คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ปัญญาของแผ่นดิน

ข้อมูลทั่วไป
ประวัติภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
พันธกิจ และ วิสัยทัศน์
การเรียนการสอน
การวิจัย
ส่งเสริมและบริการวิชาการ
การจัดการความรู้
ศูนย์ความเป็นเลิศ
staff
contact us
ข่าว
faculty homepage
university homepage

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

research

Share & Learn: Clinical Teaching ปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล วิทยากร
อาจารย์ประพัฒน์สินี ประไพวงษ์ ผู้ลิขิต


กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวข้อ Share & Learn: Clinical Teaching ปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้

ภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อ Sharing experience of clinical teaching ในวันพุธที่ 16 กรกฎาคม 2557 โดยมีผศ.ดร.ศรัณยา โฆสิตะมงคล เป็นวิทยากรและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การสอนทางคลีนิคในประเด็นต่างๆ สรุปได้ดังนี้

1. การทำ Small group discussion คือ การจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 2-3 คนให้ช่วยกันจัดท่าผู้ป่วยที่เป็น hemiparesis หรือผู้ป่วยที่เป็น hemiplegia ในการพลิกตะแคงตัว จากนั้นเป็นการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงลงรถ wheelchair ซึ่งจะหัดให้นักศึกษาทำในห้องฝึกปฏิบัติการ LRC ก่อน จากนั้นจึงจะทำในผู้ป่วยจริงบนหอผู้ป่วย

2. Reflection with diary คือ การสะท้อนความคิด ความรู้สึกของนักศึกษาออกมาในรูปแบบของการเขียน โดยการใช้ diary เป็นสื่อกลาง ซึ่งจากการสะท้อนคิดทำให้นักศึกษาพบว่าตนเองบกพร่องตรงส่วนไหน แล้วจะต้องทำอย่างไร แก้ไขอย่างไร ทำให้เด็กรู้ว่าจะต้องกลับไปศึกษาในส่วนไหนเพิ่มเติมและการใช้ diary ยังทำให้รู้ว่านักศึกษามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการขึ้นฝึกปฏิบัติ เช่น เด็กสะท้อนว่า "กลัว วิตกกังวล เกร็งไปหมดกับการขึ้น ward วันแรก" ซึ่งทำให้อาจารย์ทราบถึงความรู้สึกของนักศึกษา แล้วจะเข้าไป support เด็กได้อย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ diary ยังทำให้อาจารย์ผู้สอนรู้ว่านักศึกษายังไม่เข้าใจอะไร หรือสงสัยอะไร อาจารย์จะได้อธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของนักศึกษา ดังนั้นการเขียน diary จึงเป็นเรื่องที่ดี ที่ทำให้อาจารย์กับนักศึกษาได้สื่อสารกันมากขึ้น ดังคำที่ว่า "ยิ่งwrite ยิ่งใกล้"

3. Content conference คือ การนำหัวข้อที่น่าสนใจที่จะเรียนรู้นำมาอภิปรายร่วมกัน เช่น การให้นักศึกษาทำเรื่องแผลกดทับ แล้วมานำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ โดยการทำ Content conference นั้นจะทำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อการขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ

4. การทำ Journal club โดยการให้นักศึกษาหา article ที่น่าสนใจ และคิดว่ามีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยของตนเองมานำเสนอ ซึ่งการทำ Journal club นั้นยังใหม่กับนักศึกษาแต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ยากมากนักในการหา และการแยกแยะ article ที่มีประโยชน์ ซึ่งในตอนแรกนั้นนักศึกษาจะรู้สึกตื่นเต้น และกังวล ไม่ค่อยกล้าพูด แต่พอได้ทำสักพักนักศึกษาจะเริ่มสนุก และตื่นเต้นในการทำ

5. การทำ Mapping โดยการให้นักศึกษาเขียนโรคของผู้ป่วยที่นักศึกษาได้รับออกมาในรูปของMapping จากการทำพบว่านักศึกษาชอบการทำในรูปแบบนี้ เนื่องจากทำให้รู้ความเป็นมาของโรคมากขึ้น และเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

6. Questioning โดยการให้นักศึกษาจับคู่กันเป็นพยาบาลและผู้ป่วย ให้จับสลากเลือกโจทย์ จากนั้นผู้ป่วยแสดงบทบาทตามโจทย์ที่ได้รับ แล้วให้คู่ที่เป็นพยาบาลพยายามหาคำตอบว่าผู้ป่วยต้องการอะไร แล้วต้องให้การดูแลผู้ป่วยอย่างไร แล้วสลับบทบาทกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ซึ่งจากการทำ Questioning นี้ คือสิ่งที่ต้องเจอในชีวิตจริงของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้เข้าใจผู้ป่วยมากขึ้น และจะต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไร

7. Learn from real คือการเรียนรู้จากของจริง เช่นการฝึกประคองผู้ป่วย การฝึกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น การขึ้นฝึกปฏิบัติที่หอผู้ป่วยเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 11นั้น จะให้นักศึกษาตามนักกายภาพบำบัดไปตอนที่ผู้ป่วยรับการฝึก ซึ่งนักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้สอน โดยมีอาจารย์คอยควบคุม หรือกรณีที่ผู้ป่วยมีการตรวจพิเศษอื่นๆ ก็จะให้นักศึกษาได้ตามผู้ป่วยไปดู จากนั้นจึงให้นักศึกษากลับมาเล่าให้อาจารย์และเพื่อนๆฟังว่าผู้ป่วยไปทำการตรวจอะไร และมีขั้นตอนการเตรียม การตรวจอย่างไรบ้าง

8. เสื่อ คือการให้นักศึกษาเขียนเชื่อมโยงกันของพยาธิสรีรวิทยาของโรค การเกิดของโรค การรักษา และการให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วย ซึ่งจากการทำเสื่อนั้นจะทำให้นักศึกษาได้เข้าใจโรคที่ผู้ป่วยเป็นได้มากขึ้น มีการคิดเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น เข้าใจถึงปัจจัย และโยงความสัมพันธ์ในการดูแลผู้ป่วยได้ดีขึ้น

                   *************************************************************

 



             คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
             © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553, ติดต่อเว็บมาสเตอร์:nswww@mahidol.ac.th