e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
  หลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทาง (4เดือน)

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป(การรักษาโรคเบื้องต้น)

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป   (การรักษาโรคเบื้องต้น)
Program  of  Nursing  Specialty  in  Nurse  Practitioner    (Primary  Medical  Care)
หลักสูตรใหม่ ปี พ.ศ. 2550

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม :  ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง
สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
Certificate of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)
ชื่อย่อ  :  ป.การพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)
          :  Cert.  in Nurse  Practitioner

วัตถุประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ  มีความรู้ ความเข้าใจ นโยบาย แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การจัดระบบบริการสุขภาพ การประเมินภาวะสุขภาพ การตรวจรักษาโรคเบื้องต้น  การส่งต่อ  และการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามที่กำหนด  การคัดกรองผู้ป่วย และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน การให้ความรู้ ให้คำปรึกษาทางด้านสุขภาพ  และการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม  และมีประสิทธิภาพ ตาม พรบ.วิชาชีพ 

องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร               18           หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร  มี  ดังนี้
1.ภาคทฤษฎี  จำนวน 12 หน่วยกิต ประกอบด้วย
           1.1 วิชาแกน                         2 หน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า/ศึกษาด้วยตนเอง)
           วิชานโยบายสุขภาพ  และ การพยาบาล                                    2 หน่วยกิต  2(2-0-4)        
           1.2 วิชาเฉพาะสาขา               10 หน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า/ศึกษาด้วยตนเอง)
                 1. การจัดการบริการปฐมภูมิ                                           2 หน่วยกิต  2(2-0-4)
                 2.  การประเมินภาวะสุขภาพ                                           2 หน่วยกิต  2(1-2-3)
                 3.  การรักษาโรคเบื้องต้น                                              4 หน่วยกิต  4(4-0-8)
                 4. การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน                                     2 หน่วยกิต  2(2-0-4)  
2. ภาคปฏิบัติ  จำนวน 6 หน่วยกิต
           2.1  ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 1                                        4 หน่วยกิต  4(0-16-4)
           2.2  ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 2                                        2 หน่วยกิต  2(0-8-2)

พยคร 540          วิชานโยบายสุขภาพ   และการพยาบาล                              2 (2-0-4) หน่วยกิต              
NSID 540           Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             การปฏิรูประบบสุขภาพ  ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบการพยาบาล  บทบาทพยาบาลในการดูแลสุขภาพระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ  การพยาบาลโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์  แนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การส่งเสริมสุขภาพ  ความเครียด และการปรับตัว  กลวิธีการเสริมสร้างพลังอำนาจของครอบครัว  พฤติกรรมการดูแลตนเอง  การให้คำปรึกษา การสอน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการดูแลสุขภาพ

พยคร 545          การจัดการบริการปฐมภูมิ                                                 2 (2-0-4) หน่วยกิต           
NSID 545           Primary Care Services Management

คำอธิบายรายวิชา

             รูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน  กระบวนการจัดบริการปฐมภูมิ  การใช้ครอบครัว และชุมชนเป็นฐานในการดูแลสุขภาพ   มาตรฐานการบริการและการพัฒนาคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ
             Community oriented primary care model, process of primary care services, home based care and community based care; standard of care and continuous quality improvement of primary care unit.

พยคร 546          การประเมินภาวะสุขภาพ                                                 2 (1-2-3) หน่วยกิต
NSID 546           Health Assessment

คำอธิบายรายวิชา

          กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ การสร้างสัมพันธภาพของพยาบาลกับผู้รับบริการการซักประวัติ การตรวจร่างกายและการแปลผล การใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการบันทึกผลการประเมินภาวะสุขภาพ

พยคร 547          การรักษาโรคเบื้องต้น                                                     4 (4-0-8) หน่วยกิต
NSID 547           Primary Medical Care

คำอธิบายรายวิชา

          การจัดกลุ่มโรคและอาการที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในระดับปฐมภูมิพยาธิสรีระวิทยาของอาการและอาการแสดง การคิดอย่างมีเหตุผลทางคลินิก  การวินิจฉัยแยกโรค การวางแผนการรักษาและดำเนินการตามแผนการรักษา การใช้ยาและกลไกการออกฤทธิ์ของยา  การตรวจคัดกรองและการให้ภูมิคุ้มกันโรค   

พยคร 548          การดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน                                          2 (2-0-4) หน่วยกิต        
NSID 548           Accident and Emergency Care

คำอธิบายรายวิชา

          ระบบการจัดการในภาวะอุบัติเหตุฉุกเฉิน หลักการช่วยเหลือเบื้องต้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลและการทำหัตถการ  การจัดการอุบัติภัยสาธารณะ การปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพ    บทบาทพยาบาลในภาวะฉุกเฉิน

พยคร 581          ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น ๑                                            4 (0-16-4) หน่วยกิต
NSID 581           Primary Medical Care Practicum 1

คำอธิบายรายวิชา

          ปฏิบัติการประเมินภาวะสุขภาพ  วินิจฉัยแยกโรค  การรักษาโรคเบื้องต้น  ดูแลผู้ป่วย ฉุกเฉิน  ตรวจคัดกรองและให้ภูมิคุ้มกันโรค  ให้คำแนะนำผู้ป่วย  การติดตามการรักษา  และ บันทึกผลการรักษา
          Practice in health assessment and differential diagnosis,  primary medical care,  emergency care, health screening and  immunization; patients education, follow up and treatment recording.

พยคร 582          ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้น 2                                             2 (0-8-2) หน่วยกิต
NSIID 582          Primary Medical Care Practicum 2

คำอธิบายรายวิชา

         ให้การดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม และต่อเนื่องในหน่วยบริการปฐมภูมิ  วางแผนการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในครอบครัวและชุมชน ใช้กระบวนการพยาบาลชุมชน กระบวนการเยี่ยมบ้าน  นวตกรรม และ เทคโนโลยี่ที่เกี่ยวข้อง  และแหล่งประโยชน์ในการดูแลสุขภาพชุมชน

ระบบการศึกษา / ระยะเวลาการศึกษา
ใช้ระบบหน่วยกิตทวิภาค   กำหนดระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรเป็นเวลา 18   สัปดาห์

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการศึกษาอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

  1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
  2. สุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
  3. ต้องมีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น ๆ

คุณสมบัติเฉพาะ

  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
  2. เป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  3. ผ่านการคัดเลือก
 
               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English