คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ปัญญาของแผ่นดิน

ข้อมูลทั่วไป
ประวัติภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
พันธกิจ และ วิสัยทัศน์
การเรียนการสอน
การวิจัย
ส่งเสริมและบริการวิชาการ
การจัดการความรู้
ศูนย์ความเป็นเลิศ
staff
contact us
ข่าว
faculty homepage
university homepage

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

research

Share & Learn: รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางคลินิก

อาจารย์ ดร.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ วิทยากร
อาจารย์ปิโยรส เกษตรกาลาม์ ผู้ลิขิต


สิ่งที่ต้องสอนในคลินิก What am I teaching? สอนอะไรบ้าง

สิ่งที่ต้องสอนในคลินิก แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ

1. Cognitive - Analysing การวิเคราะห์ข้อมูล
- Synthesizing การสังเคราะห์ข้อมูล
- Evaluating การประเมิน

2. Affective - Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ
- Empathy ความเอาใจใส่
- Expectation ความคาดหวัง
- Listening การฟัง

3. Psychomotor- Gestures ท่าทาง
- Health สุขภาพ

สิ่งที่ต้องคำนึงเมื่อสอนในคลินิก ได้แก่ บริบทของสถานที่ เนื้อหา นักเรียน ผู้สอน รูปแบบ/ท่าทางการสอน

Who am I teaching? สอนใคร

ต้องมีการประเมินก่อนว่าผู้เรียนเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานมากน้อยแค่ไหน แล้วจึงเลือกเนื้อหา รูปแบบหรือวิธีการสอนให้เหมาะกับผู้เรียนนั้นๆ ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับผู้สอน ผู้ป่วย และบริบทของสถานที่เรียนด้วย

How will I teach it? สอนอย่างไรในคลินิก

รูปแบบการสอนในคลินิกมีหลายรูปแบบ ซึ่งการเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับผู้เรียน ผู้สอน ผู้ป่วย และบริบทของหอผู้ป่วย
- Experiential teaching methods: clinical assignment, written assignment (care plan, case study, journal), Simulation & Game
- Problem solving methods: โดยถามจากสถานการณ์ให้ผู้เรียนฝึกการแก้ปัญหา ฝึกการตัดสินใจจากสถานกาณ์ และฝึกแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุบัติการณ์ต่างๆ (Incident)
- Conference: Pre/post conference, clinical conference
- Observation: field trip, nursing round, demonstration
- Multimedia: print, electronic
- Questioning
- Feedback
- Reflection

การสอนในคลินิก Conference

ความหลากหลายของรูปแบบการ Conference เช่น การทำ Pre-Post conference, Bed side teaching, Content conference

ž - ทำทุกวันที่ขึ้นฝึก ? (ยกเว้น วันปฐมนิเทศ) ควรทำทุกวันหรือไม่ ทำอย่างน้อยกี่ครั้ง/สัปดาห์

อาจไม่ได้ Pre conference ทุกวันขึ้นอยู่กับบริบทและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบนหอผู้ป่วย ซึ่งการ Pre conference ผู้ป่วยทั้งหอผู้ป่วย หรือเฉพาะทีมที่มีผู้เรียนขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่และบริบทของหอผู้ป่วยนั้นๆ แต่ควรจะ Pre conference ทุกวันโดยเฉพาะใน case ที่ผู้เรียนดูแล เพื่อเป็นการประเมินความรู้ ความเข้าใจ และการเตรียมความพร้อมเพื่อการดูแลผู้ป่วย อีกทั้งยังสามารถเพิ่มเติมในประเด็นที่ผู้เรียนอาจจะลืมนึกถึง

ž - ทำนานแค่ไหน 15, 20, 30, 60, 90 นาที

ž ไม่ควรเกิน 45 นาที

- ทำโดยใคร พี่หัวหน้าทีม พี่ senior ครู/ preceptor

ควรเป็นหัวหน้าทีมในวันนั้น เนื่องจากได้ดูแลผู้ป่วยและได้ทราบถึงการพยากรณ์โรคอย่างต่อเนื่อง สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่ผู้เรียนได้ครอบคลุม แต่หากหัวหน้าทีมไม่สะดวกในการทำ Pre conference อาจารย์ประจำหอผู้ป่วยนั้นๆควรจะ Pre conference ให้ผู้เรียนก่อนเข้าไปให้การดูแลผู้ป่วย

- เนื้อหา ความลึก / scope แค่ไหน และวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ของการ Pre conference เพื่อให้ผู้เรียนได้ให้การพยาบาลอย่างครอบคลุมปัญหาของผู้ป่วย และสามารถป้องกันการเกิดอันตรายต่างๆที่อาจเกิดกับผู้ป่วยได้ อีกทั้งยังเพิ่มความมั่นใจในการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยรายนั้น โดยการช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นถึงปัญหาของผู้ป่วย การวางแผนการให้การพยาบาล การประเมินเมื่อให้การพยาบาลเสร็จ และสามารถรายงานผู้ร่วมทีมถึงอาการผิดปกติของผู้ป่วยได้ การ Pre conference ควรเน้นการดูแลผู้ป่วยในแต่ละราย ถ้าหากเป็นรายละเอียดอื่นให้เพิ่มเติมแก่นักเรียนในการทำ Post conference

การทำ Post conference เช่น โรค หรือ case ของผู้เรียน หรือ Feedback care plan เป็นการลงรายละเอียดเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน หลังจากผู้เรียนได้ให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแล้ว อาจเป็นประเด็นที่สงสัย หรือเนื้อหาที่อาจารย์ต้องการสอนผู้เรียนเพิ่มเติม หรือเป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้เรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับปรุงตนเอง

How will I know if the students understand? จะทราบได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีความเข้าใจ

มีการประเมินความรู้ ความเข้าใจผู้เรียนเป็นระยะ อาจจะใช้รูปแบบการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนตอบ หรือเป็นเป็นประเด็นคำถามและให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์

 

 

 

                   *************************************************************

 



             คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
             © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553, ติดต่อเว็บมาสเตอร์:nswww@mahidol.ac.th