Language:
  • หน้าหลัก
  • หลักสูตร
    • หลักสูตรปริญญาตรี
    • หลักสูตรปริญญาโท
    • หลักสูตรปริญญาโท (นานาชาติ)
    • หลักสูตรปริญญาเอก
    • หลักสูตรปริญญาเอก (นานาชาติ)
    • หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง
  • วิจัย
    • NS Experts
    • ผลงานวิจัย
    • ติดต่อ
  • บริการวิชาการ
    • ศูนย์บริการวิชาการ
    • วารสารทางการพยาบาล
    • ตำรา
    • บทความทางวิชาการ
  • เครือข่ายความร่วมมือ
    • เครือข่ายความร่วมมือภายในประเทศ
    • เครือข่ายความร่วมมือต่างประเทศ
  • ชีวิตนักศึกษา
    • งานพัฒนานักศึกษา
    • บริการ และสวัสดิการนักศึกษา
    • การพัฒนานักศึกษา
    • ชีวิตนักศึกษา
    • กิจกรรมนักศึกษา
  • สิ่งสนับสนุนการศึกษา
    • ศูนย์ข้อมูลและคลังความรู้ฯ
    • Learning Resource Center
  • พิพิธภัณฑ์
    • พิพิธภัณฑ์การพยาบาลไทย
    • หอพระราชประวัติศรีสวรินทิราราชภักดี
    • หอพระราชประวัติบรมราชบุพการีกิตติประกาศ
    • ห้องนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ "นราธิวาสกัลยาณวัฒน์"
    • ปฏิทินกิจกรรมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
    • ขั้นตอนขอเข้าชมหอพระราชประวัติฯ และพิพิธภัณฑ์ฯ
  • เกี่ยวกับเรา
    • รู้จักองค์กร
    • ผู้บริหาร
    • ภาควิชา / หน่วยงาน / ศูนย์
    • สถาบันสมทบ
    • ติดต่อเรา
  • ข่าวสาร
    • ปฏิทินกิจกรรม
    • กิจกรรมที่ผ่านมา
    • จัดซื้อจัดจ้าง
    • สมัครงาน
    • จดหมายข่าว
  • บริจาค

หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๕
(สำหรับปีการศึกษา ๒๕๖๕-๒๕๖๙)

  • ข้อมูลหลักสูตร
  • โครงสร้างหลักสูตร
  • แผนการจัดการเรียนการสอน
  • คำอธิบายรายวิชา
  • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs)
  • การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาระบบ TCAS
  • คุณสมบัติผู้สมัคร
  • อัตราค่าเล่าเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย






ติดต่อสอบถาม

งานบริการการศึกษา
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต

Tel: ๐๒-๔๔๑-๕๓๓๓ หรือ
       ๐๒-๔๔๑-๕๒๔๗ ถึง ๘๐
       ต่อ ๒๑๒๒-๒๑๒๕
ontact@domain.com


คำอธิบายรายวิชา

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

๑. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มมศท ๑๐๐ การศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การเป็นบัณฑิตที่เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในบริบทของตนเอง บูรณาการความรู้ศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวมเพื่อหาเหตุปัจจัยของประเด็นสำคัญ พูดและเขียนเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ตามวัตถุประสงค์ รับผิดชอบ เคารพความคิดเห็นที่หลากหลายและมุมมองที่แตกต่าง เป็นผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่มและทำงานร่วมกันเป็นทีมในการเสนอวิธีแก้ปัญหา หรือแนวทางการจัดการประเด็นสำคัญอย่างเป็นระบบตามหลักการวิจัยเบื้องต้น ประเมินผลกระทบของประเด็นสำคัญทั้งเชิงบวกและลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้สติและปัญญาเพื่อให้อยู่กับสังคมและธรรมชาติได้อย่างมีความสุข

พยคร ๑๑๐ เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศทางสุขภาพ ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบสารสนเทศทางสุขภาพ วิทยาการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศทางสุขภาพ การสื่อสารในยุคดิจิทัล กฎหมายข้อมูลข่าวสารและจริยธรรมเพื่อการใช้และเผยแพร่สารสนเทศทางสุขภาพ การสืบค้นข้อมูลทางสุขภาพ การประเมินสารสนเทศ ระบบสารสนเทศด้านการศึกษา การวิจัย การบริหารและการปฏิบัติทางสุขภาพ ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล การพัฒนาระบบสารสนเทศทางสุขภาพ แนวคิดนวัตกรรมและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ การออกแบบสื่อการเรียนการสอนทางสุขภาพ การออกแบบและจัดทำฐานข้อมูลขนาดเล็กทางสุขภาพ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานทางสุขภาพ

สมศษ ๑๓๓ นักการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความรู้พื้นฐานและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการตลาด การเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก หลักการวางแผนธุรกิจ การใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสืบค้น วิเคราะห์สารสนเทศเพื่อใช้สื่อออนไลน์ เทคนิคการออกแบบนวัตกรรมสินค้าและบริการ เทคนิคการออกแบบการตลาดและประชาสัมพันธ์ การสร้างต้นแบบธุรกิจขนาดเล็ก องค์ประกอบในการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก คุณค่าของการเป็นผู้นำ ความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการคิดบวกที่เหมาะสม และการทำการตลาดแบบกองโจร

พยคร ๒๒๔ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิด ความสำคัญ ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักการพื้นฐานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสื่อสาร การปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือมารดาและทารกให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ต่อเนื่องถึงช่วงเด็กปฐมวัย วิเคราะห์และวางแผนแก้ปัญหา ให้การปรึกษาแก่มารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

วทศท ๑๐๓ ฟิสิกส์สำหรับผู้ประกอบการในอนาคต ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการเชิงฟิสิกส์ของนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ผู้ประกอบการในอนาคตควรจะรู้ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ นวัตกรรมที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ฉลาดเพื่อการดูแลสุขภาพ อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน ฟิสิกส์กับความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม การเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมที่อาศัยหลักการทางฟิสิกส์ผ่านการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารต่อบุคคลอื่น

วศคร ๑๐๒ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

พื้นฐานการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวคิดของการจัดการกระบวนการ การพัฒนาด้านการบริการ โครงสร้างการจัดการนวัตกรรม การระบุความต้องการของลูกค้า การพัฒนาและเลือกแนวคิด การทดสอบแนวคิด การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบเพื่อการผลิต สิทธิบัตรและการคุ้มครอง การจัดการโครงการ กรณีศึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา จริยธรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

ศศศศ ๑๖๑ ความรู้เรื่องอาเซียนเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การเป็นผู้ประกอบการ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ การบริหารธุรกิจ ประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองการปกครอง ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ การท่องเที่ยว ศาสนาและความเชื่อ และสิ่งแวดล้อมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การก่อตั้งและกรอบความร่วมมือของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สวศท ๑๐๕ บูรณาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดสำหรับ “สุขภาพ” และ “สิ่งแวดล้อม” มิติและระดับของสุขภาพ และปัจจัยที่กำหนดสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การปฏิรูประบบสุขภาพ การพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์สำหรับการเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ระบบสารสนเทศเพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสิ่งแวดล้อม นโยบายสุขภาพสาธารณะ กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำเนินชีวิตเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการบูรณาการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกับอาชีพ

สวศท ๑๐๙ นวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคนิคเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพ กระบวนการจัดการนวัตกรรม นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์อาหารและอาหารปลอดภัย นวัตกรรมด้านการเกษตร นวัตกรรมด้านสุขภาพ นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมและทรัพย์สินทางปัญญา การวางแผนการจัดการโครงการ ศึกษาดูงานนอกสถานที่

สวศท ๑๑๒ การจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมสำหรับชีวิตประจำวัน ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

สถานการณ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงาน ประเภทแหล่งกำเนิดของพลังงาน รูปแบบการใช้พลังงานกับการดำเนินชีวิตในสังคม โลก ความสัมพันธ์ของพลังงานและสิ่งแวดล้อมกับการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ การอนุรักษ์พลังงานในชีวิตประจำวัน แนวทางการใช้พลังงานในอนาคต การวางแผนจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การศึกษาดูงานนอกสถานที่ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ดคศท ๑๐๑ ออกแบบชีวิต ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปรัชญาและความหมายของชีวิต เป้าหมายและการวางแผนชีวิต บทบาทของครอบครัว ความปลอดภัยในชีวิต เสวนาชีวิต การออกแบบชีวิตมิติโลกกายภาพ ภูมิคุ้มกันและนวัตกรรมชีวิต การออกแบบชีวิตมิติโลกเสมือนจริง สถาปัตยกรรมสมอง ผู้ประกอบการชีวิต วิพากษ์ชีวิต พลังความคิดบวก การนำเสนอโครงงานของนักศึกษา

วทศท ๑๓๓ วิทยาการข้อมูลเพื่อทุกคน ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาการข้อมูล การประยุกต์วิทยาการข้อมูลในปัจจุบัน การจัดการข้อมูลที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่ การใช้วิธีการเรียนรู้ของเครื่องเพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจ การสืบค้นข้อมูลเพื่อวางแผนการทำงานร่วมกัน เทคนิคในการนำเสนอข้อมูล

วทศท ๑๘๐ รู้ทันวิทยาศาสตร์สุขภาพในสื่อ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ข่าวที่แชร์อย่างแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ โฆษณาอาหารเสริมสุขภาพ โฆษณายาสมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระในสินค้าอุปโภคบริโภค ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ศัลยกรรมตบแต่ง สเต็มเซลล์ในสินค้าอุปโภคบริโภค การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก ยาลดน้ำหนัก การฝึกทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ การฝึกทักษะการสืบค้นข้อมูลและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำงานกลุ่มและนำเสนอในห้องเรียน กฎหมายที่เกี่ยวกับการแชร์สื่อสังคมออนไลน์

สมมน ๑๖๑ พลวัตของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความหมายของพลวัตกลุ่ม ธรรมชาติ ประเภทของกลุ่ม และพฤติกรรมกลุ่ม การพัฒนาทีม การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำกลุ่ม การสื่อสารของกลุ่ม การจัดการความขัดแย้งของกลุ่ม จริยธรรมและมารยาทของกลุ่ม

สมมน ๑๖๖ มนุษย์และสังคมในโลกดิจิทัล ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความหมายของเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์เทคโนโลยี ปรัชญาเทคโนโลยีและสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีดิจิทัล ตัวตน อัตลักษณ์และความเสี่ยงในโลกดิจิทัล จริยศาสตร์เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ ผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อวัฒนธรรมและศาสนา

สมมน ๑๗๒ วัฒนธรรมเปรียบเทียบ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความหมายและองค์ประกอบของวัฒนธรรม การกล่อมเกลาทางสังคม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ศาสนากับวัฒนธรรม โลกาภิวัตน์ วัฒนธรรมสมัยนิยม วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต และการเปรียบเทียบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

สมมน ๑๗๓ วาทศาสตร์สำหรับภาวะผู้นำ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดและทฤษฎีเรื่องภาวะผู้นำ ความหมายและขอบเขตของวาทศาสตร์ ความสำคัญของวาทศาสตร์ต่อภาวะผู้นำ ความมีเหตุผล ความน่าเชื่อถือ ความน่าจูงใจ เป้าหมาย และกาลเทศะในการสื่อสารด้านวัจนและอวัจนภาษาของผู้นำ และวิเคราะห์ตัวอย่างด้านวาทศาสตร์ของผู้นำ

สมมน ๑๗๖ ศิลปะพิธีกร ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักวาทศิลป์พื้นฐาน ความหมายและความสำคัญของพิธีกร คุณสมบัติและบุคลิกภาพพื้นฐานของพิธีกร บทบาทหน้าที่ของพิธีกร การใช้หลักวาทศิลป์สำหรับพิธีกร การเขียนบทและการเตรียมข้อมูลสำหรับพิธีกร มารยาทและจริยธรรมสำหรับพิธีกร

สมศษ ๑๒๘ การออกแบบนวัตกรรมการออกกำลังกาย ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

นวัตกรรม หลักการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม เทคนิคการสืบค้นและวิเคราะห์สารสนเทศเพื่อออกแบบนวัตกรรม เทคนิคการออกแบบนวัตกรรม เทคนิคการออกแบบนวัตกรรมแบบเล่นและเรียนรู้ การสร้างต้นแบบนวัตกรรม องค์ประกอบในการออกกำลังกาย คุณค่าของการออกกำลังกาย ความฉลาดทางอารมณ์ พฤติกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการมีสุขภาวะที่ดี รูปแบบและการออกแบบการออกกำลังกายอย่างสร้างสรรค์ การออกแบบต้นแบบนวัตกรรมการออกกำลังกาย

สมศษ ๑๓๐ ความสุข ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดความสุข ความสำคัญของการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มิติของความสุข ทักษะชีวิตที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ความสมดุลในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ในมิติสังคม สุขภาพจิต สุขภาพกาย และสิ่งแวดล้อม

สมศษ ๑๓๑ แนวทางการใช้ชีวิตยุค ๕.๐ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความเข้าใจเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จริยธรรมการครองตน การดำเนินชีวิตอย่างเป็นปกติสุข ความพอประมาณ ความมีเหตุผลความระมัดระวัง การสร้างภูมิคุ้มกัน การมีคุณธรรม ความรอบรู้ ความรอบคอบ

สมสค ๑๙๓ นวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การแสวงหาผลประโยชน์ตามใจชอบของมนุษย์ ส่งผลให้โลกของเราอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏให้เห็นทั่วโลก อาทิ ปัญหาขยะมูลฝอย ปัญหาโลกร้อน และปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ย่อมบ่งบอกถึงการขาดสมดุลของสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาของสหประชาชาติ ต้นเหตุส่วนหนึ่งมาจากการไม่รับรู้ในความเป็นจริงของโลก การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพเชื่อมโยงกับแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นความรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น การเรียนรู้ผ่านกระบวนการทดลองคิด ออกแบบ และลงมือทำนวัตกรรมที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างง่ายในชีวิตประจำวัน จะช่วยสร้างการรับรู้เฉพาะตน และประสบการณ์ตรงในการช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอีกแนวทางหนึ่ง

สมสค ๑๙๘ โครงการและการประเมินผล ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับโครงการ การวางแผนโครงการ การเขียนโครงการและการวิเคราะห์โครงการ หลักการและแนวคิดการประเมินผลโครงการ รูปแบบการประเมินผลโครงการ กรณีศึกษาที่ใช้เป็นตัวอย่างในการประเมินผลโครงการ

๒. กลุ่มวิชาภาษา

ศศภท ๑๐๐ ศิลปะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ศิลปะการใช้ภาษาไทย ทักษะการใช้ภาษาไทยในด้านการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และการคิด เพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

ศศภอ ๒๗๕ ภาษาอังกฤษสำหรับการพยาบาล ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ศึกษาคำศัพท์ สำนวนและข้อมูลเกี่ยวกับการพยาบาล การฝึกปฏิบัติการพูดสื่อสารในสถานการณ์จริง การฟัง การอ่าน และการสรุปความทางด้านการพยาบาล

ศศภอ ๑๐๓ ภาษาอังกฤษระดับ ๑ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

โครงสร้างไวยากรณ์ และคำศัพท์ภาษาอังกฤษในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันในลักษณะของการบูรณาการทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ รวมทั้งกลยุทธ์ในการอ่านบทความ การเขียนในระดับประโยค การฟังเพื่อจับใจความสำคัญ การออกเสียง และการพูดสื่อสารในชั้นเรียนระดับบทสนทนา

ศศภอ ๑๐๔ ภาษาอังกฤษระดับ ๒ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษในบริบททางสังคมปัจจุบัน ทักษะการสนทนาในกลุ่มย่อย การทำบทบาทสมมุติในสถานการณ์ต่าง ๆ ทักษะการเขียนในระดับย่อหน้า และเนื้อหาการอ่านและการฟัง เรื่องต่าง ๆ

ศศภอ ๑๐๕ ภาษาอังกฤษระดับ ๓ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

กลยุทธ์ที่สำคัญในทักษะการใช้ภาษาทั้งสี่ การอ่านและการฟังจากแหล่งต่าง ๆ การพูดในชีวิตประจำวัน และการเขียนระดับย่อหน้าและเรียงความสั้น ๆ รวมทั้งทักษะย่อย คือ ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ เน้นภาษาอังกฤษที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และการอ่านเชิงวิชาการ และเนื้อหาเกี่ยวกับสังคมโลก

ศศภอ ๑๐๖ ภาษาอังกฤษระดับ ๔ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

บูรณาการทักษะภาษาอังกฤษโดยการฝึกอ่านข่าว บทความวิจัย ความคิดเห็น และเนื้อหาทางวิชาการเพื่อความเข้าใจและคิดอย่างวิเคราะห์จากแหล่งต่าง ๆ โดยเน้นประเด็นซึ่งช่วยให้นักศึกษารู้เกี่ยวกับสังคมโลก ฝึกการฟังข่าว การบรรยายและสุนทรพจน์จากสื่อมัลติมีเดียและอินเตอร์เน็ต การสนทนาในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งการฝึกพูดในที่ชุมชน การนำเสนอและการทำบทบาทสมมุติ ฝึกการเขียนเรียงความรูปแบบโดยใช้การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้รวมทั้งการฝึกทักษะย่อย เช่น ไวยากรณ์ การออกเสียงและคำศัพท์ในบริบทที่เหมาะสม

ศศศศ ๑๗๐ ภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อเตรียมสอบโทอิค ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและองค์ประกอบของแนวการสอบโทอิค (TOEIC) รวมถึงทักษะที่จำเป็นกับการเตรียมตัวสอบเช่น การฟัง การอ่านและการเขียน เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และฝึกการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมตัวสอบ

ศศศศ ๑๗๑ ภาษาอังกฤษขั้นสูงเพื่อเตรียมสอบโทอิค ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

เนื้อหาและหลักการขั้นสูงเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษาในการเตรียมตัวทำข้อสอบโทอิค (TOEIC) ผ่านเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นในด้านการฟัง การอ่านและการเขียน เพื่อเพิ่มยกระดับประสิทธิภาพในการสอบ

ศศศศ ๑๗๒ ภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อเตรียมสอบโทเฟล-ไอบีที ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : ศศภอ ๑๐๓ และ ศศภอ ๑๐๔
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและองค์ประกอบของข้อสอบ TOEFL-iBT องค์ความรู้และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้าน ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน การบูรณาการทักษะทั้งสี่เพื่อทำข้อสอบ ฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ ตีความ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสืบค้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมตัวสอบ

ศศศศ ๑๗๓ ภาษาอังกฤษขั้นสูงเพื่อเตรียมสอบโทเฟล-ไอบีที ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : ศศภอ ๑๐๕ และ ศศภอ ๑๐๖
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

พัฒนาขีดศักยภาพและความสามารถของนักศึกษาในการเตรียมตัวทำข้อสอบ TOEFL-iBT ผ่านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษขั้นสูงไม่ว่าจะเป็นการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน รวมถึงการบูรณาการทักษาทั้งสี่ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์โจทย์และตีความโจทย์ และแนวข้อสอบได้อย่างคล่องแคล่วในกรอบเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาฝึกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นคำศัพท์ และวางแผนการเตรียมตนเองเพื่อการสอบให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ศศศศ ๑๗๔ ภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อเตรียมสอบไอเอลส์ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและองค์ประกอบของข้อสอบไอเอลส์ (IELTS) ตลอดจนองค์ความรู้และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านต่าง ๆ ทั้งการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนตลอดจนการบูรณาการทักษะทั้งสี่เพื่อทำข้อสอบได้อย่างคล่องแคล่วและแม่นยำในระยะเวลาที่กำหนด อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ ตีความและฝึกการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นคำศัพท์ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมตัวสอบ

ศศศศ ๑๗๕ ภาษาอังกฤษขั้นสูงเพื่อเตรียมสอบไอเอลส์ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ครอบคลุมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาเพื่อการสอบทักษะภาษาอังกฤษไอเอลส์ ซึ่งรวมถึงการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน ทั้งยังครอบคลุมคำศัพท์และไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ การบูรณาการทักษะต่าง ๆ และทักษะเสริม (เทคโนโลยีสารสนเทศ การคิดวิเคราะห์ และการคิดเชิงวิพากษ์) ที่มีเนื้อหาเชิงกว้างและลึกในระดับที่ใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน (Basic Interpersonal Communication Skills หรือ BICS) และระดับวิชาการ (Cognitive Academic Language Proficiency หรือ CALP) ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

ศศภก ๑๐๑ ภาษาเกาหลีเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ตัวอักษรในภาษาเกาหลี (ฮันกึล) หน่วยเสียงพยัญชนะ หน่วยเสียงสระ องค์ประกอบของพยางค์ คําศัพท์ หลักไวยากรณ์ ประโยคภาษาเกาหลีพื้นฐานที่จําเป็นในชีวิตประจําวัน และวัฒนธรรมเกาหลี

ศศภจ ๑๐๑ ภาษาจีนเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การออกเสียงพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ของภาษาจีน การใช้ศัพท์อักษรที่ใช้กํากับเสียงภาษาจีนกลาง (西比夫) ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาจีนในวงศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจําวัน ประมาณ ๕๐๐ คำ

ศศภญ ๑๐๑ ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ตัวอักษรฮิระงะนะและคะตะคะนะ ไวยากรณ์ โครงสร้างภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐานโดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน คําศัพท์และรูปประโยคที่ใช้ในชีวิตประจําวันในวงศัพท์ ๓๐๐ คํา

ศศภฝ ๑๐๑ ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

คำศัพท์และหลักไวยากรณ์เบื้องต้นภาษาฝรั่งเศส ทักษะการใช้ภาษาฝรั่งเศสขั้นพื้นฐานในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยเน้นการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน

๓. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

วทศท ๑๓๒ การตัดสินใจโดยใช้หลักสถิติ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ประเภทของข้อมูล การนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ การเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผล อภิปรายผล เพื่อนำไปช่วยในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาโดยใช้หลักสถิติ

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

๑. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

พยคร ๑๐๙ การสร้างเสริมสุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

นโยบาย ยุทธศาสตร์ ระบบหลักประกันสุขภาพในระดับชาติ/นานาชาติเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ สถานการณ์สุขภาพและแนวโน้มการสร้างเสริมสุขภาพระดับโลกและประเทศไทย ปัจจัยกำหนดสุขภาพ แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ กลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพและกิจกรรมทางกาย โภชนาการเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การสื่อสารและการสร้างเสริมสุขภาพจิต นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพในทุกช่วงวัย

พยคร ๒๓๕ พยาธิสรีรวิทยาสำหรับพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การทำงานผิดปกติของระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการไหลเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่ายปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดีและตับอ่อน ซึ่งก่อให้เกิดโรคของระบบใดระบบหนึ่งหรือหลายระบบร่วมกัน ความผิดปกติอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาวะดุลยภาพของร่างกาย การเกิดเนื้องอกของระบบต่าง ๆ

พยคร ๒๓๑ เภสัชวิทยาพื้นฐานและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการทางเภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ สารสื่อนำทางเภสัชวิทยา เภสัชวิทยาและหลักการใช้ทางคลินิกเบื้องต้นของยาที่ใช้รักษาโรคหรือภาวะผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบผิวหนังและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ และยาต้านจุลชีพ ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันที่สำคัญ วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ หลักในการบริหารยาและการใช้ยาอย่างสมเหตุผลทุกช่วงวัย

วทกว ๑๐๑ กายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน ๓ (๒-๓-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

วิชากายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทั่วไป ของสิ่งมีชีวิต เน้นศึกษาโครงสร้างและการทำหน้าที่ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ การเรียนภาคปฏิบัติจะศึกษาจากโครงร่างของมนุษย์เป็นสำคัญเพื่อเป็นพื้นฐาน สำหรับนักศึกษาจะได้นำไปใช้เป็นประโยชน์ในวิชาชีพต่อไป

วทจช ๑๐๖ จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยาทางการแพทย์ ๓ (๒-๓-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนะนำทฤษฏีเบื้องต้นของภูมิคุ้มกันวิทยา จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา รวมถึงรูปพรรณสัญฐานและลักษณะการเจริญของจุลินทรีย์และปรสิตชนิดต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการถ่ายทอดยีน การถ่ายทอดยีนดื้อยาในจุลินทรีย์ บทบาทของจุลินทรีย์ในธรรมชาติ พยาธิกำเนิดจากการติดเชื้อจุลชีพ การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ปรสิตที่มีความสำคัญทางการแพทย์ และพื้นฐานเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการที่ใช้ในการตรวจสอบและวินิจฉัยเชื้อจุลินทรีย์ ไวรัสและปรสิต

วทชค ๑๐๑ ชีวเคมีทั่วไป ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

โครงสร้างและหน้าที่ของชีวโมเลกุล ๔ ชนิด คาร์โบไฮเดรต ลิปิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิก กระบวนการเมตาบอลิสมของชีวโมเลกุลทั้ง ๔ และการควบคุม กระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและการควบคุมการแสดงออกของยีน ดีเอ็นเอเทคโนโลยี บทบาทของชีวโมเลกุลกับการทำงานในระบบต่าง ๆ ในร่างกายปกติ การนำไปประยุกต์ใช้ทางการแพทย์

๒. กลุ่มวิชาชีพ

๒.๑) กลุ่มวิชาทฤษฏี

พยคร ๑๑๑ บทนำสู่วิชาชีพการพยาบาล ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

วิวัฒนาการศาสตร์ทางการพยาบาล แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล ความเป็นวิชาชีพพยาบาล หลักการและทักษะการประเมินภาวะสุขภาพ สาธิตและฝึกการตรวจร่างกาย ฝึกวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ฝึกการวินิจฉัยปัญหาสุขภาพของบุคคลจากวัยเด็ก ถึงวัยสูงอายุ ในภาวะปกติและผิดปกติ ทั้งด้านร่างกายและจิตสังคม โดยยึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงความปลอดภัย สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยคร ๒๒๗ ทักษะการพยาบาลพื้นฐานในภาวะพึ่งพิง ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและฝึกปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลขั้นพื้นฐานในการดูแลด้านกิจวัตรประจำวัน การบำบัดรักษาทางการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงเกี่ยวกับการดูแลสัญญาณชีพ การบริหารยา การดูแลแผล การจัดท่า การควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การสื่อสารเพื่อการดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยของผู้ป่วย พยาบาลและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการพยาบาล คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิทธิของผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยคร ๒๒๘ ทักษะการพยาบาลพื้นฐานในระยะเฉียบพลันและวิกฤต ๓ (๑-๔-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๗
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการและการฝึกปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลขั้นพื้นฐานเพื่อการดูแลสุขอนามัย และกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยระยะเฉียบพลันและวิกฤต การพยาบาลขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบการหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อ การบริหารยาในโรงพยาบาล การรับใหม่และจำหน่ายผู้ป่วย ประยุกต์ใช้ความรู้การพยาบาลพื้นฐานโดยคำนึงถึงความปลอดภัย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม สิทธิผู้ป่วยและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยคร ๒๓๐ การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และการพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๑๑๐
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความสำคัญของการวิจัยทางการพยาบาล หลักฐานเชิงประจักษ์ และงานวิจัยจากงานประจำ กระบวนการ วิจัย รูปแบบการวิจัย เครื่องมือการวิจัย สถิติในการวิจัย จริยธรรมการวิจัยและทางวิชาการ กระบวนการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาล การพัฒนางานวิจัยจากการปฏิบัติการพยาบาล

พยคร ๒๓๖ จริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพการพยาบาล ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๑๑๑
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดจริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของพยาบาล สิทธิของผู้ป่วย ประเด็นปัญหาจริยธรรมและกฎหมายในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

พยรฐ ๒๐๓ การพยาบาลผู้สูงอายุ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๗
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ เจตคติ จริยธรรมของพยาบาล สิทธิผู้สูงอายุ ทฤษฎีความสูงอายุ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตสังคม จิตวิญญาณตามวัยผู้สูงอายุ การใช้ยาในผู้สูงอายุ การประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การพยาบาลปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง การฟื้นฟูสภาพ การดูแลอย่างต่อเนื่อง การดูแลแบบประคับประคอง การดูแลระยะท้าย และการประสานงานกับเครือข่าย สหสาขา ครอบครัว ชุมชน ในการดูแลผู้สูงอายุ

พยกม ๓๐๔ การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

นโยบายสุขภาพเด็ก สิทธิเด็ก สถานการณ์สุขภาพเด็กของประเทศ ฝึกปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพ การเจริญเติบโต พัฒนาการ ภาวะโภชนาการ การป้องกันอุบัติเหตุตามวัย การพยาบาลผู้ป่วยเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่นที่มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบโลหิตวิทยา โรคมะเร็งในเด็ก โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด และการจัดการความปวด ตามแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ครอบคลุมระยะเฉียบพลัน วิกฤต เรื้อรัง และระยะท้าย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

พยสธ ๓๐๓ การรักษาพยาบาลขั้นต้น ๑ (๑-๐-๒)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

บทบาทและหน้าที่ของพยาบาลในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจและแปลผลทางห้องปฏิบัติการ วินิจฉัยแยกโรค รักษาโรคเบื้องต้นตามปัญหาสุขภาพระบบต่าง ๆ ของร่างกาย การคัดแยกผู้ป่วยและรักษาโรคเบื้องต้นในผู้ป่วยฉุกเฉิน การใช้ยาอย่างสมเหตุผล การส่งต่อ ขอบเขตของกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสน ๓๐๖ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การพยาบาลสตรีในระยะก่อนตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด ฝึกให้คำปรึกษาการเตรียมตัวก่อนสมรสและก่อนตั้งครรภ์ การวางแผนครอบครัว การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและจิตสังคมของสตรีในระยะตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด ฝึกการรับฝากครรภ์ตามเกณฑ์ การเตรียมตัวเพื่อการคลอด กระบวนการคลอด การเฝ้าคลอด การทำคลอด การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะปกติ การส่งเสริมบทบาทการเป็นบิดา มารดา และสัมพันธภาพในครอบครัว ประเด็น แนวโน้ม และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์

พยอย ๓๐๕ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๑ ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพทั้งระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรังทาง อายุรกรรม ในระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบโลหิต ระบบผิวหนัง ระบบภูมคุ้มกัน การติดเชื้อ ระบบประสาท ระบบทางเดินปัสสาวะ สมดุลน้ำ เกลือแร่และกรดด่าง ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อ มะเร็ง การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และการดูแลแบบประคับประคอง โดยนำกระบวนการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันภาวะแทรกซ้อน การฟื้นฟูสภาพ การแก้ไขบรรเทาปัญหาที่คุกคามสุขภาพ และมุ่งเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วย ครอบครัว หรือผู้ดูแล บนพื้นฐานความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล สิทธิผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พยคร ๓๓๓ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๒ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ระบบสมดุลน้ำเกลือแร่และกรดด่าง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อและเต้านม ระบบสืบพันธุ์ ระบบจักษุ โสต นาสิก และลาริงซ์ ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน การแก้ไขปัญหาที่คุกคามชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วยวิกฤติ ตลอดจนฝึกการวางแผนให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมการฟื้นตัว และฝึกวางแผนจำหน่ายโดยยึดการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และหลักฐานเชิงประจักษ์

พยคร ๔๐๑ ภาวะผู้นำกับการจัดการสุขภาพ ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

นโยบายสุขภาพ ภาวะผู้นำทางการพยาบาล ทีมการพยาบาล ฝึกวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ การจัดการทรัพยากร เครือข่ายและแหล่งประโยชน์ การจัดการทางการพยาบาล การพัฒนาคุณภาพการพยาบาล การติดตามและประเมินผลลัพธ์การจัดการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและในสถานพยาบาล

พยสจ ๔๐๔ การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการพื้นฐานของการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา พัฒนาการ การส่งเสริมพัฒนาการ สุขภาพจิต และการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการบำบัดทางจิต การใช้ยาอย่างสมเหตุผล การพยาบาลแก่บุคคลทุกวัยที่มีการเจ็บป่วยทางจิตในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง การวางแผนจำหน่ายและการดูแลต่อเนื่องในชุมชน การใช้กระบวนพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ความปลอดภัย สิทธิผู้ใช้บริการ พระราชบัญญัติสุขภาพจิต จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสธ ๔๐๕ การพยาบาลสุขภาพชุมชน ๓ (๓-๐-๖)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดการพยาบาลสุขภาพชุมชน ระบบสาธารณสุข แผนพัฒนาสุขภาพ นวัตกรรมสุขภาพชุมชน ระบาดวิทยา การดูแลบุคคลในครอบครัวที่มีสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยงและเจ็บป่วย การดูแลกลุ่มคน อนามัยโรงเรียน อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย และการจัดการสาธารณภัยในชุมชน การสื่อสารทางคลินิกกับผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ประเมินและใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย คำนึงถึงกฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสน ๔๐๗ การพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๓ (๒-๒-๕)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยสน ๓๐๖
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมแก่สตรีและทารกที่มีภาวะเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนในระยะตั้งครรภ์ ฝึกปฏิบัติในระยะคลอด ระยะหลังคลอด ผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอดและการช่วยคลอดด้วยสูติศาสตร์หัตถการ ภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม แนวทางการรักษา การใช้ยาอย่างสมเหตุผล และฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตทารกแรกเกิด

๒.๒) กลุ่มวิชาปฏิบัติ

พยคร ๒๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๗
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุบนพื้นฐานการพยาบาลแบบองค์รวมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค โรคเรื้อรังและฟื้นฟูสภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะสุขภาพดี ภาวะเสี่ยง และกลุ่มอาการที่พบบ่อย รวมถึงการดูแลต่อเนื่อง การดูแลระยะท้าย การประสานเครือข่าย การบริการแบบสหสาขา การดูแลแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน ประยุกต์ใช้มโนทัศน์การพยาบาลผู้สูงอายุ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และหลักฐานเชิงประจักษ์ โดยคำนึงถึงสิทธิผู้สูงอายุ จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยกม ๓๘๓ ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลแบบองค์รวมโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในทารก เด็กและวัยรุ่น ทั้งที่มีสุขภาพดี และเจ็บป่วยในระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบต่อมไร้ท่อ ระบบประสาท ระบบโลหิตวิทยา โรคมะเร็งในเด็ก โรคติดเชื้อ ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการผ่าตัด และการจัดการความปวด ครอบคลุมระยะเฉียบพลัน เรื้อรัง ระยะสุดท้าย และการดูแลต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ บูรณาการศาสตร์และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สิทธิเด็ก ความปลอดภัยของผู้ป่วย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยอย ๓๘๔ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๑ ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การปฏิบัติการพยาบาลทางอายุรศาสตร์ตามมาตรฐานวิชาชีพให้กับผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจากระบบทางเดินหายใจ หัวใจ เลือด การไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ตับ ทางเดินน้ำดี ตับอ่อน ต่อมไร้ท่อ ระบบภูมิคุ้มกัน ผิวหนัง ระบบขับถ่ายปัสสาวะ การติดเชื้อ การเสียสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด-ด่าง และมะเร็งวิทยา ในระยะเฉียบพลัน วิกฤต และเรื้อรัง ซึ่งได้รับการรักษาทางยาและการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ประยุกต์ความรู้ เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพ บูรณาการศาสตร์ทางการพยาบาล ศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อดูแลสุขภาพแบบองค์รวม สร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ แก้ไขบรรเทาปัญหาที่คุกคามสุขภาพ ส่งเสริมโภชนาการ การดูแลแบบประคับประคอง คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล และสิทธิผู้ป่วย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พยคร ๓๘๗ ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ๒ ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบหัวใจหลอดเลือดและทรวงอก ระบบสมดุลน้ำเกลือแร่และกรดด่าง ระบบทางเดินปัสสาวะ ระบบทางเดินอาหาร ระบบต่อมไร้ท่อและเต้านม ระบบสืบพันธุ์ ระบบจักษุ โสต นาสิก และลาริงซ์ ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ที่ได้รับการรักษาทางศัลยกรรมในระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด การพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน การแก้ไขปัญหาที่คุกคามชีวิตผู้ได้รับบาดเจ็บและผู้ป่วยวิกฤติ ตลอดจนการวางแผนให้การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ ส่งเสริมการฟื้นตัว และวางแผนจำหน่ายโดยยึดการดูแลแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และหลักฐานเชิงประจักษ์

พยสธ ๓๘๒ ปฏิบัติการรักษาพยาบาลขั้นต้น ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจและแปลผลทางห้องปฏิบัติการ วินิจฉัยแยกโรค วินิจฉัยโรค รักษาโรคขั้นต้นตามปัญหาสุขภาพระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และการรักษาขั้นต้นในกลุ่มเจ็บป่วยฉุกเฉิน การใช้ยาอย่างสมเหตุผล บันทึกการตรวจรักษาพยาบาลขั้นต้น การให้คำแนะนำ การส่งต่อ ขอบเขตของกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสน ๓๘๕ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๑ ๔ (๐-๑๒-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด ระยะหลังคลอด และส่งต่อในกรณีที่มีภาวะเสี่ยง การเฝ้าคลอดและการทำคลอดในรายปกติ ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บทบาทการเป็นบิดา-มารดาและสัมพันธภาพในครอบครัว โดยคำนึงถึงการดูแลแบบองค์รวม ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พยคร ๓๘๘ โครงการพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ ๒ (๐-๖-๒)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๓๐
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

กระบวนการออกแบบนวัตกรรม การสร้างแบบจำลอง กระบวนการสร้างนวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรมทางคลินิกหรือชุมชนเพื่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพและพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาล การนำเสนองานนวัตกรรมในรูปแบบโครงการประกวดธุรกิจนวัตกรรม

พยคร ๔๙๕ ปฏิบัติภาวะผู้นำการจัดการสุขภาพ ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติทักษะภาวะผู้นำและการจัดการสุขภาพ วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ จัดทำโครงการสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล มอบหมายงาน สื่อสารและประสานงาน เครือข่ายและแหล่งประโยชน์ จัดการทรัพยากร และติดตามและประเมินผลลัพธ์การจัดการสุขภาพในระดับปฐมภูมิและในสถานพยาบาล

พยคร ๔๙๖ ปฏิบัติการพยาบาลเพื่อเตรียมเข้าสู่วิชาชีพ ๔ (๐-๑๒-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๔๙๕
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลตามบทบาทพยาบาลวิชาชีพในคลินิกที่เลือกสรรร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ บูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานหลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย ขอบเขต ข้อบังคับ จรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสจ ๔๘๕ ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

การปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพจิต ป้องกันปัญหาและการเจ็บป่วยทางจิต ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีความเจ็บป่วยทางจิตทุกวัยในระยะเฉียบพลันและเรื้อรัง วางแผนจำหน่าย ฟื้นฟูสมรรถภาพ การใช้กระบวนการพยาบาลและหลักฐานเชิงประจักษ์ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยคำนึงถึงความปลอดภัย สิทธิผู้ป่วย พระราชบัญญัติสุขภาพจิต จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสธ ๔๘๗ ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน ๓ (๐-๙-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยคร ๒๒๘
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการดูแลสุขภาพบุคคลและครอบครัวในชุมชน ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่เจ็บป่วยด้วยโรค ที่พบบ่อย การสื่อสารทางคลินิกกับผู้ป่วย ญาติและทีมสุขภาพ ประเมินและใช้เทคโนโลยีทรัพยากรที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและครอบครัว กฎหมาย จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ

พยสน ๔๘๙ ปฏิบัติการพยาบาลมารดา-ทารกและการผดุงครรภ์ ๒ ๒ (๐-๖-๒)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : พยสน ๓๘๕
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ปฏิบัติการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อน หรือภาวะฉุกเฉินทางสูติศาสตร์ในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด ผู้คลอดที่ได้รับการชักนำการคลอด หรือได้รับการทำสูติศาสตร์หัตถการ ปฏิบัติการช่วยฟื้นชีวิตทารกแรกเกิดเบื้องต้น และส่งต่อ โดยคำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บนพื้นฐานคุณธรรม จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องและจรรยาบรรณวิชาชีพ

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี ที่มีการเปิดสอนโดยคณะพยาบาลศาสตร์

พยคร ๑๐๒ การปรึกษาเพื่อการมีสุขภาพใจที่ดี ๒ (๑-๒-๓)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ธรรมชาติของจิตใจ ภาวะเครียดที่ส่งผลต่อความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม เจตคติและบทบาทของผู้ให้การปรึกษา การสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการสื่อสาร กระบวนการให้การปรึกษา เทคนิคต่าง ๆ ในการให้การปรึกษา เทคโนโลยีดิจิทัลกับการให้การปรึกษา และการฝึกให้การปรึกษารายบุคคลที่นำไปสู่การมีสุขภาพใจที่ดี

พยคร ๑๑๓ การพัฒนาตนตามหลักพุทธศาสนา ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

กระบวนการและทักษะการพัฒนาตน เป้าหมายของชีวิต หลักพุทธธรรมที่พึงรู้ พึงละ พึงทำให้เจริญ พึงปฏิบัติดำเนินชีวิตให้งอกงามบรรลุประโยชน์สุข

พยคร ๑๑๒ เพศวิถีศึกษา ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

หลักการพัฒนาการทางเพศ สุขภาวะทางเพศ บทบาทและสิทธิทางเพศ สัมพันธภาพทางเพศ สังคมและวัฒนธรรม ความหลากหลายทางเพศ การดำเนินชีวิตทางเพศที่เหมาะสม ทักษะการจัดการชีวิตต่อปัญหาทางเพศ การคิดอย่างมีวิจารณญาณในด้านสุขภาวะทางเพศ การสื่อสารเรื่องเพศเชิงบวก การมีเจตคติเชิงบวกเรื่องเพศ

พยคร ๒๒๕ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะทางวัฒนธรรม ปัจจัยและประเด็นด้านการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรม แนวคิดการปฏิบัติงานของสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การวางแผนการดูแลสุขภาพผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

พยคร ๒๒๖ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมด้านการดูแลสุขภาพ สำหรับสหสาขาวิชาชีพ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรม สมรรถนะทางวัฒนธรรม ปัจจัยและประเด็นด้านการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรม แนวคิดการปฏิบัติงานของสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพ บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีม การวางแผนการดูแลสุขภาพผู้ใช้บริการที่มีความแตกต่างด้านวัฒนธรรม โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

พยคร ๒๓๒ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการดูแลสุขภาพ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสุขภาพ หลักสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคและความเท่าเทียม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม บทบาทของวัฒนธรรมและมรดกทางชาติพันธุ์ที่มีผลกระทบต่อความเชื่อด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยของบุคคล ครอบครัวและชุมชนในแต่ละสังคม ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชนในสังคมที่ต่างวัฒนธรรมกัน แนวคิดทางการพยาบาลบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม

พยคร ๒๓๔ การส่งเสริมความปลอดภัยของผู้ป่วยผ่านการเรียน แบบสหสาขาวิชาชีพ ๒ (๒-๐-๔)
เงื่อนไข  :   รายวิชาที่ต้องศึกษามาก่อน (Prerequisite) : -
  รายวิชาที่ต้องศึกษาพร้อมกัน (Co-requisite) :   -

ความรู้เบื้องต้นเรื่องวิทยาศาสตร์ความปลอดภัย ความสัมพันธ์ของศาสตร์นี้กับปัญหาความปลอดภัยของผู้ป่วยในระบบสุขภาพ บทบาทการทำงานของบุคคลและของทีมสหสาขาวิชาชีพด้านสุขภาพเพื่อแก้ปัญหา ทำงานเป็นทีม และวางแผนโครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยสหสาขาวิชาชีพสุขภาพ

 

 

 

Other Websites

  • e-Learning
  • คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน
  • รายงานประจำปี
  • รางวัลและความภาคภูมิใจ
  • สมาคมศิษย์เก่าฯ
  • มูลนิธิคณะพยาบาลศาสตร์ฯ
  • สภาอาจารย์
  • สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย
  • แบบประเมินผล online สำหรับ นศ.
  • แบบประเมินผล online สำหรับอาจารย์

Other Websites

  • Knowledge Management
  • NS ปลอดบุหรี่
  • NS Green
  • สถานศึกษาปลอดภัย
  • การประเมิน ITA
  • ธรรมาภิบาล
  • MU Webmail
  • Download
  • Nursing TheDB
  • Nurseintranet

Social Media

Contact Us

  • Q&A
  • บางกอกน้อย:
    อาคารพระศรีพัชรินทร

    เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700
    โทรศัพท์ 0-2419-7466-80
    โทรสาร 0-2412-8415

     

    ศาลายา:
    อาคารมหิดลอดุลยเดช – พระศรีนครินทร 

    เลขที่ 999 ถ.พุทธมณฑลสาย4 ต. ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม 73170
    โทรศัพท์ 0-2441-5333
    หรือ 0-2441-5275 ถึง 81 
    โทรสาร 0-2441-5442

    Copyright © 2022 -Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.  Webmaster: nswww@mahidol.ac.th