e-Learning  
  e-Journal  
  Knowledge Management  
  Download  
  ค่านิยมองค์กร  
  ศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  
  หอพระราชประวัติฯ  
 
รายงานประจำปี
 
 
ข้อมูลความเชี่ยวชาญ บุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์
 
 
ทุนการศึกษา
 
  งานพัฒนานักศึกษา  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ระบบจองห้องและอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์  
  ผลงานวิจัย  
  ทรัพย์สินทางปัญญา  
 
การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic life support : BLS)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดวงใจ รัตนธัญญา
ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์

  การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (Basic life support : BLS)  

         ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเฉียบพลัน (sudden cardiac arrest) ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ ในหลายภูมิภาคทั่วโลก  การช่วยชีวิตผู้ป่วยขั้นพื้นฐาน(BLS) เป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วยดังกล่าว  บุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งบุคคลทั่วไป ควรมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงขั้นตอน วิธีการปฏิบัติ รวมถึงการตรวจประเมินผู้ป่วย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

         American Heart Association (AHA ) ซึ่งได้เปลี่ยนแนวทางการช่วยชีวิตใหม่ในปีค.ศ. 2010  จากที่เคยทำไว้เมื่อปี 2005  โดยขั้นตอนในการช่วยเหลือที่เสนอแนะโดยมี 5 ขั้นตอนดังนี้

1. วินิจฉัยภาวะหัวใจหยุดเต้นให้เร็ว และตามทีมช่วยชีวิตให้ได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว  

2. เริ่มทำการช่วยชีวิตโดยการนวดหัวใจ     (chest compression)

3. ทำการช็อคไฟฟ้า (defibrillation)ตามข้อบ่งชี้อย่างรวดเร็ว

4. ทำการช่วยชีวิตขั้นสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

5. การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยหลังจากหัวใจหยุดเต้นอย่างเหมาะสม

         การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน (BLS) ครอบคลุมขั้นตอน 1-3 การปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ในการช่วยผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลและคลื่นหัวใจเป็นแบบ Ventricular fibrillation  จะเพิ่มอัตรารอดขึ้นมาเกือบ 50%

         การกดหน้าอก  (chest compression) เป็นขั้นตอนสำคัญของ BLS ผู้ป่วยcardiac arrest ทุกรายต้องได้รับการกดหน้าอก ที่ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ การกดในลักษณะที่จะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดโดยการเพิ่มความดันในช่องอก และการกดลงบริเวณหัวใจโดยตรง  มีดังนี้

- ออกแรงกดเป็นจังหวะบริเวณบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก ( lower half of the sternum)

- ต้องกดแรงและเร็ว (push hard and push fast)

- อัตราการกดต้องไม่น้อยกว่า 100  ครั้งต่อนาที

- กดให้ลึกอย่างน้อย 2นิ้ว หรือ  5 เซนติเมตร

- ต้องผ่อนแรงหลังการกด ให้ทรวงอกคลายตัวได้อย่างเต็มที่เพื่อรอรับการกดในครั้งต่อไป

- ต้องระวังต้องไม่ให้มีการหยุดกดหน้าอกบ่อยๆ หรือหยุดกดเป็นเวลานานๆ

- อัตราส่วนของการกดต่อการช่วยหายใจคือ  30 : 2

         การช่วยชีวิตผู้ป่วยในเวลาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ นั้นสามารถเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วยและการช่วยชีวิตพื้นฐานนั้นก็ต้องทำต่อเนื่องจนกระทั่งทีมช่วยเหลือขั้นสูงมาถึง

 

ข้อจำกัดด้านลิขสิทธ์บทความ : 
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ
โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ
 และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด
และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายัง
http://www.ns.mahidol.ac.th/english/th/ns_academic/57/02/BLS_th.html ด้วย

 

               Copyright 2016 Faculty of Nursing, Mahidol University. All rights reserved.
                                       Webmaster:
nswww@mahidol.ac.th
ไทย English