คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ปัญญาของแผ่นดิน

ข้อมูลทั่วไป
ประวัติภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์
พันธกิจ และ วิสัยทัศน์
การเรียนการสอน
งานวิจัย
ส่งเสริมและบริการวิชาการ
การจัดการความรู้
ศูนย์ความเป็นเลิศ
staff
contact us
ข่าว
faculty homepage
university homepage
 
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การจัดการความรู้

research

โครงการวิจัย

        เมื่อวันพุธที่ 3 มิถุนายน 2552 คณะกรรมการยุทธวิจัยภาควิชาการพยาบาลอายุรศาสตร์ ได้จัดเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในหัวข้อเรื่อง "โครงการวิจัย" เวลา 12.00 – 13.00 น. ณ ห้อง 505 โดยวัตถุประสงค์ของการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในวันนี้ เพื่อให้ข้อเสนอแนะการเขียนโครงการวิจัยแก่สมาชิกในกลุ่มที่นำเสนอ คือ อ.ธนิษฐา สมัย จำนวน 2 โครงการวิจัย

        อ.ธนิษฐา สมัย ได้นำเสนอโครงการวิจัย 2 เรื่อง คือ

  1. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะ แห่งตนต่อการฟื้นสภาพของผู้สูงอายุ ภายหลังการทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือใส่ขดลวดหัวใจ
  2. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล ในการควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ภายหลังการทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือใส่ขดลวดหัวใจ

        ผศ.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรเปลี่ยนเรื่องเป็น ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีโคเลสเตอรอลของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากมีข้อมูลสำรวจพื้นฐานอยู่แล้ว รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ ให้ข้อเสนอแนะเรื่องการออกแบบวิจัยว่า ควรเปลี่ยนจากการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง (Quasi – experimental research) เป็น การศึกษาเชิงทดลอง และควรกำหนดอายุของกลุ่มตัวอย่างให้ชัดเจน ว่าเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน (อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป) หรือ กลุ่มผู้สูงอายุ รศ.คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรทำวิจัยในโครงการที่ 1 ส่วนโครงการที่ 2 เป็นเรื่องการพัฒนา Clinical Nursing Practice Guideline (CNPG) ซึ่งต้องการการทำงานมากกว่าการวิจัย สำหรับสมมุติฐานการวิจัย เกี่ยวกับการฟื้นสภาพภายหลังทำการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนหรือใส่ขดลวด ควรระบุทิศทางของสมมุติฐานให้ชัดเจน ในตัวแปรต่างๆ เช่น ตัวแปรด้านความเจ็บปวด จำนวนครั้งของการขอยาแก้ปวด จำนวนครั้งของการเคลื่อนไหวร่างกาย ภาวะแทรกซ้อน และจำนวนวันที่อยู่โรงพยาบาล ว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมจะมีค่าสูงกว่าหรือต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ เพื่อให้ทิศทางของงานวิจัยชัดเจนขึ้น และการใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Bandura's Self - Efficacy Theory) เป็นกรอบแนวคิด ต้องนำมาใช้ในโปรแกรมการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ Bandura เสนอไว้ ได้แก่ การชักจูงด้วยคำพูด (Verbal persuasion), การใช้ตัวแบบ (Modeling), ประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จ (Mastery Experiences), และการกระตุ้นทางอารมณ์ (Emotional Arousal)

          สรุป ข้อเสนอแนะในการวิจัย มีดังนี้

  1. ทบทวนตัวแปรอื่น ที่มีผลต่อโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย
  2. การปรับสมมุติฐานการวิจัย และศึกษาทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Bandura's Self - Efficacy Theory)
  3. เลือกหัวข้อการวิจัยที่ใช้เวลาในการทำวิจัย เพียง 1 – 2 ปี

สมาชิกกลุ่ม

1. รศ.คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล
2. รศ.ปราณี ทู้ไพเราะ
3. ผศ.วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช
4. คุณศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร
5. นักศึกษา พยาบาลมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
6. นักศึกษา พยาบาลมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
7. อ.ธนิษฐา สมัย (ผู้บันทึก)



             คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 2 ถนนพรานนก แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
             © สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553, ติดต่อเว็บมาสเตอร์:nswww@mahidol.ac.th