คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญญาของแผ่นดิน

ข้อมูลทั่วไป
ประวัติภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
พันธกิจ และ วิสัยทัศน์
การเรียนการสอน
งานวิจัย
ส่งเสริมและบริการวิชาการ
การจัดการความรู้
ศูนย์ความเป็นเลิศ
staff
contact us
ข่าว
faculty homepage
university homepage
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

research

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิจัย

         เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ 2552 คณะกรรมการยุทธวิจัยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ ได้จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง "ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิจัย" เวลา 12.00 - 13.00 น. ณ ห้อง 907 โดยวัตถุประสงค์ของการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลให้การทำวิจัยได้สำเร็จ ซึ่งกลุ่มได้ให้ข้อเสนอแนะหลายท่าน ได้แก่

         รศ. คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล เรื่องการบริหารเวลา โดยไม่รบกวนเวลาของผู้ร่วมงาน ผศ. จงจิต เสน่หา เรื่องการทำวิจัยในโรงพยาบาล ควรมีแพทย์เข้ามาร่วมโครงการวิจัยด้วยอย่างน้อย 1 คน อ.ศรินรัตน์ ศรีประสงค์ เรื่อง อาจารย์ใหม่ ควรเป็นผู้ร่วมโครงการวิจัย โดยมีอาจารย์ที่มีประสบการณ์ เป็นหัวหน้าโครงการเพื่อการเรียนรู้งานวิจัย และควรมีการนำเสนอประสบการณ์ในการทำวิจัยกับอาจารย์ที่มีความสำเร็จในการวิจัย เช่น Prof. Dr. Jean Grace หรือคณาจารย์ในคณะ ผศ. วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช เรื่องการทำงานกับคนที่ตรงเวลา มีการบริหารเวลาที่ดี เรียนรู้และทำงานกับคนที่ประสบความสำเร็จและมีศักยภาพ การตรวจภาษาอังกฤษของ Manuscript โดยการจ้างคนที่สามารถแก้ไขภาษา (Editor) โดยอาจรวบรวมต้นฉบับและจ้างเป็นงานๆผศ.วันดี โตสุขศรี เรื่องการวางแผน-การบริหารเวลาที่ดี มีอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างที่ดีในภาควิชาฯ คือ ผศ. อรวมน ศรียุกตศุทธ

         อ.พรรณิภา สืบสุข ขอข้อเสนอแนะในฐานะอาจารย์ใหม่ ซึ่งในกลุ่มได้ให้ข้อแนะนำว่า อ.พรรณิภา ควรเลือกทำวิจัยใน area ของตนเอง ในด้านระบบทางเดินหายใจ หรือระบบต่อมไร้ท่อ

         คุณศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร เรื่องการเชิญนักวิจัยที่มีประวัติดี คือ ทำวิจัยเสร็จตามเวลาได้รับทุน สกว. มาบรรยายให้ฟังว่ามีวิธีทำงานอย่างไร อ.ธนิษฐา สมัย เรื่อง เจ้าหน้าที่ Editor สถิติการวิจัย และบุคลากรด้านอาจารย์ที่ไม่เพียงพอ

          สรุป ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิจัย คือ

  • การบริหารเวลา
  • การทำงานร่วมกับกลุ่มผู้สนใจหัวข้อหรือการวิจัยในแนวเดียวกัน(Cluster)
  • ความต้องการ Editor ภาษาอังกฤษ และการเรียนรู้สถิติการวิจัย
  • ความสะดวกในการขอจริยธรรมในคน ซึ่งขณะนี้คณะฯ กำลังดำเนินการจัดตั้งกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนอยู่
  • มีการอบรมข้อมูล และความรู้ใหม่ๆด้านการวิจัยให้กับอาจารย์
  • ระบบสนับสนุนในการทำวิจัย เช่น แหล่งข้อมูล
  • โครงการวิจัยที่อาจารย์ริเริ่มทำ
  • การให้ทุนในการทำวิจัยมากขึ้น และอำนวยข้อมูลเรื่องทุนวิจัยทั้งในและนอกคณะฯ
  • สร้างระบบการวิจัยที่ดี เช่น มี Mentor และ Consult
ผู้เข้าร่วมกลุ่ม
1. รศ.คนึงนิจ
2. ผศ.จงจิต
3. ผศ.ดวงรัตน์
4. ผศ.รัตนาภรณ์
5. ผศ.วันดี
6. ผศ.วิมลรัตน์
7. อ.พรรณิภา
8. อ.นาตยา
9. อ.ศรินรัตน์
10.คุณศรีสุดา
11.อ.ธนิษฐา
พงษ์ถาวรกมล
เสน่หา
วัฒนกิจไกรเลิศ
คงคา
โตสุขศรี
ภู่วราวุฒิพานิช
สืบสุข
แสงวิชัยภัทร
ศรีประสงค์
คล้ายคล่องจิตร
สมัย (ผู้บันทึกการเสวนา)



             คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
             © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553, ติดต่อเว็บมาสเตอร์:nswww@mahidol.ac.th