกัน ความผิดปกติอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะดุลยภาพของร่างกาย การเกิดเนื้องอกของระบบต่างๆ

๒.๒ กลุ่มวิชาชีพ

๒.๒.๑ กลุ่มวิชาทฤษฎี

พยคร  ๑๐๗ มโนมติพื้นฐานทางการพยาบาล   ๒ (๒-๐-๔)

แนวคิดหลักทางการพยาบาลทฤษฎี ศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลการนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล บทบาทพยาบาลและทีมสุขภาพ มาตรฐานวิชาชีพพยาบาล การพยาบาลกับการพัฒนาสุขภาพบุคคล ครอบครัวและสังคม

พยคร ๒๐๕ สารสนเทศทางการพยาบาลขั้นแนะนำ ๒ (๑-๒-๓)

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาลระบบสาร สนเทศในโรงพยาบาลข้อมูลและระบบการจำแนกข้อมูลทางการพยาบาล การนำระบบสารสนเทศมาใช้กับงานทางด้านการบริหาร การปฏิบัติการพยาบาล การศึกษา การวิจัยทางการพยาบาล และการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล

พยคร ๒๐๖ กระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ  ๓ (๒-๓-๕)

แนวคิดกระบวนการพยาบาล หลักการ วิธีการประเมินภาวะสุขภาพของบุคคลทุกวัยในภาวะปกติและผิดปกติทั้งด้านร่างกายและจิตสังคม การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการวิเคราะห์ภาวะสุขภาพของบุคคลทุกวัย

พยคร ๒๐๗ การวิจัยขั้นแนะนำและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์   ๓ (๓-๐-๖)

ความสำคัญของการวิจัยและการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ กระบวนการวิจัย รูปแบบการวิจัย จริยธรรมการวิจัย สถิติวิเคราะห์พื้นฐานและการแปลผล กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ปัญหาและการวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพและการพยาบาลที่สนใจโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

พยคร  ๒๐๘ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๑ (๑-๐-๒)

แนวคิด ความสำคัญ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักการพื้นฐานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสื่อสาร และการปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมารดาและทารกให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องถึงช่วงเด็กปฐมวัย วิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหา ให้การปรึกษาแก่มารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

พยคร ๒๐๙ ทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ๔ (๒-๖-๖)

แนวคิดการปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน การป้องกันการติดเชื้อ การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การบำบัดรักษาทางการพยาบาล ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลในห้องปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงสิทธิของบุคคลและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยคร  ๒๑๒ การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ๓ (๓-๐-๖)

แนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพ วิถีชีวิต จิตวิทยา โภชนาการ และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย นโยบายทางด้านสุขภาพ การจัดระบบบริการสาธารณสุขและระบบการพยาบาลในการดูแลสุขภาพประชาชน แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ทฤษฎีพื้นฐานด้านพฤติกรรมสุขภาพและการปรับตัวของบุคคลทุกกลุ่มวัย กลวิธีในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการดูแลสุขภาพทางเลือก บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค

พยกม ๓๐๓ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ๓ (๓-๐-๖)

แนวคิดในการพยาบาลผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นและครอบครัวในภาวะความเจ็บป่วยระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง การสร้างเสริมสุขภาพและการลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ การพยาบาลทารกแรกเกิด ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคติดเชื้อ ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่มีปัญหาระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหัวใจหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบโลหิตวิทยา มะเร็ง ผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว และที่ได้รับการผ่าตัด

พยอย   ๓๐๓ การพยาบาลผู้ใหญ่ ๑ ๓ (๓-๐-๖)

การตอบสนองของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ ที่มีปัญหาสุขภาพจากระบบหายใจ หัวใจ เลือด การไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อ ผิวหนัง ระบบทางเดินปัสสาวะ มะเร็ง ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และ เรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาทางอายุรศาสตร์ หลักการพยาบาลแบบองค์รวมในการสร้างเสริมสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ การป้องกัน ควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเอง

พยศศ  ๓๐๕ การพยาบาลผู้ใหญ่ ๒     ๔ (๔-๐-๘)

การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพในระบบหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ระบบประสาทสัมผัสพิเศษ ระบบต่อมไร้ท่อและเต้านม ระบบสืบพันธุ์สตรีที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรม ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง หลักการพยาบาลผู้ใหญ่แบบองค์รวมโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ในการป้องกัน การเสริมสร้างสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ ควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเอง

พยรฐ  ๓๐๑ การพยาบาลผู้สูงอายุ ๒ (๒-๐-๔)

ประเด็นแนวโน้มของสถานการณ์ประชากรผู้สูงอายุ ทฤษฎีความสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ทางด้านร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณ การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ การใช้ยาในผู้สูงอายุปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เจตคติ จริยธรรมของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ การปกป้องภาวะสุขภาพ ป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ การพยาบาลผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยเรื้อรัง การดูแลอย่างต่อเนื่อง การดูแลอย่างประคับประคอง การประสานงานกับเครือข่าย สหสาขา ครอบครัว ชุมชน

พยสน ๓๐๕ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ๓ (๓-๐-๖)

สถานการณ์และแนวโน้มทางการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ การเตรียมตัวก่อนสมรส การวางแผนครอบครัว การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทารกในครรภ์ ภาวะมีบุตรยาก การเปลี่ยนแปลงทางสรีรจิตสังคมของมารดา-ทารกในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอด ระยะหลังคลอดและทารกแรกเกิดปกติ หลักการพยาบาลสตรีในระยะตั้งครรภ์ระยะคลอดระยะหลังคลอด ทารกแรกเกิดปกติและครอบครัวแบบองค์รวมโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ การเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดา-ทารกและครอบครัว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

พยคร ๓๒๕ การพยาบาลสาธารณภัยและฉุกเฉิน ๒ (๒ - ๐ - ๔)

สาธารณภัย แผน การจัดการสาธารณภัยและภาวะฉุกเฉิน การวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์การช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้น การแก้ไขปัญหาคุกคามชีวิต การติดต่อประสานงานการส่งต่อเพื่อการรักษา และการช่วยเหลือด้านจิตใจของผู้ประสบภัยญาติ และผู้ให้การช่วยเหลือภายหลังประสบเหตุ

พยคร ๓๒๖ จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)

แนวคิดจริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาล สิทธิของผู้ป่วย ประเด็นปัญหาจริยธรรมและกฎหมายในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

พยคร ๓๒๗ การบริหารจัดการการพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)

แนวคิดและหลักการบริหารจัดการการพยาบาล การวางแผนงาน การจัดองค์กรพยาบาล การจัดระบบการบริการพยาบาล การมอบหมายงาน การบริหารงานบุคคล การจัดอัตรากำลัง การอำนวยการการพยาบาล การเสริมสร้างพลังอำนาจ การควบคุมคุณภาพการพยาบาล

พยคร ๓๒๘ สัมมนาประเด็นและแนวโน้มวิชาชีพการพยาบาล     ๒ (๒-๐-๔)

สัมมนาประเด็นและแนวโน้มที่มีผลกระทบต่อวิชาชีพการพยาบาล ด้านการศึกษา การบริการ การบริหาร และการวิจัย การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และระบบสุขภาพ การพัฒนาตนเอง และวิชาชีพการพยาบาล การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

พยสจ ๓๐๑ การพยาบาลจิตเวช        ๓ (๓-๐-๖)

การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิต แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานในการพยาบาลจิตเวช การบำบัดทางจิตเวช การพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลทุกวัยที่มีการเจ็บป่วยทางจิตในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง ทั้งในโรงพยาบาลและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน

พยสธ ๓๐๒ การพยาบาลอนามัยชุมชน ๓ (๓-๐-๖)

การดูแลชุมชน กระบวนการพยาบาลชุมชน กลวิธีการดำเนินงานสาธารณสุขการดูแลต่อเนื่อง การดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยในครอบครัวกลุ่มคน และชุมชน

พยสน ๔๐๑ การพยาบาลมารดา -ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๓ (๓-๐-๖)

การพยาบาลมารดา-ทารกที่มีภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และการคลอดผิดปกติ การทำสูติศาสตร์หัตถการ การใช้ยาทางสูติศาสตร์ โดยใช้หลักการพยาบาลแบบองค์รวม ในการสร้างเสริม การฟื้นฟู การป้องกัน และการควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ การสร้างเสริมสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว

พยสธ  ๔๐๔ การรักษาพยาบาลขั้นต้น       ๑ (๑-๐-๒)

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพ การวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาลขั้นต้น การส่งต่อผู้ใช้บริการที่มีปัญหาและโรคในระบบต่างๆ ตามขอบเขตของกฎหมายวิชาชีพ

๒.๒.๒ กลุ่มวิชาปฏิบัติ

พยคร ๒๘๑ ปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางการพยาบาล ๑ (๐-๔-๑)

ปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลบนหอผู้ป่วย ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของบุคคล คำนึงถึงสิทธิของบุคคลและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยกม ๓๘๒ ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น   ๓ (๐-๑๒-๓)

ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในทารก เด็กและวัยรุ่น ที่มีความเจ็บป่วยเฉียบพลันและเรื้อรัง ในระบบทางเดินอาหาร ระบบหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบโลหิตวิทยาและมะเร็ง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบผิวหนัง และผู้ป่วยเด็กที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล ส่งเสริมผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลตนเองต่อเนื่องที่บ้าน โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยอย   ๓๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๑              ๓ (๐-๑๒-๓)

การปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพจากระบบหายใจ หัวใจ เลือด การไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน การติดเชื้อ ผิวหนัง ระบบทางเดินปัสสาวะ มะเร็ง ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และ เรื้อรัง ที่ได้รับการรักษาทางอายุรศาสตร์ โดยประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีและหลักฐานเชิงประจักษ์เพื่อการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม และครอบคลุมด้านการดูแล การรักษา การป้องกัน และการส่งเสริมฟื้นฟูสภาพ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การรักษา และระบบบริการสุขภาพโดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ความแตกต่างทางสังคม ศาสนา และวัฒนธรรมของผู้ป่วยแต่ละรายสามารถวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมโดยสร้างเสริมศักยภาพในการดูแลตนเอง และการมีส่วนร่วมของครอบครัว

พยศศ  ๓๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๒            ๓ (๐-๑๒-๓)

การปฏิบัติพยาบาลแบบองค์รวมในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาสุขภาพในระบบหัวใจ ทรวงอกและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ชาย ระบบสืบพันธุ์สตรี ตา หู คอ จมูก ต่อมไทรอยด์และเต้านม ที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรม ทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมปัญหาที่คุกคามสุขภาพ การฟื้นฟูสภาพ มุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเอง โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

พยสน ๓๘๔ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา -ทารกและการผดุงครรภ์ ๑      ๓ (๐-๑๒-๓)

ฝึกปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกแบบองค์รวมในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด นำกระบวนการพยาบาลมาใช้และผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแล การวางแผนการจำหน่าย การดูแลต่อเนื่องที่บ้าน เสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองและเสริมสร้างสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ใช้บริการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

พยสธ ๔๘๔ ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน   ๓ (๐-๑๒-๓)

ประเมินสุขภาพชุมชน วินิจฉัยปัญหาและความต้องการ วางแผนและดำเนินการดูแลสุขภาพชุมชนอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของชุมชน การใช้แหล่งประโยชน์ การผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีชุมชน ประเมินผลการดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัวและชุมชน

พยสธ  ๔๘๕ ปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น              ๒ (๐-๘-๒)

ประยุกต์ความรู้ในศาสตร์ของการตรวจรักษาโรคเบื้องต้น และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยการซักประวัติ ตรวจร่างกาย แปลผลการตรวจร่างกาย แปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คัดกรองผู้รับบริการ วินิจฉัยโรคให้การรักษาพยาบาลขั้นต้น บันทึกการตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น และให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และส่งต่อผู้รับบริการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

พยสจ ๔๘๒ ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช ๒ (๐-๘-๒)

ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลทุกวัยที่มีการเจ็บป่วยทางจิต สามารถนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ร่วมกับการบำบัดรักษาทางจิตเวช และวางแผนจำหน่ายโดยนำครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม ให้การพยาบาลโดยรักษาสิทธิของผู้รับบริการและคำนึงถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสน ๔๘๑ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา -ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๓ (๐-๑๒-๓)

ฝึกปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม โดยใช้กระบวนการพยาบาลผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ในมารดา-ทารกที่มีภาวะเสี่ยงในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด การเฝ้าคลอด การทำคลอดปกติ การช่วยเหลือการคลอดในรายปกติและรายผิดปกติ การวางแผนการจำหน่าย การดูแลอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างศักยภาพในการดูแลตนเองของบุคคล ส่งเสริมสัมพันธภาพมารดา-ทารก และครอบครัว โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ใช้บริการ และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

พยคร ๔๘๒ ปฏิบัติการบริหารจัดการการพยาบาล ๒ (๐-๘-๒)

การปฏิบัติบริหารจัดการในคลินิก การจัดระบบการให้การพยาบาล การนำทีมการพยาบาล การวางแผน การมอบหมายงาน การประสานงาน การนิเทศ การประเมินผลงาน การตัดสินใจทางการพยาบาล

พยคร ๔๘๘ ปฏิบัติเสริมทักษะทางการพยาบาล ๒ (๐-๘-๒)

ฝึกปฏิบัติการพยาบาลในสาขาการพยาบาลที่ผู้เรียนสนใจ เสริมทักษะการพยาบาลในฐานะพยาบาลวิชาชีพ นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวม ร่วมทำงานกับทีมสุขภาพ ตัดสิน ใจทางการพยาบาลโดยคำนึงถึงสิทธิผู้ใช้บริการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

๓. หมวดวิชาเลือกเสรี 

นักศึกษาจะต้องเลือกอย่างน้อย ๖ หน่วยกิตจากวิชาใดๆ ก็ได้ ที่เปิดสอนในคณะอื่นๆ ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษา หรือตามที่หลักสูตรกำหนด

พยคร ๒๑๗ การพัฒนาตนตามหลักศาสนา ๒ (๒-๐-๔)

หลักธรรมในศาสนา กฎแห่งธรรมชาติ กรรมและผลของกรรม การพัฒนาตน หลักการเรียนรู้ คุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ในวิชาชีพอย่างมีคุณค่า

สมมน ๑๑๐ มนุษย์กับวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)

ความหมาย ประเภท องค์ประกอบ และหน้าที่ของวัฒนธรรม รูปแบบการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม บรรทัดฐานและการจัดระเบียบทางสังคม การปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์และวัฒนธรรมท้องถิ่น

สมสค ๑๐๗ สังคมกับสุขภาพ  ๒ (๒-๐-๔)

ความหมายเชิงสังคมของสุขภาพ สุขภาพในฐานะผลรวมของระบบสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ชนชั้นวัฒนธรรมและสุขภาพ ความเชื่อมโยงระหว่างโครงสร้าง และความสัมพันธ์ทางสังคมต่อสุขภาวะของปัจเจกและชุมชน ความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความแตกแยกทางสังคม กับปัญหาสุขภาพ สังคมสมานฉันท์กับสุขภาพ นโยบายสาธารณะกับสุขภาพ

สมสค ๑๑๒ ทักษะการใช้ชีวิตสมัยใหม่ ๒ (๒-๐-๔)

วิถีชีวิตในสังคมยุคใหม่ ผลกระทบของชีวิตยุคใหม่ต่อสุขภาพทางชีวิตทางกาย ทางสังคม และสุขภาพทางจิต ปัญหา (ทุกข์) จากการใช้ชีวิตของคนในยุคใหม่ (การบริโภค สิ่งแวดล้อม ความเครียด ความว้าเหว่ โดดเดียว การพึ่งพิงวัตถุภายนอก ความก้าวร้าว ความสับสน ฟุ้งซ่านของจิต การขาดเป้าหมายในชีวิต) มูลเหตุ(สมุทัย) ของวิกฤติชีวิตในสังคมยุคใหม่ หลักของการดำเนินชีวิตในสังคมยุคใหม่อย่างสงบและสุข (นิโรธ)ทักษะและเทคนิคการใช้ชีวิตที่มีดุลยภาพและเป็นสุขในท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม (มรรค) เช่น การสมาธิ ภาวนา การเจริญสติ การออกกำลังกายอย่างระวัง (โยคะ ไทเก็ก) การสร้างสังคมกัลยาณมิตร ทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีสมานฉันท์ และสามารถยอมทนต่อความแตกต่างได้ ความสามารถในการแสวงหาและเลือกบริโภคข้อมูล และการเป็นสมาชิกที่รับผิดชอบและมีจิตสำนึกในสังคมสาธารณะ

สมสค ๑๓๕ เศรษฐศาสตร์สุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)

ปัญหาสุขภาพในทัศนะของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ แนวคิดและเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ประยุกต์ ใช้กับประเด็นของสุขภาพ อุปสงค์และอุปทานของบริการสุขภาพ ลักษณะของบริการสุขภาพ ประเภทของตลาด การพัฒนาเศรษฐกิจกับการทำงานของระบบสุขภาพ รวมถึงการค้าระหว่างประเทศกับบรรษัทข้ามชาติในอุตสาหกรรมสุขภาพ การคลังสาธารณสุข การประกันสุขภาพ และต้นทุนกับการประเมินโครงการสุขภาพ

สมมน ๑๐๗ จริยศาสตร์ทางการแพทย์ ๒ (๒-๐-๔)

ความสัมพันธ์ระหว่างจริยศาสตร์กับการแพทย์ การใช้เหตุผลทางจริยศาสตร์การวิเคราะห์ปัญหาจริย-ธรรมที่เกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล บทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบ ทัศนคติแบบวางเฉย (Indifference หรือ Impersonal attitude) ของแพทย์ พยาบาล ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย การทดลองหรือวิจัยในคน การทำแท้ง การผสมเทียม การเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การควบคุมทางพันธุกรรม การสไตรค์ของบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข

สมมน ๑๐๘ มนุษย์สัมพันธ์กับการพัฒนาตน ๒ (๒-๐-๔)

หลักและวิธีการมนุษยสัมพันธ์และการพัฒนาตนเองตามคำสอนของพุทธศาสนา เช่น วิธีสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีในหมู่เพื่อนร่วมงานและสมาชิกในสังคม ศิลปะการทำงานร่วมกัน การบริหารงานตามหลักคำสอนพุทธศาสนา การปลูกสร้างสัมมาทิฐิและอุดมคติในการทำงาน วิธีปฏิบัติสมาธิตามแนวพุทธศาสนา ศิลปะการพูดในที่สาธารณะ

สมมน ๑๑๗ สตรีกับการพัฒนา ๒ (๒-๐-๔)

บทบาทของสตรีในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อิทธิพลของปัจจัย ทางด้านการ เมืองเศรษฐกิจ และสังคมต่อบทบาทของสตรี ความแตกต่างระหว่างสตรีในสังคมเมืองและสังคมชนบทในประเทศไทย การพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับสตรี

วกศท ๑๐๑ แอโรบิกเพื่อสุขภาพ       ๒ (๒-๐-๔)

ความสำคัญของการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ประโยชน์ หลักการพื้นฐานของฝึกเต้นแอโรบิก ทักษะการเคลื่อนไหวในการเต้นแอโรบิก ความปลอดภัย และกิจกรรมอื่นๆ เช่น แอโรบิกในน้ำ ศิลปะการต่อสู้ประกอบเพลง

วกศท ๑๐๒ โยคะเพื่อสุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)

ประวัติ ความหมาย สถานที่และอุปกรณ์ และประโยชน์ ของการฝึกโยคะ การเตรียมพร้อมของร่างกาย การยืดเหยียดข้อต่อและกล้ามเนื้อ เทคนิคการเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ การฝึกท่าอาสนะต่างๆ การควบคุมลมหายใจ ปราณายามะ การผ่อนคลายอย่างลึกและความปลอดภัยในการฝึก

วกศท ๑๐๙ ว่ายน้ำ  ๒ (๒-๐-๔)

ความสำคัญ ประโยชน์ ความปลอดภัย กฎและระเบียบ มารยาท การแต่งกาย ทักษะ เบื้องต้นในการว่ายน้ำ เช่น การหายใจ การลอยตัว การเคลื่อนไหวขา ทักษะการว่ายท่าฟรีสไตล์ ท่ากรรเชียงและท่ากบ

วกศท ๑๑๒ ลีลาศ   ๒ (๒-๐-๔)

ประโยชน์ กติกา และกฎเกณฑ์ ความปลอดภัยและการแต่งกาย ทักษะพื้นฐานใน การเต้นลีลาศเช่น จังหวะวอลซ์ (waltz), คิวบัน-รัมบ้า (Cuban-Rumba), ช่า ช่า ช่า (Cha Cha Cha)

วกศท ๑๑๔ แบดบินตัน ๒ (๒-๐-๔)

ประโยชน์ กติกา การแต่งกาย ความปลอดภัย ทักษะพื้นฐานในการเล่น เช่น การเคลื่อนที่ของเท้า การตีลูกหน้ามือ ลูกหลังมือ การเสิร์ฟ การตีลูกดาด การตีลูกตัดหยอด การตบ กลยุทธ์ และยุทธวิธีการเล่นเป็นทีมทั้งประเภทเดี่ยวและคู่

 

 

 

 

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th