e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
หลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทาง (4เดือน)

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง  สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
(Program of Nursing Specialty in Oncology Nursing)

ชื่อประกาศนียบัตร
ชื่อเต็ม  ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทาง  สาขาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง
(Certificate of Nursing Specialty in Oncology Nursing)
ชื่อย่อ     ป. การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง

วัตถุประสงค์ทั่วไป
พัฒนาบุคลากรพยาบาลให้มีความรู้  ความสามารถเฉพาะทาง สามารถปฏิบัติการพยาบาลในการแก้ไขปัญหายุ่งยากซับซ้อนของผู้ป่วยมะเร็ง และร่วมมือประสานงานกับบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อการช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบของหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                                15    หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
1. ภาคทฤษฎี                                                        10    หน่วยกิต
2. ภาคปฏิบัติ                                                          5    หน่วยกิต

พยคร 540          นโยบายสุขภาพกับการพยาบาล                               2 (2 - 0 - 0)   หน่วยกิต
NSID 540           Health Policy and Nursing

คำอธิบายรายวิชา

             ระบบสุขภาพ เศรษฐศาสตร์และระบบค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ รูปแบบการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง  กระบวนการจัดการ การประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล  กระบวนการทำงานเป็นทีมและการสื่อสารเพื่อคุณภาพการรักษาพยาบาล

พยคร 534          การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 1                                      3 (3-0-0)   หน่วยกิต
NSID 534           Oncology  Nursing 1

คำอธิบายรายวิชา

             ระบาดวิทยา สารก่อมะเร็ง และกระบวนการเกิดโรคมะเร็ง การจำแนกชนิดและระยะของโรคมะเร็ง การวินิจฉัยและวิธีการรักษาโรคมะเร็งมาตรฐานโดยการผ่าตัด รังสีรักษา เคมีบำบัด และ Biotherapy การสืบค้นตรวจหาโรคมะเร็งในระยะแรกเริ่ม แนวคิดและบทบาทพยาบาลในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ความเครียด การปรับตัวและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง การพยาบาลแบบองค์รวม พันธุกรรมโรคมะเร็งและการให้คำปรึกษา การสื่อสาร การให้ความรู้/ข้อมูล แหล่งประโยชน์ในชุมชนแก่ผู้ป่วยมะเร็ง และครอบครัวเพื่อส่งเสริมการปรับตัวและการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว

พยคร 535          การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 2                                      3 (3-0-0) หน่วยกิต
NSID 535           Oncology  Nursing 2

คำอธิบายรายวิชา

          โรคมะเร็งระบบต่าง ๆ ที่พบบ่อยในประเทศไทย  ภาวะฉุกเฉินในผู้ป่วยมะเร็ง วิทยาการก้าวหน้าในการรักษาโรค  การรักษาแบบผสมผสานในผู้ป่วยมะเร็ง การพยาบาลเพื่อบำบัดและควบคุมอาการต่าง ๆจากโรคมะเร็งเฉพาะที่ในระบบต่างๆของร่างกาย แนวคิดการฟื้นฟูสภาพ และการรอดชีวิต การดูแลต่อเนื่องและคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็ง การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายและการดูแลครอบครัว 

พยคร 536          การประเมินภาวะสุขภาพ                                          2 (1-2-3)   หน่วยกิต
NSID 536           Health Assessment

คำอธิบายรายวิชา

          กระบวนการประเมินภาวะสุขภาพ  การสร้างสัมพันธภาพของพยาบาลในฐานะผู้ให้บริการ การซักประวัติ การตรวจร่างกายและการแปลผลความผิดปกติ การใช้เครื่องมือตรวจพิเศษ การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ  การตรวจพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกผลการประเมินภาวะสุขภาพ

พยคร 595          ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 1                               3 (0-0-12)  หน่วยกิต
NSID 595           Oncology Nursing Practicum 1

คำอธิบายรายวิชา

          ฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในผู้ป่วยมะเร็งผู้ใหญ่ ที่ได้รับการคัดกรองโรค/การตรวจวินิจฉัย การรักษาด้วยการผ่าตัด  รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือหลายวิธีร่วมกัน การใช้ความรู้ทางทฤษฎี วิทยาการและเทคโนโลยีโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ มาใช้ในการวางแผนการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาและส่งเสริมการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้ป่วยมะเร็ง

พยคร 596          ปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง 2                               2 (0-0-8) หน่วยกิต
NSID 596           Oncology Nursing Practicum 2

คำอธิบายรายวิชา

          ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระบบต่างๆ ที่มีปัญหาซับซ้อน การนำวิทยาการก้าวหน้าเกี่ยวกับโรคมะเร็ง การรักษา และผลการวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติพยาบาลเพื่อส่งเสริมการดูแลต่อเนื่อง การรอดชีวิต  และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวการประสานงานกับทีมสุขภาพ และใช้แหล่งประโยชน์จากครอบครัวและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ระยะเวลาศึกษาอบรม   กำหนดระยะเวลาในการศึกษา 4 เดือน (16 สัปดาห์)

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม
คุณสมบัติทั่วไป

1. เป็นผู้มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความรับผิดชอบ
2. ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. มีใบรับรองจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้น และได้รับการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อจากผู้บังคับ
บัญชาของหน่วยงานนั้นๆ
คุณสมบัติเฉพาะ
1. เป็นผู้ได้รับประกาศนียบัตร หรือปริญญาบัตรในวิชาชีพการพยาบาล และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จากสภาการพยาบาล
2. เป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี
3. ผ่านการคัดเลือกได้

 
               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English