e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
NS Academic
ศูนย์การพยาบาลและรูปแบบการดูแล
(Nursing Center and models of care)


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงใจ รัตนธัญญา
ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์

  ศูนย์การพยาบาลและรูปแบบการดูแล  

         ศูนย์การพยาบาล(Nursing Center) ตามนิยามของสมาคมพยาบาลสหรัฐอเมริกา(ANA)หมายถึงศูนย์หลายรูปแบบ อาทิ ศูนย์การจัดการพยาบาล(Nurse-managed centers) คลินิคพยาบาล(nursing clinics) ศูนย์การพยาบาลอนามัยชุมชน (community nursing centers) ซึ่งมีหลายประเภทเช่น ศูนย์สุขภาพดี (wellness centers) ศูนย์การดูแลพิเศษเฉพาะเรื่อง (special care centers) เช่นดูแลผู้ติดเชื้อ HIV ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ฯ ศูนย์การดูแลสาธารณสุขมูลฐานแบบเบ็ดเสร็จ (comprehensive primary health care centers) เป็นต้น  ศูนย์เหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการเข้าถึงบริการของพยาบาลวิชาชีพโดยตรง ใช้รูปแบบการพยาบาลในการดูแล โดยพยาบาลวิชาชีพจะทำการวินิจฉัยและให้การพยาบาล แก้ไขปัญหาหรือความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่พบ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประชากรเป้าหมายและชุมชน บางศูนย์ได้รับเงินตอบแทนจากรัฐตามบริการที่ให้  บางศูนย์ตั้งในรูปแบบธุรกิจ หรือแบบการกุศลไม่หวังผลกำไร ตั้งโดยอิสระหรือตั้งโดยขึ้นกับหน่วยงานต่างๆรวมถึงสถาบันการศึกษาพยาบาลก็ได้

         บริการที่ให้ในศูนย์การพยาบาลเหล่านี้เป็นการพยาบาลแบบองค์รวม มีผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง  เพื่อพัฒนาสุขภาพและเพิ่มพูนสุขภาวะแก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง เพิ่มการเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ทั้งการสาธารณสุขมูลฐาน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  เน้นการพัฒนาศักยภาพของประชาชนในการดูแลสุขภาพตามปัญหาและความต้องการทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน  ให้การพยาบาลแบบเอื้ออาทร ที่บูรณการกับความไว้วางใจ เคารพความเป็นบุคคล นอกจากนี้จุดที่ต้องสนใจและความรับผิดชอบของศูนย์ในการให้บริการมีดังนี้

1. การดูแลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของชุมชน(culturally competent care) ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และยอมรับได้

2. ดูแลแบบองค์รวม (holistic approach)ที่ลึกซึ้งถึงปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของ กาย จิต สังคม

3. การดูแลแบบร่วมมือกับ สหวิชาชีพ หลายหน่วยงาน (interorganizational and interdisciplinary collaboration) ผสานบริการสุขภาพและบริการทางสังคม เพิ่มโอกาสในการบริการแบบบูรณาการและไร้รอยต่อระหว่างผู้ให้บริการและหน่วยงานต่างๆ

4. บริการพหุระดับ(multilevel interventions)ที่คำนึงถึงทั้งองค์กร สิ่งแวดล้อม สุขภาพ เศรษฐกิจ และนโยบายทางสังคมเกี่ยวกับสุขภาพ ปัญหาสุขภาพและประเด็นเกี่ยวกับการเข้าถึงบริการ

5. ความเป็นหุ้นส่วนกับชุมชน (community partnerships)ตั้งแต่การก่อตั้งและการดำเนินงานของศูนย์

6. ใช้สัมพันธภาพเป็นฐานในการปฏิบัติ (relationship-based practice) ทั้งสัมพันธภาพที่ดีกับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ

 

         รูปแบบบริการที่เหมาะสมของศูนย์การพยาบาลจะผนวกทั้งบุคคล  สถานที่ วิธีการและกลยุทธ์ในวิถีชีวิตประจำวัน  พยาบาลจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับชุมชนในการจัดโปรแกรมสุขภาพชุมชน  การให้สุขศึกษาแก่ชุมชน  บริการสาธารณสุขมูลฐาน ก่อตั้งและพัฒนาความสัมพันธ์กับครอบครัว  ตัวแทนชุมชน ผู้กำหนดนโยบายและอื่นๆในการออกแบบบริการ  ดำเนินการบริการ ประเมินผลอย่างเหมาะสมทั้งกลยุทธ์ วิธีการและโปรแกรมบริการสุขภาพต่างๆ  ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นหัวใจสำคัญการทำงาน 

         ผลการดำเนินงานของศูนย์การพยาบาลในสหรัฐอเมริกาพบว่าทำให้ผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้น เพิ่มการเข้าถึงบริการ  สามารถให้รูปแบบบริการที่ซับซ้อน เบ็ดเสร็จในพื้นที่ได้ ลดความไม่เท่าเทียมหรือความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับบริการสุขภาพ และความเจ็บป่วยได้   มีเครือข่ายของผู้ดูแลที่เข้าถึงกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มด้อยโอกาสในชุมชน

 

เอกสารอ้างอิง

Katherine  K. Kinsey and Mary Ellen T. Miller. (2012) “ The Nursing Center: A Model for Nursing Practice in the Community” in Marcia Standhope and Jeannette Lancaster. (editors). Public Health Nursing: Population-Centered Health Care in the Community. (8th edition).  Missouri:ELSEVIER.

 

 

ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ : 
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ
 และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด
และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/56/04/ns_center_th.html ด้วย

 

               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English